รีวิว สำเร็จได้สไตล์คนขี้เกียจ
- หลังอ่าน: รีวิวหนังสือ
- Aug 25, 2021
- 1 min read


รีวิว สำเร็จได้สไตล์คนขี้เกียจ
.
.
‘อาวุธสำหรับคนขี้เกียจคือ ความคิดพลิกแพลง’
.
คนขี้เกียจทั้งหหมดทั้งปวงบนโลกน่าจะเคยพบเจอปัญหาประมาณว่า
- เริ่มต้นไม่สำเร็จ
- ยืนระยะไม่ได้
- เฉื่อยแฉะ
.
กำแพงเหล่านี้คือ กำแพงที่คนส่วนใหญ่มักพบเจอ เพราะเชื่อว่าถ้าไม่ใช่คนที่มีพร้อมกับความขยันในการลงมือทำเป็นพิเศษ เราทุกคนก็ล้วนแต่มีความขี้เกียจอยู่ในตัว
.
แล้วเราควรจะแก้ไขนิสัยสุดขี้เกียจที่ว่านี่ยังไงได้บ้าง
.
หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์เรื่องนี้โดยเฉพาะ เพราตัวผู้เขียนเองก็เรียกตัวเองว่าเป็นชาวขี้เกียจตัวยง
.
ขั้นแรกสุดในการหาวิธีต่อกรกับความขี้เกียจก็คือ การเข้าใจว่าความขี้เกียจเกิดจากอะไร
.
จากกำแพงทั้ง 3 ข้อข้างต้น
เริ่มต้นไม่สำเร็จ เกิดจาก การขาด ‘แรงจูงใจภายใน’
ยืนระยะไม่ได้ เกิดจาก การขาด ‘แรงบีบบังคับจากภายนอก’
.
ดังนั้นแล้ว ถ้าเราใส่แรงจูงใจภายในเข้าไปตอนเริ่มต้น แล้วสร้างแรงบีบบังคับจากภายนอกให้เกิดความต่อเนื่อง เราก็อาจจะลาออกจากสมาชิกกลุ่มคนขี้เกียจได้
.
และแน่นอนว่า นั่นทำให้เราไม่เป็นคนเฉื่อยแฉะด้วย
.
แรงจูงใจภายในตอนเริ่มต้น ทำให้เรา
1) สนุก
2) รู้สึกอยากทำ
.
แรงบีบบังคับจากภายนอก ทำให้เรา
1) จำใจทำได้ต่อเนื่อง
2) ถ้ามีแบบแผนจะทำได้สบาย
.
.
หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้จึงอธิบายถึงเทคนิคมากมายในการเป็นคนขี้เกียจที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักการทั้ง 2 ข้อนี้
.
หนังสือเล่าอย่างว่า เมื่อเทียบกันระหว่าง คนขี้เกียจ vs คนขยัน
คนขี้เกียจ + มีความสามารถ เหมาะจะเป็นแม่ทัพ หรือหัวหน้าโครงการ เพราะขี้เกียจ จึงสามารถหาวิธีคิดพลิกแพลงทำให้โปรเจคสำเร็จโดยง่าย
.
คนขี้เกียจ + ไร้ความสามารถ เหมาะจะเป็น พลทหารสื่อสาร หรือพนักงานทั่วๆไป ต้องรอรับคำสั่งจากหัวหน้า เพราะคิดเองไม่เป็น เน้นปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้าเป็นหลัก
.
คนขยัน+ มีความสามารถ เหมาะจะเป็น เสนาธิการ หรือผู้ช่วยผู้จัดการ เพราะขยันมาก ทุ่มเททำงาน จึงไม่เหมาะจะเป็นผู้นำลูกน้อง แต่เหมาะจะเป็นคนคอยให้คำแนะนำ
.
คนขยัน+ ไร้ความสามารถ คือคนที่องค์กรไม่ต้องการ เพราะขยันทำผิด แล้วไม่รู้ว่าตัวเองผิด สร้างความเสียหายให้องค์กร
.
.
โดยในส่วนต่อไปผมขอยกเทคนิคดีๆ 6 ข้อมาฝากสาวกกลุ่มคนขี้เกียจกันนะครับ
.
1) คล้อยตามคำชวนคนอื่น
.
เพราะเราเป็นคนขี้เกียจ การเริ่มทำอะไรเองจึงเป็นเรื่องยาก บางทีการคล้อยตามคนอื่นบ้างก็เป็นทางออกที่ดี
.
โดยเฉพาะถ้าเราเจอพวกคนไฟแรง มีเจตจำนงชัดเจน และมาชวนให้เราร่วมเดินทางไปกับเขา
.
อันนี้ต้องลองดูสักตั้งว่ามันจะใช่ทางของเราด้วยมั้ย
.
ลองหยิบยื่นความสามารถและพลังใจของคนอื่น ทำตัวง่ายๆคล้อยตามคนอื่นบ้าง
.
การมีเพื่อนมันมีประโยชน์จริงๆสำหรับคนขี้เกียจ
.
.
2) ทำตามลำดับที่นึกขึ้นได้ ไม่ใช่ลำดับความสำคัญ
.
การจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะทำนำมาซึ่ง ‘การตั้งเป้าหมาย’ ซึ่งสำหรับคนขี้เกียจแล้ว หลายๆครั้งทำให้เกิดความเครียด และทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
.
คนขี้เกียจอาจเหมาะกับการทำงานตามจิตสำนึกของตัวเองมากกว่า ถ้านึกขึ้นได้ก็ทำเลย ไม่ต้องตั้งเป้าหมายและ ‘สะสมงาน’ไว้ในใจ
.
คนขี้เกียจอาจจะเจอการทำงานอย่างลื่นไหลและจัดการงานได้อย่างไม่เครียด
.
.
3) วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้ไม่ทรมาน
.
น่าจะมีสักเรื่องที่ต่อให้เป็นคนขี้เกียจก็รู้สึกว่าไม่ทรมาน เช่น การตีกอล์ฟ หรือเล่นเกม
.
ผู้เขียนแนะนำไว้ 6 ปัจจัยที่ช่วยให้เราทำอะไรได้ต่อเนื่องโดยไม่ต้องทรมาน
1. ใจรัก ทำตามความสนใจของตัวเอง
2. ทำแล้วสนุก ถูกจริต
3. รู้สึกดี สุขกายสบายใจ
4. ได้ประโยชน์
5. มีปัจจัยในแง่การแข่งขันมาช่วยกระตุ้น
6. ถ้าไม่ทำจะลำบาก
.
ถ้าเอามาจับกับหลักเกณฑ์ของหนังสือ ข้อ 1 ถึง 4 คือแรงจูงใจภายใน ส่วนข้อ 5 และ 6 คือแรงบีบบังคับจากภายนอก
.
.
4) ไม่ข้อแวะกับเรื่องสิ้นเปลืองที่มีภาวะเสพติด
.
คนขี้เกียจเป็นประเภทคนที่คุมตัวเองยากมาก ถ้าได้พบเจอกับสิ่งที่ทำให้เสพติดอย่างรุนแรง เช่น การสูบบุหรี่ หรือเล่นเกม ก็จะคุมตัวเองไม่ได้ และไม่เป็นอันทำอะไร
.
ดังนั้นวิธีที่ดีกว่าก็คือการเลี่ยงไปเลย อย่าเอาตัวเองไปข้องเกี่ยวเด็ดขาด
.
คุมตัวเองให้ไปทำเรื่องดีๆดีกว่า เพราะคนขี้เกียจต้องใช้แรงบีบบังคับจากภายนอกมากกว่าคนขยัน
.
.
5) ยกระดับจิตใจด้วยหนังสือ
.
นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากที่คนขี้เกียจอย่าผู้เขียนสามารถอ่านหนังสือได้มากกว่า 400 เล่มต่อปี
.
โดยผู้เขียนอ่านทั้งหนังสือธุรกิจเพื่อ ‘เก็บข้อมูล’ และอ่านหนังสือเรื่องจริง (non-fiction) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
.
ผู้เขียนแนะนำเพิ่มเติมนิดหน่อยว่า เราควรอ่านหนังสือช่วงเช้า เพื่อทำให่เกิดความฮึกเหิมต่อตลอดวัน ถ้าอ่านก่อนนอนเราก็จะลืมเนื้อหา และความฮึกเหิมก็มักไม่อยู่จนถึงเช้า
.
อีกข้อคือ เราควรอ่านหนังสือเรื่องจริง (non-fiction) บ้าง เพราะสร้างแรงผลักดัน แรงจูงใจ ช่วยให้เรารู้จักเรื่องอื่นๆ เปิดโลกของเราให้กว้างขึ้น
.
.
6) จงรักงานที่ทำ แต่ไม่เปลี่ยนสิ่งที่รักให้เป็นงาน
.
คำแนะนำสุดเกร่อที่เราได้ยินกันอย่างหนาหูให้เปลี่ยนงานอดิเรกให้เป็นงาน แต่ผมโคตรเห็นด้วยกับข้อนี้ของผู้เขียนเลยว่า ถ้าเราเปลี่ยนงานอดิเรกให้เป็นงานแล้ว เราอาจไม่สนุกกับมันอีกต่อไป
.
มันมีเส้นบางๆขั้นอยู่ระหว่าง คำว่า ‘งานอดิเรก’ และ ‘งานจริงๆที่สร้างเงิน’ ให้เรา
.
ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาคือ การลเนกระดานโต้คลื่น ซึ่งเป็นงานอดิเรกที่ผู้เขียนชอบมาก แต่ถ้าต้องเปลี่ยนมาเป็นงาน และทำเป็นประจำทุกวันแล้ว เขาคงเกลียดมันอย่างเข้าไส้
.
วิธีที่ดีกว่าอาจเป็นการรักงานที่ทำอยู่ หาความสนุกจากงานที่ทำให้ได้ โดยอาจเริ่มง่ายๆจากการทำงานของตัวเองให้ดี ถ้าเราทำได้ดี หลายๆครั้งเราก็จะเกิดแรงจูงใจให้ชอบที่จะทำมันต่อเอง
.
.
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่:
.
.
................................................................................................................................................
ผู้เขียน: นะโอะยุกิ ฮนดะ
ผู้แปล: สุธาสินี ขจร
จำนวนหน้า: 152 หน้า
สำนักพิมพ์: Shortcut
เดือนปีที่พิมพ์: 2016
................................................................................................................................................
.
.

Comments