10 ข้อคิดน่าสนใจจาก หนังสือถ้ารู้ตั้งแต่ตอนนั้น วันนี้สบายไปแล้ว
.
1. ชีวิตมนุษย์เงินเดือน เริ่มจากการจัดภาระด้านเวลาและการจัดการภาระด้านการเงิน
ภาระด้านเวลาคือการแบ่งเวลาให้กับครอบครัวและคนสำคัญ
ในขณะที่ภาระด้านการเงิน คือการบริหารการเงินให้อยู่รอดได้ในข้อจำกัดชีวิตที่เรามี
สิ่งแรกที่เริ่มได้คือการเริ่มจากการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละเดือน
.
2. เริ่มสร้างนิสัยเก็บเงินให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
เพราะไม่ว่าเราจะมีรายได้มากแค่ไหน ค่าใช้จ่ายก็มักจะมากตาม
แต่ถ้าเรารู้จักออม เราก็จะยังมีเงินเก็บคงเหลืออยู่เสมอ ๆ
.
3. อย่าสร้างหนี้ในช่วง 10 ปีแรกของการทำงาน
ถ้ามีบัตรเครดิตก็อย่าใช้จนเต็ม เพราะเราจะลำบากในภายหลัง
รู้จักควบคุมความต้องการของเราไม่ให้มากเกินไป ชีวิตโดยรวมของเราจะมีความสุขมากขึ้น
.
4. เก็บเงินฉุกเฉินไว้ให้ได้อย่างน้อย ๆ 3 เดือน หรือให้ดีคือ 6 เดือนเผื่อเราตกงานอย่างไม่คาดคิด
.
5. หมั่นฝึกทักษะใหม่ และหารายได้เสริม
โดยเราต้องเข้าใจว่า เราไม่จำเป็นต้องเก่งเป็นที่ 1 ของประเทศ
เราเพียงแต่ต้องเก่งพอที่จะทำงานที่เขามอบหมายให้ได้
.
6. มนุษย์เงินเดือนต้องรู้จักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่เอาไว้ใช้ลดหย่อนภาษี และเป็นเงินเก็บหลังเกษียณ
.
7. ลดความเสี่ยงด้วยการทำประกัน
ซึ่งจะทำประกันอะไรบ้าง ขึ้นกับว่าเราอยากได้รับความคุ้มครองในแง่ไหนบ้าง
.
8. ดูแลสุขภาพจิตของตัวเองด้วยการมองหา ‘งานที่ดี’
หรืองานที่เรารักและรู้สึกสนุกที่ได้ทำ
และอย่าลืมสิ่งสำคัญอีกเรื่องคือการฝึกรับมือกับความกดดันในการทำงานให้ได้
.
9. หาหนทางไปต่อให้ได้ ก่อนตัดสินใจลาออก
อย่าลาออกแบบกะทันหัน และอย่าลอกเลียนการลาออกจากคนอื่นเป็นอันขาด
เพราะแต่ละคนมีเส้นทางชีวิตและเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป
จงอย่าไปเชื่อคำแนะนำใคร แต่จงตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการลาออกของตัวเอง
.
10. ‘งานที่ใช่อาจไม่มีจริง’
ไม่ต้องไปเครียดและกดดันตัวเองในการมองหางานที่ใช่สำหรับเรา
งานที่เราอยากทำอาจไม่ต้องมีความหมายยิ่งใหญ่ก็ได้
แต่การที่เราสนุกกับการทำงาน ๆ หนึ่งอาจเป็นเหตุผลโง่ๆ เช่น ใกล้บ้าน ใกล้ร้านไอติมร้านโปรด มีเพื่อนร่วมงานสาวสวย
หรือได้เงินเยอะ
จริง ๆ แล้วสิ่งที่เราควรคิดมากกว่าคือ ตัวเรา ‘ใช่’ กับงานไหน ณ เวลานั้น ๆ
.
.
รีวิวสั้น ๆ
หนังสือจากพี่หนอม TAXBugnoms ที่เขียนหนังสือเล่มนี้เหมือนเป็นคู่มือเล่มเล็กสำหรับผู้ที่กำลังก้าวเข้าสู่โลกการทำงานใหม่ ๆ
มือใหม่หัดเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่ต้องรู้จักหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการเงิน
เล่มนี้ไม่ได้มีความรู้ด้านภาษีลงลึกอะไร เป็นเหมือนการแชร์ประสบการณ์ และข้อควรรู้กว้าง ๆ มากกว่า
.
Comments