
5 บทเรียนสำคัญจากหนังสือ รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง
.
1) จงตั้งใจแปรงฟันในทุกวัน
สิ่งเล็ก ๆ ต่างมากมายที่เราทำกันในทุกวัน อาจไม่ได้ส่งผลให้เห็นความต่างใน 2-3 วัน
แต่มันจะส่งผลต่อชีวิตของเราในระยะยาว อาจเป็นหลักปี หรือหลายปี
.
การแปรงฟันก็เป็นตัวอย่างหนึ่งในนั้น
การแปรงฟันแบบดี ใช้ไหมขัดฟันหลังแปรงเสร็จ แปรงละเอียด ตั้งใจแปรง กับการแปรงฟันห่วย ๆ ให้เสร็จ ๆ ไป
อาจไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างใน 2-3 วัน
แต่เมื่อผ่านระยะเวลาไปช่วยหนึ่ง
ผลของมันจะค่อย ๆ ปรากฎ
.
คนหนึ่งไม่มีปัญหาสุขภาพฟันใด ๆ เลย อีกคนมีฟันผุ ต้องอุดฟัน ต้องครอบฟัน ไปจนถึงการรักษารากฟันเทียม
ที่ทั้งเจ็บตัว และเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล
.
รู้แบบนี้แล้ว มาตั้งใจแปรงฟันกันในทุก ๆ วันดีกว่า
.
.
2) หุบเขาแห่งการทำธุรกิจ
จากประสบการณ์การทำธุรกิจของคุณรวิศเอง
สามารถแบ่งช่วงเวลาในการทำธุรกิจออกเป็น 5 ช่วงดังต่อไปนี้
.
1. ช่วง Euphoria – ตื่นเต้นไปกับไอเดียธุรกิจใหม่ของตัวเอง จะไม่ค่อยได้ยินเสียงคำเตือนจากคนรอบข้าง
2. ช่วงเริ่มลงหลักปักฐาน – เป็นช่วงที่ความจริงเริ่มปรากฎ เมื่อได้ลองทำธุรกิจนั้นดูจริง ๆ
ยอดขายอาจไม่ได้เยอะอย่างที่คิด หรืออาจติดพันปัญหาอื่น ๆ เช่น การขออนุญาตจากทางการ
.
3. ช่วงดำดิ่ง – เป็นเหมือนหุบเหวของการเริ่มธุรกิจใหม่
หลายคนมักสิ้นหวังกับสภาวะในช่วงนี้ เพราะต้องเจอกับอุปสรรคเช่น ลูกค้าไม่เข้า ยอดขายไม่ถึง ผิดใจกับหุ้นส่วน
ถ้าใครยังไม่อยาก cut loss ถ้าไม่เจ๋งไปเลย ก็จะได้เข้าสู่ช่วงที่ 4
.
4. เริ่มหาที่ของตัวเองเจอ – มองธุรกิจของเราตามความเป็นจริง อาจเล็กกว่าหรือใหญ่กว่าที่ตั้งใจจะทำในตอนแรก
แต่เราจะบริหารความคาดหวังของตัวเองและทีมงานได้
5. ช่วงเวลาแห่งการเติบโต - ค่อย ๆ วางระบบแล้วเติบโตไปในธุรกิจตัวนี้ หรืออาจมองหาภูเขาลูกใหม่ให้กลับไปเริ่มที่ช่วงที่ 1 ใหม่อีกครั้ง
.
บทเรียนสำคัญจากเรื่องนี้คือ ความที่เราควรระวังความดีใจจนเกินไปดีกับไอเดียของตัวเองเมื่อเริ่มธุรกิจ จนไม่ฟังใคร
และการรู้จัก cut loss ธุรกิจในช่วงที่ 3 ถ้าเห็นว่าธุรกิจไปต่อไม่ไหวจริง ๆ
.
.
3) การบริหารแบบ ตึง-ผ่อน-ตึง (tight-loose-tight)
ผู้นำที่ดีตามแบบฉบับของคุณรวิศ คือการรู้จักบริหารแบบ ตึง-ผ่อน-ตึง (tight-loose-tight)
1. ตึง (tight) ตัวแรก - คือการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน สื่อสารความคาดหวังให้คนอื่นเข้าใจ
2. ผ่อน (loose) ตัวที่ 2 – คือการบริหารวิธีการทำงานที่ยืดหยุ่น ปล่อยให้เจ้าของงานมี autonomy หรืออิสระในการจัดการงานตัวเอง
3. ตึง (tight) ตัวสุดท้าย – คือการติดตามวัดผล ที่ต้องมีการให้ฟีดแบ็กในรอบด้าน และประเมินออกมาตามความเป็นจริง
.
ผู้บริหารบางคนบริหารแบบ tight-tight-tight, loose -loose- loose หรือ loose - tight – loose
ถ้าเป็นแบบแรกอาจสร้างความกดดันให้พนักงานมากเกินไป ถ้าเป็นแบบที่ 2 ก็จะไม่มีอะไรชัดเจนเลย เป็นการบริหารแบบปล่อยปะละเลยมาก
ส่วนแบบสุดท้าย คือการเข้าไปจู้จี้จุกจิกกับการทำงานของแต่ละคน โดยไม่รู้แน่ชัดว่าองค์กรเองมีเป้าหมายคืออะไร ทำให้วัดผลอะไรไม่ได้เลย
.
.
4) ตั้งใจนำเสนอข้อมูลทุกอย่างให้ดี
เพราะข้อมูลที่เรานำเสนอออกไปใหลูกค้า อาจไม่ได้เป็นการนำไป “บวกเพิ่ม” จากข้อมูลเดิมที่ลูกค้ามีอยู่
แต่เป็นการนำข้อมูลใหม่ไป “เฉลี่ย” กับข้อมูลชุดเดิม
ทำให้ถ้าความเข้มข้นของสาส์นที่สื่อออกไปแตกต่างจากเดิมมาก
ข้อมูลที่เราสื่อสารออกไปเพิ่มก็อาจไปเจือจางข้อมูลเดิมที่ลูกค้ารับรู้อยู่ได้
.
นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า dilution effect
เช่น การโฆษณายาตัวหนึ่งที่อาจมีผลข้างเคียงเรื่องหัวใจวาย หลอดเลือดอักเสบ บลา ๆ ๆ และอาการคันตามผิวหนัง
ข้อมูฃที่เข้มข้นน้อยกว่าอย่าง อาการคันตามผิวหนัง ก็ช่วย “เจือจาง (dilute)” ความร้ายแรงของเรื่องหัวใจวาย และหลอดเลือดอักเสบได้
คนฟังโฆษณายาตัวนี้จึงไม่ได้กลัวผลข้างเคียงเท่าที่ควร
.
ดังนั้นก่อนจะสื่อสารอะไรก็ตามออกไป ลองคิดถึง dilution effect แล้วนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ระวังอย่าให้ข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำ มา “เจือจาง” ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง
.
.
5) อย่าลืมคิดถึง balance factor balance factor เป็นเหมือน cost ที่ต้องคำนึงถึงเวลาที่เราเลือกตัดสินใจทำอะไรสักอย่าง
ไม่ว่าจะเป็น การเลือกใช้เงินซื้อของชิ้นหนึ่ง การเลือกคบกับคน ๆ หนึ่ง หรือการเลือกงานที่ทำในแต่ละวัน
.
แน่นอนว่า เรามักเลือกทำสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะซื้อของ คบหาดูใจกับคนรู้ใจ หรือเลือกทำงาน ตาม amount of joy หรือปริมาณความสุข ที่เราคาดว่าจะได้รับ
แต่ต้องไม่ลืมว่าทุก amount of joy ที่เกิดขึ้น ก็มี balance factor ตามมาด้วยเสมอ
.
เช่น คุณรวิศชอบซื้อรถมาก ไม่ใช่รถที่เป็นพาหนะพาจากจุด A ไปยังจุด B
แต่เป็นการซื้อรถที่ทำให้เขาดื่มด่ำกับประสบการณ์การนั่งอยู่ด้านหลังพวงมาลัยอย่างเต็มอิ่ม
เวลาที่คุณรวิศจะซื้อรถแบบนี้ แน่นอนว่า amount of joy มีสูงมาก แต่เขาเองก็ต้องพยายามคิดถึง balance factor หรือราคาของรถที่เขาต้องจ่ายออกไปเช่นเดียวกัน
.
เรื่องความสัมพันธ์เองก็อาจมี balance factor อยู่ในรูปของ responsibility factor
ถ้าเราอยากลงทุนกับความสัมพันธ์ไหน เราก็ต้องทุ่มความรับผิดชอบในความสัมพันธ์นั้นด้วย
.
.
รีวิวหนังสือสั้น ๆ
รุ่งอรุณแห่งการเปลี่ยนแปลง เป็นผลงานลำดับที่ 10 ของคุณรวิศหาญอุตสาหะ
โดยเขียนขึ้นในช่วงที่โควิดกำลังระบาดแรง ๆ และหลายธุรกิจรวมถึงไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง
.
อ่านเล่มนี้แล้วก็เหมือนฟังพอดแคสต์คุณรวิศใน Mission to the Moon หลาย ๆ ตอน
เพราะเป็นหนังสือรวมบทความที่คุณรวิศเขียนในหลากหลายมิติ ทั้งเรื่องธุรกิจที่ตัวเองทำ เรื่องการปรับตัว เรื่องปัญหาทางสังคท เช่นปัญหาความเหลื่อมล้ำ หรือปัญหาการเข้าถึงการศึกษา และอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจจากหนังสือที่คุณรวิศอ่าน
แต่เล่มนี้เป็นรวมบทความในช่วงที่คุณรวิศตกผลึกความคิดตัวเองในช่วงหัวเลี่ยวหัวต่อจากวิกฤติโควิด-19
.
ถ้าใครชอบอ่านผลงานของคุณรวิศเล่มก่อน ๆ อยู่แล้ว เล่มนี้ก็ไม่ควรพลาด
ภาษาเรียบง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และตรงประเด็น
ยังไงถ้ามีเวลา ลองหยิบมาหาอ่านกันดูครับ
.
....................................................................................................................
ผู้เขียน: รวิศหาญอุตสาหะ
จำนวนหน้า: 240 หน้า
สำนักพิมพ์: KOOB, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2021
....................................................................................................................
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
.

Comentários