top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว พลังภายในคำพูด



สรุป 15 ข้อคิด จากหนังสือ พลังภายในคำพูด

.

1. ถ้าอยากจะปรับคำพูด ต้องเริ่มจากการปรับภาชนะใส่คำพูดก่อน

นั่นก็คือการปรับทัศนคติ และความคิดในใจ

ถ้าอยากพูดถ้อยคำที่ล้ำลึก ก็ต้องเป็นคนที่ล้ำลึก

ถ้าอยากพูดอย่างน่าเชื่อถือ ก็ต้องเป็นคนที่น่าเชื่อถือ

.

.

2. มองเห็นตัวเองด้วยสายตาของตัวเอง ไม่ใช่ด้วยสายตาของคนอื่น

ถ้าอยากเข้าใจตัวเองที่แท้จริง เราต้องถอดกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ที่ถูกปลูกฝังมาแต่เด็ก

เราต้องไม่เป็น “ฉันที่แสนดี” หรือ “ฉันที่มีมารยาท”

แต่เราต้องในแบบของตัวเราที่แท้จริง

.

.

3. เป็นตัวเอกในชีวิตตัวเอง

ทำตามความต้องการของตัวเอง ไม่ใช่ความต้องการของคนอื่น หรือทำตามความคาดหวังในสังคม

ชีวิตของเราคือการไล่ตามความปราถนาของเราเอง ด้วยมาตรฐานของตัวเราเอง

.

.

4. รู้จักควบคุมอารมณ์

มองเข้าไปในใจให้เห็นโครงสร้างอารมณ์ทั้งปวง ทำความเข้าใจ และบังคับตัวเองไม่ให้ตกเป็นทาสของอารมณ์

.

.

5. ทุกคนล้วนมีจุดยืนที่แตกต่างกัน ตามทัศนคติของตัวเอง

ถ้าอยากเข้าใจผู้อื่นให้มากขึ้น เราต้องถอดจุดยืนของตัวเองออกก่อน

แล้วลองเข้าไปยืนในมุมของคนอื่น

.

.

6. จงสัมผัสกับความลึกซึ้งในคำพูดของคนใกล้ตาย

เพราะคนที่เผชิญความตายจะมองเห็นความล่ำค่าของชีวิตมากขึ้น

เป็นมุมมองที่คนที่ไม่ใกล้ความตายจริง ๆ ไม่มีทางได้เห็น

ดังนั้นถ้าได้อยู่ใกล้กับคนรอบตัวที่ใกล้ตาย จงตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเขาพูดดี ๆ

.

.

7. มองหา “ช่องว่าง” เพื่อสร้างสรรค์คำพูดใหม่ ๆ

เช่น ถ้าเรามองเห็นจุดที่น่าชื่นชมของคน ๆ หนึ่งซึ่งไม่มีใครเห็นมาก่อนได้

เราก็จะสร้างความทับใจกับคน ๆ นั้นได้มาก

หรือแม้แต่การติเพื่อก่อ ถ้าเรามองหาจุดนั้นพบ ก็จะนับเป็นประโยชน์ต่อคน ๆ นั้นอย่างมาก

จงจำไว้ว่า การประดิษฐ์ถ้อยคำและการแสดงออกนั้นสำคัญ แต่เนื้อหาที่เราพูดสื่อสารออกไปนั้นสำคัญที่สุด

.

.

8. หากอยากได้อะไร เราต้องเป็นฝ่ายให้ก่อน

การพูดก็ไม่ต่างกัน ถ้าอยากได้ใจเขา เราก็ต้องมอบหูของเราให้ตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูดก่อน

เมื่อเราตั้งใจฟัง ฝ่ายตรงข้ามก็จะตั้งใจพูด

เมื่อเราใส่ใจในการฟัง ฝ่ายตรงข้ามก็ใส่ใจลงไปตอนพูดเช่นกัน

.

.

9. เมื่อถูกนินทาว่าร้าย ให้เรารับมาเพียงผิวเผิน และปล่อยให้คำพูดอยู่กับตัวผู้พูดต่อไป

แต่ถ้าเป็นคำพูดที่ถูกต้องมีเหตุผลก็ให้รับมา

แต่ถ้าเป็นเจตนาร้ายก็ให้เพิกเฉยไป

.

.

10. หากพอใจกับสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว จะไม่อยากถาม

การถามจึงเป็นการแสดงออกถึงคนที่อยากเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเท่านั้น

.

.

11. มองหาระยะที่พอเหมาะในการถามและพูดคุย

เพราะถ้าเราตั้งใจถามมากเกินไป หรือแสดงออกถึงความสนใจฝ่ายตรงข้ามมากเกินไป ก็อาจทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดใจได้

แต่เราก็ไม่ควรพูดอ้อมค้อมมากเกินไปจนทำให้อีกฝ่ายไม่เข้าใจ

การหาจุดกึ่งกลางที่พอดีจึงเป็นเรื่องสำคัญ

ซึ่งทำได้ไม่ง่าย แต่ฝึกได้

.

.

12. พูดอย่างนุ่มนวลและใจเย็น

ถ้าอีกฝ่ายยังไม่เข้าใจ ก็ค่อยหาโอกาสไปพูดใหม่ ไม่โจมตีฝ่ายตรงข้ามอย่างดุดันเกินไป

เหมือนการสอน ถ้าเขายังไม่เข้าใจ ก็ให้กลับมาสอนเขาพรุ่งนี้ใหม่อีกรอบ

.

.

13. หลัก 3 ประการที่สำคัญสำหรับการพูดคือ

มีการตรวจพิจารณา มีเหตุมีผล และมีการนำไปปฏิบัติจริง

เพราะคำพูดจะเสร็จสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ถูกนำไปปฎิบัติจริง ๆ

ไม่ใช่การพูดที่ผู้พูดไม่รู้จักรักษาคำพูด

.

.

14. คำพูดเป็นเพียงเครื่องมื่อในการสื่อสาร สิ่งสำคัญกว่าคือการแบ่งปันจิตใจของสองฝ่าย

คำพูดสำคัญก็จริง แต่การแบ่งปันเจตนาในการพูดที่มาจากใจจริงนั้นสำคัญกว่า

ดังนั้นเราอาจลืมคำพูดของคนที่คุยด้วย แต่เรายังคงสัมผัสถึงความรู้สึกและเจตนาที่อยู่ในคำพูดนั้นได้เสมอ

เหมือนการที่เราอาจลืมหน้าตาเหล้าองุ่นไปแล้ว แต่ยังจดจำรสชาติที่นุ่มลึกของมันได้ดี

.

.

15. หากอยากมีอำนาจในการพูด ให้ทำตัวเป็นพิธีกรที่เป็นผู้ฟังที่ดี

พิธีกรฟังมากกว่าพูด แต่เรียกว่าเป็นคนคุมบทสนทนาที่เกิดขึ้นบนเวที คอยจัดระเบียบเรื่องที่คุยกัน เปลี่ยนประเด็น สรุปและตัดจบ เพื่อให้เป็นไปตามแบบแผนที่วางไว้ และคอยทำให้คนดูมีความสุขไปกับการชม

จงฝึกเป็นพิธีกร ถ้าอยากเป็นคนที่พูดเก่ง

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

ถ้าดูจากข้างหน้าเราอาจคิดไปว่า หนังสือพลังภายในคำพูด น่าจะเป็นหนังสือสรุปเทคนิคการพูดที่อ่านง่าย เป็นหนังสือพัมนาตัวเองทั่ว ๆ ไป ที่มีหลายเทคนิคที่เราเคยพบเห็นมาจากเล่มอื่นบ้างแล้ว

ตอนแรกผมเองก็คิดเช่นนั้น

...แต่พอได้อ่าน ก็ค้นพบว่า ไม่ใช่เลย

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือกึ่งปรัชญาที่มีความนุ่มลึกของเนื้อหาเกี่ยวกับการพูด

ซึ่งกินพื้นที่รวมไปถึงเรื่องการเปลี่ยนความคิดและทัศนคติต่าง ๆ

.

แอบมีกลิ่นอายของหนังสือ วิธีชนะมิตรและจูงใจคน ของ Dale Carnegie

แต่เล่มนี้อ่านง่ายกว่า เข้าใจง่ายกว่า

แต่มีปรัชญามากมายที่ทำให้เล่มนี้แตกต่างจากหนังสือ howto ด้านการพูดทั่วไป

.

โดยรวมแล้วชอบความลึกซึ้งของเนื้อหา ชอบสำนวนการเขียนแบบนี้มาก

มันทำให้เราเพลิดเพลินไปกับปรัชญาหลายอย่างที่ไม่ตรงไปตรงมา แต่อ่านแล้วนำมาคิดต่อได้

พร้อมข้อคิดด้านการพูดใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยเจอหลายข้อ

.

ด้วยความที่เป็นหนังสือเล่มไม่หนามาก อยากจะแนะนำกับทุกคนว่าเป็นอีกเล่มที่ดีมาก ๆ สำหรับคนที่สนใจเรื่องการพูด

.

.

พิกัดสั่งซื้อ: https://shope.ee/8UZ5OmVYVo

.

.

...............................................................................

ผู้เขียน: Shin Dohyeon (ชินโดฮยอน), Yun Naru (ยุนนารู)

ผู้แปล: สิริกร สังขพันธ์

จำนวนหน้า: 190 หน้า

สำนักพิมพ์: อมรินทร์ How To, สนพ.

เดือนปีที่พิมพ์: 2022

ชื่อเรื่องต้นฉบับ: The Power Of Language

...............................................................................

.

.

#หลังอ่าน #พลังภายในคำพูด




342 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page