top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว The Startup Mindset



12 ข้อคิดเด็ด จากหนังสือ The Startup Mindset

.

1. 7 สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำ startup

1) คนทำ startup ต้องเป็นเด็กเท่านั้น ๆ

จริง ๆ แล้วตามผลวิจัยของสหรัฐฯ คนทำ startup อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 42 ปี

เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นเด็กจบใหม่ ก็มาทำ startup ได้

และคนทำสำเร็จส่วนใหญ่ คือคนที่เคยเป็นพนังานประจำมาก่อนด้วย

.

2) startup เป็นการคิดแบบไม่เป็นระบบ

แท้จริงแล้วคนทำ startup ที่ประสบความสำเร็จ มักใช้ระบบช่วยในการแก้ปัญหา

.

3) ธูรกิจใหม่ทุกธูรกิจคือ startup

ธุรกิจบางแบบก็เป็นลักษณะของ SMEs

Startup จะต้องมีลักษณะในการเติบโตแบบ exponential และสามารถตอบปัญหาคนหมู่มากได้

.

4) คนทำ startup ต้องเป็น CEO (Chief Executive Officer)

จริง ๆ แล้วคนทำ startup เหมาะจะเป็น Chief Everything Officer มากกว่า

.

5) startup ทำไปก็เจ๊ง

แม้ 99% จะเป็นแบบนั้น แต่ 1% ที่สำเร็จก็ช่วยเปลี่ยนโลกได้

และถ้าเราเข้าใจ startup mindset และลงมือทำ ไม่ยอมแพ้ มองหาโอกาสอย่างต่อเนื่อง ก็อาจมีโอกาสำเร็จมากกว่า 1% ก็เป็นได้

.

6) startup mindset มีไว้สำหรับการทำธุรกิจเท่านั้น

จริง ๆ แล้วหลักคิด และแนวทางเรื่อง startup mindset สามารถนำไปปรับใช้ได้กับการวางแผนการเงิน การบริหารความสัมพันธ์และการใช้ชีวิตส่วนตัว

7) คนที่ออกมาทำ startup แล้วไม่สามารถกลับไปทำองค์กรใหญ่ ๆ ได้ต่อไป

จริง ๆ แล้วถ้าเราออกมาทำ startup และได้ประสบการณ์และหลักคิดดี ๆ

กลับไปทำองค์กรก็อาจทำให้ก้าวหน้าได้เร็วขึ้นด้วยซ้ำไป

.

.

2. startup เริ่มจากการคิดใหญ่ เริ่มใหญ่

การเริ่มต้นครั้งแรกยากมักยากที่สุดเสมอ

.

3. บทเรียนสำคัญจากการกินข้าวมื้อเที่ยงที่แพงที่สุดในชีวิตกับคุณปู่ Warren Buffet

ผู้เขียนคุณแคสเปอร์ได้ใช้ความพยายามอยู่นานแรมปีในการส่งจดหมายไปติดต่อขอทานข้าวกลางวันกับคุณปู่ Warren Buffet สมัยที่เป็นนักศึกษาปี 2 อยู่ที่มหาลัยแห่งหนึ่งในอเมริกา ซึ่งปกติแล้วไม่ใช่เรื่องง่ายที่คุณปู่จะยอมมากินข้าวกับนักศึกษาปริญญาตรีปี 2

แต่ด้วยความคิดใหญ่ และไม่เลิกล้มความพยายาม การส่งอีเมลย้ำ ๆ ไปทุกเดือนเป็นเวลาปีกว่า ก็ช่วยทำให้ฝันของแคสเปอร์เป็นจริง

การกล้าคิดใหญ่ฝันใหญ่ มองโลกในแง่ดี และการกัดไม่ปล่อยก็ช่วยดลบันดาลให้จักรวาลมองเห็นตัวเราสักวันหนึ่ง

.

4. บางครั้งเป็นการดีแล้วที่เราไม่รู้ว่ามันยาก เพราะถ้ารู้เราคงเลิกทำไปนานแล้ว

เหมือนที่เพื่อนผู้เขียนตั้งใจจะเปิดร้านอาหารญี่ปุ่นโอมากาเสะ และพยายามจนนำเข้าเชฟญี่ปุ่นคนแรกมาทำอาหารที่ไทยได้สำเร็จ

.

5. จงเริ่มให้ไว !

- เริ่มไวในการเรียนรู้จากคนทำธุรกิจมาก่อน

- เริ่มไวในการลงมือทำทุกอย่างให้ได้สิ่งที่ต้องการ

- เริ่มไวในการสร้างเครือข่ายคอนเนคชั่น

- เริ่มไวในการทำให้ได้ลูกค้าคนแรก

- เริ่มไวในการเพิ่มความกล้า และออกไปคุยกับคนแปลกหน้า

เหมือนเรื่องเล่าที่ผู้เขียนเล่าว่า ต้องเดินไปทำความรู้จักกับสาวฮ็อตแสนสวยที่เข้าถึงยาก เพื่อขอเบอร์แม่เธอที่เป็นเจ้าของธุรกิจที่อยู่ Mexico เพื่อไปถ่ายรูปเซลฟี่ส่งงานอาจารย์

.

6. ใส่ใจการทำงานของเจ้านาย

รายละเอียดต่าง ๆ เช่น วิธีการทำงาน การตอบอีเมล ลักษณะของเจ้านาย

ถ้าพนักงานเข้าใจจะช่วยลดเวลาและปัญหาในการสื่อสารลงอย่างมาก

.

7. ถ้ารถติด ก็พยายามหาวิธีใช่ช่วงเวลาบนรถให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ผู้เขียนที่ทำงานอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ของอินโดนีเซียซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่รถติดที่สุดในโลก มักเสียเวลาในการเดินทางไปวันละ 3-5 ชั่วโมง บนรถแท็กซี่

สิ่งที่ทำได้จึงมีแต่การเตรียมประชุมที่ไม่ต้องเห็นหน้ากันบนรถ ชาร์จแบตมือถือและ labtop ให้พร้อมก่อนออกเดินทาง

และไม่ทิ้งเวลานั้นไปอย่างสูญเปล่า

ไม่แน่ว่าเวลาที่ได้คืนมาทุก 1 ชั่วโมงต่อวัน อาจเทียบเท่ากับ 360 ชั่วโมงต่อปี

ถ้าทำแบบนี้เพียงแค่ปีครึ่ง ก็อาจเทียบเท่ากับระยะเวลาที่เรียนปริญญาโทมา 1 ใบก็เป็นได้

.

8. ทำไวเสมอ !

สำหรับ startup ทุกอย่างต้องทำไว ลงมือไว

โดยเฉพาะเมื่อโอกาสปรกฎตัวอยู่ตรงหน้า

เช่นการที่ผู้เขียนได้ไปถ่ายรูปเซลฟี่กับอองซานซูจี ก็เกิดจากการตัดสินใจอย่างไว ที่ลุกขึ้นเดินไป และหาจังหวะถ่าย

เรื่องนี้ยังรวมถึงการใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

ลองนึกว่าเรามีเวลาเตรียม presentation แค่ตอนที่นั่งรถไฟชินคันเซ็นในญี่ปุ่น เราคงต้องใช้ทุกนาทีที่มีอยู่อย่างมีค่าที่สุด

.

9. startup ต้องเล่นใหญ่ !

หาไอเดียและโอกาสในการเล่นใหญ่

ครั้งหนึ่งหุ้นส่วน startup ของผู้เขียนได้เรียกนักลงทุนมากินข้าวกลางวันกันที่อาหารกลางวันแห่งหนึ่ง

สิ่งที่ทำให้นักลงทุนประทับใจและกลายเป็นจุดเริ่มต้นการคุยที่ดีคือ หุ้นส่วนคนนั้นได้ขอให้ร้านอาหารเปลี่ยนรหัส wifi เป็น ‘investinKulina’ ซึ่ง Kulina คือชื่อบริษัท

นับเป็นการสร้างรอยยิ้มให้นักลงทุน และทำให้การพูดคุยเริ่มต้นได้ง่ายขึ้นอย่างมาก

.

10. It’s Always Day One!

ที่ Amazon ที่ผู้เขียนเคยฝึกงานมีการตั้งชื่อตึก ๆ หนึ่งว่า Day One ซึ่งเป็นตึกที่ Jeff Bazos ทำงานอยู่ด้วย

เพื่อเป็นการเตือนพนักงานทุกคนอยู่เสมอ ๆ ให้ทำงานทุกวันเหมือนกับว่าเพิ่งเริ่มทำเป็นวันแรก

จะได้มุ่งมั่นตั้งใจ เอาใจใส่ และขี้สงสัยอยู่เสมอ ๆ

.

11. ติดค่านิยมไว้ที่ด้านหลังของป้ายพนักงาน

ที่ Amazon มีการทำแบบนี้เพื่อให้พนักงานทุกคนจดจำค่านิยมและพูดจาเป็นภาษาเดียวกันอยู่เสมอ ๆ

.

12. กฎ 80/20, 64/4, และ 50/1

นอกจากกฎ 80/20 ของพาเรโต ที่การทำงานที่สำคัญของเราเพียง 20% จะช่วยสร้างผลลัพธ์ 80% ได้นั้น

ยังมีกฎ 64/4 ซึ่งหมายถึงการใช้เวลาและพลังงาน 4% เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 64%

และ กฎ 50/1 ซึ่งหมายถึง การใช้เวลาและพลังงาน 1% เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ 50%

ทั้งหมดนี้พิสูจน์ได้ด้วยคณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน

สิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าเรามีเวลา 100 ชั่วโมง

เราอาจเลือกใช้เวลา 100 ชั่วโมงให้ได้ผลลัพธ์ 100%

หรือ เราอาจเลือกใช้เวลา 20 ชั่วโมงกับงาน 5 งาน เพื่อให้ทั้ง 5 งานได้ผลลัพธ์ 80%

เราอาจเลือกใช้เวลา 4 ชั่วโมงกับงาน 25 งาน เพื่อให้ทั้ง 25 งานได้ผลลัพธ์ 64%

เราอาจเลือกใช้เวลา 1 ชั่วโมงกับงาน 100 งาน เพื่อให้ทั้ง 100 งานได้ผลลัพธ์ 50%

สุดท้ายนี้ก็ขึ้นกับเราว่าเราอยากเลือกใช้เวลา 100 ชั่วโมงแบบไหน

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

หนังสือจากคุณ Casper ธนกฤษณ์ เสริมสุขสัน ผู้หครึ่วหวอดวงการ startup ที่มีประสบการณ์การทานมื้อกลางวันกับคุณปู่ Warren Buffet สมัยเป็นนักศึกษาที่อเมริกา และเคยทำ startup กับเพื่อนอินโดนีเซีย จนตอนนี้ได้ผันตัวมาเป็น อุปนายกสมาคม startup ของประเทศไทย นับว่าเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์ล้นเหลือ และมีเรื่องเล่าที่น่าสนใจมากมาย

ต้องบอกว่าสนุกสุดก็คือการได้อ่านประสบการณ์ที่คุณ Casper เอามาแชร์ และมีแต่เรื่องที่ต้องร้องว้าว! เต็มไปหมด

ข้อคิดที่ได้ก็ไม่เพียงแต่ใช้กับคนทำ startup ได้เท่านั้น แต่ใคร ๆ ก็เอาไปใช้ได้

โดยรวมคือหนังสือที่สนุกและครบรสมาก ๆ

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30




134 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page