รีวิว เลิกเป็นคนดีซะที !
.
‘เลิกแคร์คนอื่นมากเกินไป แล้วหันมาเปิดเผยความเป็นตัวเองบ้าง’
.
สะดุดตาที่สุดก็ชื่อคนเขียนหนังสือเล่มนี้ อาจารย์เคน โมงิ เจ้าของผลงานการเขียน The Little Book of Ikigai
และ พลังแห่งการตั้งคำถาม
.
เล่มนี้ว่าด้วยเรื่องของคนญี่ปุ่นที่ชอบทำตัวเป็น ‘คนดี’ คอยแคร์สายตาคนอื่นอยู่ตลอดเวลา
จนหลายครั้งนำมาซึ่งข้อเสียมากมาย
.
เป็นหนังสือเล่มเล็ก กะทัดรัด พกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก
เนื้อหาก็เข้าใจง่าย วน ๆ อยู่กับประเด็นการเป็นคนขี้เกรงใจ คนที่ชอบทำตามแบบแผน ไม่กล้าแสดงตัวตนที่แท้จริง
.
โดยรวมแม้จะคล้าย เลิกเป็นคนดี แล้วจะมีความสุข
แต่เนื้อหาเล่มนี้ยังนับว่าเบากว่า ไม่เข้มข้นเท่า
.
และยังติดตรงการเรียบเรียงเนื้อหาที่เข้าใจยาก
ประเด็นวนไปมา ขาดความชัดเจน และต่อเนื่อง
.
6 หลักคิดในการรีเซ็ตสมองและเลิกเป็นคนดี
.
1) การเลิกเป็นคนดี ไม่ใช่การเลิกแคร์คนอื่น
‘คนดี’ คือ คนที่แคร์สายตาคนอื่นอยู่ตลอดเวลา กลัวที่จะถูกเกลียด ยอมอดทนจนบางครั้งโดนคนอื่นเอาเปรียบ ไม่กล้าปฏิเสธ ไม่กล้าขัดใจคนอื่น
.
หลายครั้งสิ่งเหล่านี้มากเกินไป จนกลายมาเป็นข้อเสียกับทั้งตัวเรา และคนที่เรามีปฏิสัมพันธ์ด้วย
เราจึงต้องลดการเป็น ‘คนดี’ ลง
.
การเลิกเป็นคนดีเป็นเพียงหลักในการรีเซ็ตตัวเองใหม่ ปรับสมองให้มีทัศนคติแบบใหม่ จะได้ตอบสนองต่อเหตุการณ์รอบตัวต่างจากเดิม
การเลิกเป็นคนดี ไม่ใช่การเลิกเป็นคนแคร์คนอื่น แต่เป็นการใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองอยากเป็นอย่างกล้าหาญ
.
จำไว้ว่า ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ไม่มีใครบนโลกที่ไม่ถูกเกลียด
ไม่ว่าเราจะเป็นคนดีสักแค่ไหน ก็มีคนเกลียดเราได้อยู่ดี
.
.
2) 3 ลักษณะเด่นของการเป็นคนดี
1. ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง – ไม่กล้าแสดงตัวตนที่แท้จริงออกไป
2. ความมุ่งมั่นมีไม่มากพอ – มักคล้อยตามอีกฝ่าย และตัดสินใจตามความเห็นของตัวเองที่สอดคล้องกับคนอื่น
3. ใส่ใจกับการตัดสินของคนอื่น - มักคิดเสมอว่าจะทำตามความคาดหวังของคนอื่นยังไง
.
.
3) เปิดเผยความเป็นตัวเองออกมา
บันไดขั้นแรกสู่การเลิกเป็นคนดี คือการลองเปิดเผยตัวตนของตัวเองออกมาอย่างตรงไปตรงมา
เราต้องกล้าเผชิญหน้ากับข้อเสียของตัวเอง
และแสดงออกถึงข้อดี-ข้อเสียของตัวเรากับคนอื่นอย่างตรงไปตรงมา เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้ง
.
เราอาจพลิกมุมมองในการเปลี่ยนจากข้อเสียเป็นข้อดีก็ยังได้
เช่น ถ้าเราเป็นคนขี้กังวล ก็แปลว่าเป็นคนระมัดระวังภัยอยู่ตลอดเวลา
หรือถ้าเราเป็นขี้จุกจิกกับคนอื่น ก็แปลว่าเราเป็นเลิศในการสังเกต
.
นอกจากนี้ให้เราโฟกัสไปที่ข้อดีของตัวเอง พยายาม ‘เพิ่มคะแนน’ ให้ตัวเอง
อย่าเอาแต่โฟกัสไปที่ข้อเสีย แล้ว ‘ลดคะแนน’ ตัวเอง จนไม่กล้าแสดงความรู้สึกจริง ๆ ออกมา
.
.
4) ให้ความสำคัญกับคุณค่าของตัวเอง แล้วสร้างเฉดสีใหม่
เราต้องลองตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง โดยปราศจากความต้องการจองคนอื่น
เพื่อให้สมองฝึกให้ความสำคัญของกับเรื่องที่ตัวเองสนใจ
.
เช่น ถ้าหัวหน้ามาชวนกินข้าวเย็น แต่เราไม่อยาก ก็ลองพูดปฏิเสธไปตรง ๆ บ้าง
เราจะได้ตระหนักถึงสิ่งที่ตัวเองอยากทำในตอนเย็นมากขึ้น
.
วิธีนี้ยังช่วยให้เราได้ฝึกแสดงความเป็นตัวเองออกไปมากขึ้น
จนมันกอาจกลายเป็นคาแรกเตอร์ใหม่ของเราก็เป็นได้
.
เราอาจกลายเป็นเฉดสีใดสีหนึ่ง และเห็นชัดเจนว่าคนที่มีเฉดสีอื่นอาจเกลียดเรา
แต่ก็ยังดีกว่าการเป็นคนดีแล้วมีสีเทาที่เลือนรางไปตามสีของคนที่อยู่ด้วย
.
.
5) หลุดพ้นจากเกณฑ์คนอื่น มาเป็นเกณฑ์ของตัวเอง
การเลิกเป็นคนดีไม่ใชการกลายเป็นคนเห็นแก่ตัว
หลายคนอาจคิดว่า สิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ มันเป็นเรื่องส่วนตัวของเรา ไม่ควรมาใช้เวลามีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น
.
แต่ความจริงแล้ว มันไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว สิ่งที่เราอยากทำ เป็นแค่มาตรฐานเฉพาะตัวของเรา
ซึ่งอาจแตกต่างจากคนอื่นได้
.
หลายครั้งถ้าเรารู้แล้วว่ามาตรฐานของเราต่างจากของคนอื่น เราก็ต้องกล้าที่จะพูดออกไปตรง ๆ
อย่าไปกังวลว่าคนอื่นจะติดสินเราว่าถูกหรือผิด
เพราะคนที่ควรตัดสินมาตรฐานของตัวเรา ก็คือตัวเราเองเท่านั้น
.
.
6) สร้างแบรนด์ของตัวเองด้วย ระบบจรวด 2 ขั้น (two-stage rocket system)
เมื่อเราเลิกเป็นคนดีได้แล้ว
ก็ถึงเวลาที่เราจะลองสร้างแบรนด์ของตัวเองดู
สถานที่ที่น่าลองคือ บนโลกโซเชียลมีเดีย
โดยเราอาจเลือกโพสต์ที่ดึงดูดความสนใจของเราครั้งหนึ่ง นับเป็นจรวดขั้นแรก
และเมื่อถูกจับตามองแล้ว เราก็ปล่อยตัวตนของเราออกไปเรื่อย ๆ โดยการโพสต์คนเทนต์ที่เป็นตัวตนเราจริง ๆ นับเป็นจรวดขึ้นที่ 2
.
วิธีนี้จะทำให้เราได้คิดทบทวนถึงคุณค่าที่แท้จริงของตัวเราเอง รวมไปถึงตัวตนลึก ๆ ของเราที่ไม่ได้ถูกตีกรอบจากเสียงคนรอบข้าง
เรามาลองใช้ชีวิตตามแบบของตัวเอง ที่ไม่ต้องคล้อยตามคนอื่นกันบ้าง
การโพสต์ลักษณะนี้ยังจัดเป็นการฝึกความรับผิดชอบต่อเรื่องที่เราโพสต์ออกไปด้วย
.
ขอขอบคุณหนังสือจาก SEED นะครับ
.
....................................................................................................................
ผู้เขียน: เคนอิจิโร่ โมงิ
ผู้แปล: ไพลิน กลิ่นเกสร
จำนวนหน้า: 176 หน้า
สำนักพิมพ์: เชนจ์พลัส, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2021
....................................................................................................................
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
https://bit.ly/3JtzZnF
.
.
Commentaires