รีวิว สกิลขั้นเทพของนักบริหารเวลาที่รู้ใจสมอง
.
‘เทคนิคการบริหารเวลาฉบับจิตแพทย์ชื่อดังจากญี่ปุ่น ที่ช่วยให้เอาชนะขีดจำกัดทางกายภาพได้’
.
หนังสือเล่มใหม่ของอาจารย์ ชิอน คาบาซาวะ ผู้เขียนหนังสือชื่อดังอย่าง The power of output, เทคนิคการอ่านให้ไม่ลืม และเทคนิคการจำที่จิตแพทย์อยากบอกคุณ
เล่มนี้จัดเต็มเรื่องเทคนิคการบริหารเวลา
.
ซึ่งต้องบอกว่าเป็นเทคนิคส่วนตัวที่คุณชิอนใช้มานานกว่า 7 ปี
และทำให้เขาบริหารเวลาได้อย่างโคตรมีประสิทธิภาพ
เพราะในแต่ละวัน เขาทำงานมากกว่าคนอื่นถึง 4 เท่า แต่ก็ยังมีเวลาพักมากกว่าคนอื่น 2 เท่า
นอกจากนี้คุณชิอนยังนอนได้เต็ม ๆ วันละ 7 ชั่วโมงอีกด้วย
.
แต่ที่สำคัญคือ เทคนิคที่นำเสนอในเล่มไม่ใช่เทคนิคที่คิดขึ้นมาลอย ๆ
แต่ทุกอย่างมีหลักการรองรับอย่างเป็นวิทยาศาสตร์
ทำให้น่าเชื่อถือ และน่าเอาไปลองปฏิบัติมากขึ้น
.
เทคนิคที่พูดถึงในเล่มก็มีตั้งแต่ เทคนิคการรีเซตสมาธิในแต่ละวัน
เทคนิคการใช้เวลาในแต่ละช่วงวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งเช้า กลางวัน เย็น
รวมถึงเทคนิคการบริหารเวลาพัก
.
โดยรวมแล้วเนื้อหาอาจมีความซ้ำกับเล่มก่อน ๆ อยู่บ้าง
เพราะเดี๋ยวนี้มีหนังสือเรื่องการบริหารเวลาออกมาวางจำหน่ายกันเป็นจำนวนมาก
แต่อ่านแล้วก็เป็นความรู้ไว้ก็นับเป็นการทวนความจำ
และอาจมีเทคนิคอื่น ๆ ที่ตรงจริตกับผู้อ่านแต่ละคนมากกว่า ที่เคยอ่าน ๆ มาในเล่มก่อน ๆ
.
5 เทคนิคการบริหารเวลาขั้นเทพ ที่ช่วยให้เราเอาชนะขีดจำกัดในร่างกายได้
1) รู้จักช่วงเวลาทองของสมอง
สมองของเรามีประสิทธิภาพไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา
โดยปกติช่วงเวลาทองของสมอง ที่ทำให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพมากที่สุดจะอยู่ในช่วง 2-3 ชั่วโมงหลังจากเราตื่นนอน
.
ซึ่งถ้านับเป็นเชิงประสิทธิภาพแล้ว การทำงานในช่วงเช้า อาจทำให้เกิดประสิทธิภาพงานสูงกว่าช่วงกลางคืนถึง 4 เท่า
แต่หลายคนกลับใช้ช่วงเช้าไปกับการทำงานที่ไม่สำคัญอย่าง งานเช็คอีเมล การเดินทาง เป็นต้น
.
ดังนั้นเราต้องลองปรับตารางใหม่
เอาช่วงเช้าในแต่ละวันของเรามาทำงานที่ได้ใช้ความคิด
เช่น งานเขียน งานหาวิธีแก้ปัญหา การเรียนภาษาใหม่ หรืองานที่ต้องใช้สมาธิสูงอื่น ๆ
.
.
2) นอนให้พอ ถ้าไม่อยากลดอายุไขตัวเอง
การนอนนับเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยรีเซตสมาธิ และยังช่วยลดอายุไขอีกด้วย
.
แม้การจะเพิ่มระดับสมาธิของตัวเองจาก 100 เป็น 120 อาจเป็นเรื่องยาก
แต่การรีเซตสมองที่เหนื่อยล้าและเพิ่มพลังสมาธิจาก 70 ให้กลับมาเป็น 90 นั้นอาจทำได้โดยไม่ยาก
เพราะวิธีที่ดีที่สุดในการรีชาร์จพลังสมาธิคือการนอน
.
ถ้าเรานอนให้พอในระดับเวลานอนมาตรฐาน 8 ชั่วโมง
จากสมองที่เหนื่อยล้าของเรา ที่มีสมาธิเพียงระดับ 50 ก็จะกลับมาเป็น 100 ได้เมื่อเริ่มวันใหม่
.
แต่ถ้าเรานอนไม่พอ การรีเซตพลังสมาธิก็อาจทำได้ไม่สมบูรณ์
เช่น ถ้าเรานอนเพียง 5 ชั่วโมงต่อวัน
เมื่อตื่นขึ้นมาเราก็อาจมีพลังสมาธิอยู่เพียงแค่ระดับ 80 แทนที่จะเต็ม 100
.
แต่สิ่งสำคัญกว่าคือ ถ้าเรานอนน้อยติดต่อกันนาน ๆ สมองส่วนการรับรู้ และการรักษาสภาวะตื่นตัวจะทำงานแย่ลงเรื่อย ๆ ก
เราจะเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง หลอดเลือดสมอง หัวใจวาย เบาหวาน และความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว
และอายุไขก็มีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญด้วย
.
.
3) อ่านหนังสือ แทนการเล่มเกม
ในเวลาว่าง ถ้าเราอยากใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาตัวเอง
จนหา ‘ความบันเทิงเชิงรุก’ แทน ‘ความบันเทิงเชิงรับง
.
ความบันเทิงเชิงรับ เช่น การเล่นเกม หรือดูทีวี
เหมือนเป็นการที่เรานั่งเฉย ๆ แต่ไม่ได้เอาตัวเองไปมีส่วนร่วมใด ๆ กับสิ่งที่ทำอยู่
.
ในทางกลับกัน ความบันเทิงเชิงรุก เช่น การอ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา หรือเล่นบอร์ดเกม
จะช่วยทำให้เราได้เอาตัวเองไปมีส่วนร่วม และก่อให้เกิดการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะการนำสิ่งที่ได้จากการความบันเทิงเหล่านี้มาต่อยอดงานที่เราทำอย่างสร้างสรรค์
.
สุดท้ายการลงทุนเวลาว่างไปกับการพัฒนาตัวเอง จะทำให้เรามีทักษะการทำงานที่ดีขึ้น
เมื่อทำงานได้ดีขึ้น เราก็ทำงานได้มากกว่าเดิมโดยใช้เวลาเท่าเดิม
เราก็จะมีเวลาว่างมากขึ้นไปอีก เป็นวัฏจักรที่เติมเต็มกันและกันต่อไป
.
4) เลือกพื้นที่ทำงานที่มีสมาธิ
วิธีหนึ่งที่ฮารูกิ มูราคามิ ใช้คือการสร้างพื้นที่เขียนนิยายขึ้นมาโดยเฉพาะ
ทุกครั้งที่เขาอยากเขียนนิยาย เขาจะเก็บตัวอยู่แต่ในที่พักที่มีออนเซ็น
เพราะเงียบสงบ ปราศจากเสียงรบกวน และทำให้เขาไม่คิดฟุ้งซ่าน
.
วิธีนี้นับเป็นการสร้างกิจวัตรให้สมองจดจำว่า ถ้ามาถึงสถานที่นี้ จะเป็นเวลาแห่งการทำงานอย่างโฟกัส
สมองจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยอัตโนมัติ
พร้อมกับคุมระดับสมาธิให้อยู่สูงแบบนั้นเรื่อย ๆ ตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่แห่งสมาธิดังกล่าว
.
ถ้าเป็นพนักงานออฟฟิศ เวลาต้องคิดงานที่ใช้สมาธิสูง
อาจลองเข้าไปหาห้องประชุมเงียบ ๆ ที่ไม่มีคนอยู่
แล้วลองสร้าง ‘พื้นที่แห่งสมาธิ’ ของตัวเองขึ้นมาดู
สิ่งสำคัญคือ การเลือกหาสภาพแวดดล้อมที่ถูกปิดกั้นจากสิ่งรบกวน และการใช้สถานที่นั้นให้ต่อเนื่องจนกลายเป็นกิจวัตร
.
.
5) ทำตามกฎ 15 -45 -90 นาที
กฎนี้คือ ‘ระดับสมาธิ’ หรือ ‘ช่วงเวลาที่เราจะมีสมาธิจดจ่อกับการทำอะไรสักอย่างหนึ่ง’
.
โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อครบ 15 นาทีระดับการโฟกัสของเราก็อาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เราจึงต้องพัก และหันไปทำอย่างอื่นคั่นเวลาก่อน
ก่อนจะกลับมาเริ่มทำงานอีก 15 นาทีต่อไป
แล้ววนเป็นลูปแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
.
แต่สำหรับงานบางประเภท เราก็อาจต้องรักษาระดับสมาธิให้คงที่ไว้ตลอด 45 นาที
เช่น การแข่งฟุตบอลให้จบครึ่งแรก และครึ่งหลัง
หรืองานบางประเภทก็อาจทำให้เราต้องรักษาระดับสมาธิให้ได้นานกว่านั้น
เช่น งานเขียนของอาจารย์ชิอนที่ถ้าได้เข้าสู่ช่วงที่มีสมาธิแล้ว
ก็จะเขียนงานได้ต่อเนื่องถึง 90 นาที
.
ทั้งนี้เราควรรู้ระยะเวลาที่เหมาะสมกับตัวเอง
โดยของแต่ละคนอาจแตกต่างกันได้มากถึง 20 นาที
.
แต่สิ่งสำคัญคือ เราต้องหาเวลาหยุดพักบ้าง
แม้แต่หนังแอคชั่นที่สนุก ยังมีฉากแอคชั่นต่อกันเพียงแค่ 15 นาที แล้วตัดสลับไปฉากอื่น ๆ
เพราะระดับสมาธิทั่วไปของคนดูที่จะทำให้รู้สึกสนุกไปกับหนังมีอยู่เพียง 15 นาทีนั่นเอง
.
.
--------------------------------------------------------------------------------------------------
ผู้เขียน: ชิอน คาบาซาวะ
ผู้แปล: พนิดา กวยรักษา
จำนวนหน้า: 259 หน้า
สำนักพิมพ์: Amarinhowto
เดือนปีที่พิมพ์: 2021
แนวหนังสือ: พัฒนาตัวเอง
--------------------------------------------------------------------------------------------------
.
สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
Comments