6 บทเรียนในการฝึกทักษะให้ AI ทำอะไรเราไม่ได้
จากหนังสือ อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้
.
1) 4 สิ่งที่มนุษย์ไม่มีวันเอาชนะ AI ได้
ไม่ว่าจะฝึกฝนยังไง มนุษย์ก็ยังมีขีดจำกัด และไม่อาจก้าวข้ามขีดจำกัดของเนื้อหนังจนชนะ AI ได้ใน 4 ด้านต่อไปนี้
1. ความจดจ่อและความต่อเนื่อง
เพราะ AI ไม่เคยเหนื่อย ไม่ว่าจะเจอข้อมูลปริมาณมหาศาลขนาดไหนก็ตาม
มันก็ยังประมวลผลได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
.
2. การคิดอย่างมีเหตุผลในเวลาอันรวดเร็ว
จากตัวอย่างที่ AI เอาชนะเกมหมากรุกและหมากโกะกับเซียนระดับโลกได้
คงเห็นแล้วว่า AI สามารถประมวลข้อมูลอันมหาศาลโดยใช้เวลาน้อยนิดมาก
ให้ตายยังไงมนุษย์ก็ไม่มีทางเทียบได้
.
3. ความทรงจำที่ไร้ขีดจำกัด และการสืบค้นที่ทรงประสิทธิภาพ
เพราะ AI นั้นเชื่อมต่อคลังข้อมูลขนาดมหึมา จึงสามารถสืบค้นแหล่งความรู้จากทั่วทุกมุมโลกได้
ต่างกับมนุษย์ที่มีข้อจำกัดที่ชัดเจนในด้านนี้
คำว่าความรู้จึงกลายเป็นข้อเท็จจริงที่มีมูลค่าลดลงในเร็ววัน และผู้มี่ความรู้ก็จะไม่ใช่คนที่ได้รับคำชื่นชมอีกต่อไป
.
4. ทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการใช้สัญชาตญาณ
อาจยังไม่ใช่ในเร็ววันนี้ แต่ด้วยความสามารถ 3 ข้อข้างต้น
AI จะอาจกำลังจะมีทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการใช้สัญชาตญาณแซงมนุษย์ได้ในเร็ววัน
.
2) 2 ทักษะไม่จำเป็นในโลกที่มี AI และ 3 ทักษะจำเป็นสำหรับคนที่ไม่อยากถูกแทนที่ด้วย AI
2 ทักษะไม่จำเป็นในโลกที่มี AI
ทักษะที่ 1: ทักษะพื้นฐาน
ทักษะที่ 2: ทักษะวิชาการ
เพราะทั้ง 2 ทักษะนี้ใช้เพียงความรู้พื้นฐานซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ว่าจะยังไงมนุษย์ก็สู้ AI ไม่ได้
.
3 ทักษะจำเป็นสำหรับคนที่ไม่อยากถูกแทนที่ด้วย AI
ทักษะที่ 1: ทักษะวิชาชีพ
เป็นทักษะของคนที่มีความสามารถและฝีไม้ลายมือจากประสบการณ์ที่สั่งสมมานานหลายปี
World Economic Forum จัดทักษะประเภทนี้ในกลุ่ม: ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity)
.
ทักษะที่ 2: ทักษะการสื่อสาร
เป็นทักษะของคนที่นำเสนอสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าได้อย่างอบอุ่นและตรงความต้องการ ทั้งยังมีความเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่นอย่างลึกซึ้ง
World Economic Forum จัดทักษะประเภทนี้ในกลุ่ม: ไมตรีจิต (Hospitality)
.
ทักษะที่ 3: ทักษะองค์กร
เป็นทักษะของคนที่บริหารจัดการและฟูมฟักคนในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ และช่วยองค์กรให้เติบโตได้
World Economic Forum จัดทักษะประเภทนี้ในกลุ่ม: การบริหารจัดการ (Management)
.
3 ทักษะนี้เป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับ ‘มนุษยสัมพันธ์’
.
.
3) แนวโน้มคนจบมหาลัยดงัจะเป็นคนทำงานเก่งน้อยลง
เหตุผลตรงไปตรงมาคือ คนจบมหาลัยดังจะมีเพียงทักษะพื้นฐาน และทักษะวิชาการ
ที่สามารถถูกทดแทนได้ง่าย
และคนเหล่านี้มักนิ่งนอนใจไม่พัฒนาอีก 3 ทักษะจำเป็นขึ้นมา
.
หลายครั้งจึงอาจเกิดเหตุการณ์ที่ว่า คนจบมหาลัยดังมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ใช้ไม่เป็น
ถึงจะมีความรู้เยอะ พูดเก่ง แต่คนอื่นไม่ชอบเข้าใกล้
และอาจมีตำแหน่งบริหาร แต่ไม่มีความเป็นผู้นำ
.
โดนสรุปแล้วคือพวกคนจบมหาลัยดังมักขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
แต่หลายครั้ง องค์กรก็ยังรับคนเหล่านี้เข้าทำงาน เพราะถึงจะเป็นผู้นำองค์กรไม่ได้
ก็ยังเป็น ‘พลทหาร’ ชั้นดี ให้ถูกใช้งานสมอง คิดนู่นคิดนี่ตามที่ผู้นำต้องการ
.
.
4) รู้จัก “ทักษะวิชาชีพ” และวิธีเพิ่มพูนทักษะนี้
“ทักษะวิชาชีพ” ไม่ใช่ความรู้ที่ได้จากหนังสือ แต่เป็น “ภูมิปัญญา (wisdom)” ที่เกิดจากการนำความรู้จากหนังสือมาซึมซับผ่านประสบการณ์
ทักษะวิชาชีพจึงต้องมี เทคนิคทางปฏิบัติ และเทคนิคทางจิตใจควบคู่กันไป
ซึ่งทั้ง 2 เทคนิคคือสิ่งที่ทำให้รู้ว่า เราควรนำความรู้ความชำนาญมาลงมือทำสิ่งต่าง ๆ อย่างไร และเราจะทำยังไงถึงจะปรับสภาพจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก ให้เหมาะสมกับงานที่ทำ
.
หลายครั้งภูมิปัญญามักอยู่ในรูปแบบ “ความรู้ฝังลึก (tacit knowledge)” ที่มองไม่เห็นกันง่าย ๆ และไม่สามารถถ่ายทอดกันผ่านคำพูดหรือตัวหนังสือได้ตรง ๆ
.
วิธีการที่จะบ่มเพาะทักษะวิชาชีพได้ คือการหมั่นทบทวนตัวเอง ในขณะที่ประสบการณ์ยังสดใหม่
ดูว่าประสบการณ์ที่เราได้จากสิ่งที่ทำในวันนี้จะนำไปก่อให้เกิดประโยชน์อะไรในอนาคต
และเราควรปรับปรุงอะไรตรงไหนอีกบ้าง
เราต้องทำทันทีหลังเสร็จงานที่ทำ !
.
.
5) รู้จัก “ทักษะการสื่อสาร” และวิธีเพิ่มพูนทักษะนี้
“ทักษะการสื่อสาร” ไม่ใช่แค่การพูดเก่ง แต่สิ่งสำคัญกว่าคือการสังเกตและเข้าใจ “ภาษากาย” ของคนที่สื่อสารด้วย
เพราะมนุษย์เราสื่อสารโดยใช้ภาษากายเป็นหลัก
ภาษากายที่ว่ารวมถึง การใช้แววตา น้ำเสียง สีหน้า และกริยาท่าทางต่าง ๆ
.
นอกจากนี้ทักษะการสื่อสารยังรวมถึง “การมีอารมณ์ร่วม” ที่เราต้องเข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของอีกฝ่ายจริง ๆ
อารมณ์ร่วมที่ว่า ไม่ใช่ความสงสาร หรือเห็นใจ แต่เป็นการเข้าใจ รู้สึกว่าเราเกิดความรู้สึกร่วมไปกับที่เขาเผชิญ
เหมือนการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
.
หลายครั้งการจะเกิดอารมณ์ร่วมได้ เราต้องเคยลำบากไปเขาก่อน
เช่น ผู้เขียนที่เรียนจบปริญญาเอกมา แต่ก็เลือกที่จะไปทำงานในโรงงานที่เจอแก๊สซัฟไฟด์เพื่อทำความเข้าใจคนที่ทำในโรงงานเหล่านั้น และทำให้ตัวเองเกิดอารมณ์ร่วมจนอยากจะนำสิ่งที่ได้รับรู้ไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
.
.
6) รู้จัก “ทักษะการบริหาร” และวิธีเพิ่มพูนทักษะนี้
งานบริหารหลายอย่างอาจถูก AI เข้ามาแทนที่ได้
แต่สิ่งสำคัญที่ AI ยังทำไม่ได้แน่ ๆ คือ “การบริหารจิตใจ”
ซึ่งหมายรวมถึงการบริหารให้เกิด
1. “ความร่วมแรงร่วมใจในองค์กร”
โดยกระตุ้นให้ลูกน้องแสดงความสามารถออกมาอย่างสามัคคีกัน และเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงร่วมมือกันสร้างสรรค์งานที่ยอดเยี่ยมอกมา
.
2. “ความรู้สึกถึงคุณค่าของงานที่ทำ”
โดยผู้นำที่ดีต้องทำให้ลูกน้องมีแรงจูงใจนการทำงาน รู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองทำมีค่า มีความหมาย
.
3. “กระตุ้นการเติบโต”
โดยผู้นำที่ดีต้องตั้งใจรับฟังปัญหาและความกังวลของลูกน้อง และกระตุ้นให้ลูกน้องนำสิ่งเหล่านั้นมาสร้างเป็นแรงผลักดันให้ตัวเองก้าวไปข้างหน้า และเติบโตขึ้นไปเรื่อย ๆ
.
โดยผู้นำในยุค AI ต้องมีคุณสมบัติ 3 ข้อต่อไปนี้ ถึงจะสามารถเติบเต็มทักษะการบริหารได้ครบถ้วนสมบูรณ์
1. หมั่นแสดงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ลูกน้องพัฒนาตัวเอง
2. หมั่นสร้างพื้นที่เติบโตให้คนในองค์กร โดยสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมในการกระตุ้นให้คนร่วมมือกันพัฒนาตัวเองให้เติบโต
3. เชื่อมั่นในความเป็นไปได้ของลูกน้องด้วยใจจริง ไม่เสแสร้ง
.
.
รีวิวหลังอ่านสั้น ๆ
อนาคตที่ AI ทำอะไรคุณไม่ได้ เป็นหนังสือแปลญี่ปุ่นที่มีคอนเซ็ปต์เรียบง่าย
ว่าด้วยเรื่องการเตรียมตัวรับมือกับ AI ที่กำลังจะก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลากหลายอาชีพ
แน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากถูกแทนที่ด้วย AI
แต่ถ้าเราไม่ปรับตัว สุดท้ายก็คงหนีไม่พ้นการถูก AI แย่งงานไป
เพราะมนุษย์มีขีดจำกัดหลายอย่างที่ AI ไม่มี
.
ดังนั้นแล้วคำถามสำคัญจึงกลายเป็น อะไรคือทักษะที่เราควรฝึกฝนไว้ เพื่อรับมือกับการมาถึงของ AI
หนังสือเล่มนี้ให้คำแนะนำไว้ 3 ทักษะสำคัญ ซึ้งล้วนเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์คนอื่น ๆ
เนื้อหาทั้งเล่มก็จะวนไปวนมาอยู่กับทักษะสำคัญ 3 อย่าง
.
แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่า คือคนเขียนที่เป็นชาวญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นใคร ๆ ต่างก็คงรู้กันว่า เป็นประเทศที่มีขนมธรรมเนียมประเพณีมาช้านาน
แม้หลังยุคสงครามโลกจะเจริญขึ้นมาก
แต่ช่วงหลัง ๆ ก็มักไม่ค่อยได้ข่าวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มาจากทางญี่ปุ่นเท่าไหร่
หลายคนรวมถึงตัวผมก็สงสัยว่า ญี่ปุ่นเขามีทัศนคติยังไงกับเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกใหม่ ๆ อย่าง AI
เล่มนี้ตอบโจทย์ได้ดีมาก
เพราะคนเขียนอธิบายไว้อย่างดีว่า ทำไมเราทุกคนถึงควรพัฒนาทักษะสำคัญ 3 อย่างที่หนังสือแนะนำ
และใช้บริบทประเทศญี่ปุ่นในการเล่าเรื่อง
.
หนังสือค่อนข้างสั้น ไม่ถึง 200 หน้า
แต่ใจความสำคัญน่าสนใจ และตกผลึกง่าย
คิดว่า หลายคนที่อยากพัฒนาตัวเอง อยากฝึกฝนทักษะใหม่ แต่ยังไม่รู้จะเลือกฝึกทักษะอะไร
ลองอ่านเล่มนี้ดู อาจจะพอช่วยเป็นแนวทางได้บ้างครับ
.
.
.............................................................................................
ผู้เขียน: ฮิโรชิ ทาซากะ
ผู้แปล: ปาวัน การสมใจ
จำนวนหน้า: 184 หน้า
สำนักพิมพ์: วีเลิร์น, สนพ.
แนวหนังสือ: พัฒนาตัวเอง, howto
.............................................................................................
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
Comments