top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว พลังแห่งการตั้งคำถาม




รีวิว พลังแห่งการตั้งคำถาม

.

‘หากเราตั้งคำถามได้ดี ก็จะมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงทั้งตัวเราและคนรอบข้างได้’

.

คนญี่ปุ่นมีความคล้ายคนไทยตรงที่ เวลาถามว่า ‘มีอะไรจะถามมั้ย’

แทบไม่มีคนยกมือ

อาจเพราะกลัวถูกมองว่าฟังไม่รู้เรื่อง หรือต้องเปิดเผยจุดอ่อนตัวเองตอนถาม

.

แต่แท้จริงแล้ว

แม้แต่คนฉลาดก็ใช่ว่าจะรู้ทุกอย่าง

และพวกคนหัวดีเหล่านี้เองที่กล้ายอมรับว่าตัวเองไม่รู้ และกล้าถาม

การถามคำถามที่ดี จึงอาจมีพลังมากกว่าที่คิด

.

หนังสือพลังแห่งการตั้งคำถาม เขียนโดยอาจารย์ เคนอิจิโร่ โมจิ

ผู้มีผลงานการเขียนมาแล้วหลายเล่ม รวมถึง the little book of Ikigai: อิคิไก ความหมายของการมีชีวิตอยู่

แต่ความจริงแล้วอาจารย์ไม่ใช่แค่คนที่มีความรู้ด้านปรัชญาเพียงอย่างเดียว

อาจารย์เคน โมจิ เป็นนักประสาทวิทยา รู้เรื่องราวการทำงานของสมองมากมาย

มีความสนใจพิเศษด้านวิยาศาสตร์ และศิลปะ

.

หนังสือเล่มนี้จึงใช้หลักการทางสมอง และประสาทวิทยา พร้อมทั้งตัวอย่างมากมายจากเรื่องราววิทยาศาสตร์และศิลปะ

มาอธิบายว่า ทำไมการตั้งคำถามจึงสำคัญ

และการตั้งคำถามที่ดีควรมีลักษณะไหน

พร้อมมีตัวอย่างว่าคำถามแบบไหนคือคำถามที่ดี

.

เป็นหนังสืออีกเล่มที่กระชับ และมี key messages น่าสนใจหลายอย่าง

สิ่งที่ชอบที่สุดคือ การมีความเชื่อมโยงกับหลักประสาทวิทยาและการทำงานของสมอง

เพราะปกติหนังสือแปลญี่ปุ่นจะเป็นการเล่าประสบการณ์ซะมากกว่า

เล่มนี้จึงค่อนข้างครบถ้วนในเชิงอรรถรส

มีจิตวิยาที่น่าสนใจ แตกต่างจากเรื่องที่เราเคยรู้อยู่บ้าง

.

แต่เนื้อหาโดยรวมแล้ว ยังไม่ได้ว้าวอะไรขนาดนั้น

อาจเพราะเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับคำถามเท่านั้นด้วย

ส่วนตัวยังชอบเล่มก่อนของอาจารย์ หนังสืออิคิไกมากกว่า

แต่ถ้าใครชอบหนังสือของ Welearn อยู่แล้ว ก็ลองหาอ่านกันได้ครับ

อ่านเพลิน ๆ สั้น ๆ จุดให้เราลองคิดทบทวนตัวเองสัก 2-3 ประเด็น

.

สุดท้ายขอเล่าสั้น ๆ ถึง 5 เรื่อง ที่ชอบจากหนังสือพลังแห่งการตั้งคำถาม นะครับ

.

1) ในโลกนี้ปัญหาส่วนใหญ่ที่เราพบเจอนั้น ไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องตายตัว

สิ่งนี้ต่างจากสมัยเราเรียนมัธยม และต้องท่องจำตำราไปสอบมาก

.

ลองคิดถึงคำถามประเภทว่า

‘เราควรแต่งงานอายุเท่าไหร่’

‘เราควรเข้าทำงานที่บริษัทใหญ่มั้ย’

‘เราต้องแต่งตัวยังไง เพื่อให้ดูทำงานเก่ง’

.

คำถามพวกนี้ล้วนไม่มีคำตอบตายตัว

ทั้งหมดทั้งมวลขึ้นกับ แต่ละบุคคล และขึ้นกับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งสิ้น

.

หรือแม้แต่โลกวิทยาศาสตร์เองก็ไม่ได้มีคำตอบที่ถูกต้องเสมอไป

เพราะเราตั้งสมมุติฐานต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย เวลาเราจะตอบคำตอบ เราก็ต้องอ้างอิงกับสมมุติญานเหล่านั้น

แต่ถ้าสมมุติฐานที่เราตั้งขึ้นมาเกิดผิดละ

เราก็ต้องตั้งสมมุติฐานใหม่ เพื่อพยายามหาคำอธิบายใหม่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นเอง

.

และนี่เป็นอีกสาเหตุที่การตั้งคำถามที่ดี จะนำมาซึ่งคำตอบที่ดีได้

เพราะแค่ตั้งคำถามใหม่ การหาคำตอบอันไม่ตายตัวแบบใหม่ เพื่อตอบคำถามก็จะเกิดขึ้น

.

.

2) จงเปลี่ยนปัญหาที่คลุมเครือให้เป็นคำถามที่หาคำตอบได้

ข้อแตกต่างระหว่าง ข้อสงสัยและปัญหาคือ

ข้อสงสัย = ทักษะการใช้ความรู้สึก ในการรับรู้ถึงความคลุมเครือ และความผิดปกติ

ปัญหา = ทักษะการใช้เหตุผล ในการคิดหาคำถามที่เชื่อมโยงไปสู่การหาคำตอบที่ชัดเจน

.

สิ่งสำคัญจึงเป็น การใช้ความรู้สึกตัวเองรับรู้สิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในใจเรา

โดยการยอมรับแบบตรงไปตรงมา

การรู้เท่าทันตัวเองในขั้นถัดมาช่วยให้เรามองเห็นปัญหา

แล้วค่อย ๆ เชื่อมโยงปัญหาดังกล่าว เข้ากับวิธีการว่า เราควรทำอย่างไรเพื่อหาคำตอบ โดยใช้หลักเหตุผล

.

.

3) ในโลกนี้มีคนอยู่ 3 ประเภท

ประเภทที่ 1: คนที่ไม่เคยตั้งคำถาม

ประเภทที่ 2: คนที่ตั้งคำถามได้ไม่ดี

ประเภทที่ 3: คนที่ตั้งคำถามได้ดี

.

สิ่งที่แตกต่างอย่างเด่นชัดของคนที่รู้จักตั้งคำถาม กับคนไม่เคยตั้งคำถามเลย คือ

1. การแก้ปัญหา – การตั้งคำถามนำมาซึ่งการจัดการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างผลลัพธ์ที่ชัดเจนได้

2. การเข้าความรู้สึกของตัวเอง – ว่าเราชอบทำแบบนี้ หรือคิดแบบนั้น

3. การตั้งคำถามนำมาซึ่งความคิดสร้างสรรค์ – และช่วยให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างมีอิสระตามใจตัวเราเอง

ถ้าเราไม่เคยตั้งคำถามกับเรื่องอะไรเลย เราก็จะใช้ชีวิตตามกฎเกณฑ์ที่คนอื่นตั้งไว้ ไม่สามารถมีชีวิตเป็นของตัวเองได้

.

ส่วนความแตกต่างระหว่างการตั้งคำถามที่ดี และไม่ดี คือ

การกำจัดความคลุมเครือ และการสร้างผลลัพธ์ได้ชัดเจน และไม่ใช่เพียงครั้งคราว

.

.

4) คำถามที่ไม่ดีมีลักษณะ 5 อย่างดังต่อไปนี้

คำถามที่ไม่ดี เช่น

“ต้องนอนกี่ชั่วโมงถึงจะดี”

“อาหารสมองที่ดีคืออะไร”

“ควรเริ่มเรียนภาษาอังกฤษตอนอายุเท่าไหร่”

“ควรตื่นมาอ่านหนังสือตอน 8 โมงเช้าดีรึเปล่า”

.

คำถามพวกนี้คือคำถามที่ไม่ดี เพราะขาดบริบท และขาดการตั้งสมมุติฐาน

เช่น คำถามเรื่องตื่นมาอ่านหนังสือตอน 8 โมงดีรึเปล่า

ถ้าเราเข้านอนตอน ตี 5 คำตอบก็คงจะเป็น ไม่ดี

หรือถ้าเราอยู่ในประเทศเขตหนาว 8 โมงเช้า ฟ้ายังมืดอยู่เลย

.

เหมือนเรามองต้นไม้ที่อยู่ในพื้นที่โล่ง ไม่มีป่าล้อมรอบ

เราจึงต้องหัดมองต้นไม้โดยมองป่าที่ล้อมรอบอยู่ด้วย

นั่นคือการมองบริบทโดยรอบด้วยนั่นแอง

.

โดยสรุปแล้วคำถามที่ไม่ดีล้วนมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. ต้องการคำตอบที่ถูกต้องแน่นอน

2. ขอให้ช่วยแนะนำสิ่งดี ๆ

3. ต้องการให้อีกฝ่ายเห็นด้วย

4. คาดคั้นอีกฝ่าย

5. ให้เลือกอย่างใด อย่างหนึ่ง

.

.

5) คำสำคัญที่ช่วยให้ตั้งคำถามได้ดี

1. เวลา - คำว่า “ตอนนี้” มีความสำคัญมาก

เช่น “ปัญหานี้ ตอนนี้เราควรรีบทำอะไรมากที่สุด”

หรือ “ตอนนี้สิ่งที่ตัวเองทำได้ดีที่สุดคืออะไร”

.

2. จุดมุ่งหมาย - คำว่า “อยากทำอะไร”

เป็นการตั้งคำถามโดยให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่เรามี

เป็นเหมือนเข็มทิศนำทางเราไปสู่การหาคำตอบ

เช่น “ตอนนี้เราอยากทำอะไรมากที่สุด”

.

3. วิธีการ - คำว่า “ควรทำอย่างไร”

เป็นการตั้งคำถามที่นำมาซึ่งการลงมือทำในขั้นถัดไป

เช่น “สถานการณ์ตอนนี้ เราควรทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาได้เร็วที่สุด”

.

4. เติมคำว่า “สักนิด” ต่อท้าย

เช่น “ต้องทำยังไง ถึงจะเติบโตอีกสักนิด”

“ต้องทำยังไง ความสัมพันธ์กับผู้อื่นถึงจะดีขึ้นอีกสักนิด”

.

.

สุดท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ Welearn ที่ส่งหนังสือดี ๆ มาให้อ่านนะครับ

.

................................................................................................

ผู้เขียน: เคนอิจิโร่ โมจิ

ผู้แปล: ปาวัน การสมใจ

จำนวนหน้า:232 หน้า

สำนักพิมพ์: Welearn

................................................................................................

.

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #100เล่มควรอ่านก่อน30 #พลังแห่งการตั้งคำถาม #Welearn




1,313 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page