สรุป 20 ข้อคิด จากหนังสือ ฉันหมด passion หรือแค่ยังหามันไม่เจอ
.
.
1. โดยปกติแล้วมักมีแต่คนบอกว่า เราควรหา passion แต่น้อยคนที่จะเล่าว่าเราควรหา passion เจอได้อย่างไร
หลายครั้งเส้นทางในการตามหา passion ก็คดเขี้ยวและขรุขระ
.
.
2. บางครั้ง passion ก็กลายเป็นเรื่องเลวร้าย และอาจนำเราไปถึงจุดที่
- เป็นทาสผลประโยชน์และการยอมรับจากผู้อื่น หรือถูกชื่อเสียง เงินทองและยอดผู้ติดตามครอบงำ
- เรากลายเป็นคนเพิกเฉยต่อชีวิตด้านอื่นที่ไม่ใช่ passion ชีวิตครอบครัวอาจล้มเหลว
- หมดไฟ เมื่อทุ่มเทให้กับ passion หรือสิ่งที่ชอบมากเกินไป
- ไม่มีความสุข เพราะไม่ใช่ว่าทุกงานอดิเรกจะทำให้เรามีความสุขเมื่อเปลี่ยนเป็นอาชีพ
.
.
3. เราอาจไม่ได้กระตือรือร้นเพื่อมีความสุข แต่เรากระตือรือร้นเพื่อพยายามต่อไปเรื่อย ๆ
Passion เชื่อมต่อกับโดพามีน สารแห่งความสุขที่หลั่งออกมาเมื่อเราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งสำเร็จ
โดพามีนจึงทำให้เรากระหายการไล่ตาม
และทำให้เราเสพติดความพยายาม จนหมกมุ่นอยู่กับ passion นั้นไปเรื่อย ๆ
.
.
4. passion อาจเป็นหลุมหลบภัยให้เราซ่อนตัวจากส่วนที่ขาดหายไปในชีวิต
มันเป็นได้ทั้งในแง่ดี คือป้องกันไม่ให้เราทำเรื่องแย่ ๆ
แต่ก็อาจทำให้เรากลายเป็นคนไม่กล้าเผชิญหน้ากับปัญหา
.
.
5. อย่ายึดติดอยู่กับ passion มากเกินไป เพราะมันจะทำให้เรารู้สึกดีในวูบแรก
แต่ถ้าเกิดมีปัญหาหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง มันอาจทำให้เรากลายเป็นคนเปราะบางได้
ไม่ต่างอะไรกับเรื่องรักแรกพบ
เราจึงควรเปิดใจให้กว้าง ลดมาตรฐานความสมบูรณ์แบบ และเปลี่ยนมันให้เป็นความน่าสนใจในการออกค้นหา
.
.
6. การเปลี่ยนความสนใจให้เป็น passion อาจเริ่มจากการมองหาแรงขับเคลื่อนความต้องการพื้รฐาน 3 แบบคือ
1) ความสามารถ - เป็นความพยายามที่เราจะก้าวหน้าขึ้นไป
2) อิสระ – การได้ทำในสิ่งที่เป็นตัวเอง
3) ความผูกพัน - เรามีแนวโน้มที่จะทำสิ่งหนึ่งได้ต่อเนื่อง ถ้ารู้สึกว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
.
.
7. สิ่งสำคัญไม่ใช่การเลือกทำระหว่าง “สิ่งที่อยากทำ” หรือ “สิ่งที่ต้องทำ”
แต่เป็นการทำไปทั้งสองอย่างพร้อม ๆ กัน
โดยเราอาจใช้กลยุทธ์บาร์เบล คือ ด้านหนึ่งของบาร์เบล เป็นลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักความเสี่ยงต่ำ-ผลตอบแทนต่ำ (เช่น การทำงานประจำ)
แต่อีกข้างเป็นลูกตุ้มถ่วงน้ำหนักความเสี่ยงสูง-ผลตอบแทนสูง (เช่น การลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว หรือการนำงานอดิเรกมาเป็นอาชีพ)
กลยุทธ์นี้จะช่วยให้เรากล้าเสี่ยงมากขึ้น และเรารู้ว่าถึงล้มเหลวเราก็จะไม่เป็นไรเพราะมีงานประจำรอรับอยู่
.
.
8. เราอาจไปได้ไกลกว่าถ้าค่อย ๆ ไล่ตาม passion ทีละนิด เมื่อเทียบกับการทุ่มสุดตัวแต่แรกเลย
เหมือนการค่อย ๆ ถ่ายน้ำหนักจากบาร์เบลจากด้านที่ความเสี่ยงต่ำ (งานประจำ) มาเป็นด้านที่ความเสี่ยงสูง (งานอดิเรก – สิ่งที่ชอบ)
แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ฝั่งความเสี่ยงต่ำ (งานอดิเรก) เริ่มเติบโตขึ้นแล้ว เราก็จำเป็นที่ต้องเดิมพันและทุ่มสุดตัวให้กับ passion นั้นไปเลย
.
.
9. ระวังอย่าให้ตัวเองเข้าสู่สภาวะการมี passion แบบหมกมุ่น
หรือการผูกคุณค่าของตัวเองไว้กับสิ่งที่เป็น passion จนมากเกินไป
ถ้าเราทำ passion นั้นสำเร็จ เราก็จะมีแต่อยากได้ผลลัพธ์ของมัน ตั้งแต่ชื่อเสียง เงินทอง รางวัล ผู้ติดตามมากขึ้นไปเรื่อย ๆ เหมือนเข้าสู่วงจรแห่งคำสาบ
แต่ถ้า passion นั้นเกิดล้มเหลวขึ้นมา เราจะผิดหวังอย่างรุนแรง เราอาจเกิดภาวะเครียดและซึมเศร้า และจมอยู่ในกองความทุกข์
.
.
10. ระวังอย่าให้ passion เป็น passion ที่เกิดจากความกลัวที่จะล้มเหลว
เพราะถึงแม้เราจะทำตาม passion ได้สำเร็จ เราก็จะไม่มีทางมีความสุขได้เลย
เพราะเราก็ยังจะกลัวความล้มเหลวอยู่ดี
เราจึงต้องฝึกเอาชนะความกลัว และเปลี่ยนจากการทำเพื่อ “ไม่ให้แพ้” เป็นการทำเพื่อ “ชนะ”
.
.
11. จงมองหา passion แบบสอดคล้อง
ที่เป็น passion ที่เกิดจากความชอบจริง ๆ ของเรา ไม่ใช่เป็นเครื่องมือไปสู่เป้าหมาย หรือเพื่อวิ่งหนีความล้มเหลว
และเป้าหมายกฌอาจปรากฎตัวออกมาเอง เมื่อเราชอบทำในสิ่งนั้นจริง ๆ โดยไม่มีเหตุผลแอบแฝง
.
ดั่งคำที่บอกว่า คนที่สนใจความสำเร็จน้อยที่สุดจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด
แต่คนที่สนใจความสำเร็จมากที่สุดจะมีโอกาสสำเร็จน้อยที่สุด
.
.
12. เป็นธรรมดาที่เราจะตื่นเต้นหลังได้รับชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ หรือผิดหวังเมื่อล้มเหลว
ให้ใช้เวลา 24 ชั่วโมงต่อจากนั้นในการดื่มด่ำกับความสุข ความปลื้มปิติยินดี หรือความเศร้า และความพ่ายแพ้
จากนั้นก็แค่กลับไปทำ passion ของตัวเองต่อก็เท่านั้น
วิธีนี้จะทำให้เรารู้ชัดว่า passion ของเราเกิดจากแรงจูงใจภายใน หรือมาจากแรงจูงใจภายนอก
.
.
13. เพ่งความสนใจไปที่การลงมือทำ ไม่ใช่เป้าหมาย
เป้าหมายเป็นแค่เข็มทิศนำทาง
ให้เราโฟกัสอยู่กับสิ่งที่ควบคุมได้ และอ้าแขนรับการเดินทางให้เต็มที่
.
.
14. สิ่งสำคัญสุดคือการได้พัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นจากการทำจาม passion
ไม่ใช่ความสำเร็จ ความล้มเหลว
หากแต่เป็นตัวเองที่เก่งขึ้น ฉลาดขึ้นกว่าเมื่อวาน
.
.
15. คิดแบบซุปเปอร์แชมเปี้ยนและมองความล้มเหลวอย่างสร้างสรรค์
อย่าผิดหวังกับความล้มเหลวเมื่อทำตาม passion มากจนเกินไป
.
.
16. จงอดทนแม้การทำตาม passion จะยังไม่เห็นผลลัพธ์ใด ๆ เลยก็ตาม
อาจลองคิดถึงเป้าหมายเป็นครั้งคราวให้เข้าใจว่าทำไมตัวเราถึงจำเป็นต้องอดทน
.
.
17. อยู่กับปัจจุบัน และไม่ต้องไปสนใจว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นสำคัญที่สุดจริง ๆ รึเปล่า
ปล่อยให้ตัวเองได้ดื่มด่ำไปกับการทำตาม passion ของตัวเองอย่างเต็มที่
.
.
18. การใช้ชีวิตตาม passion และการใช้ชีวิตอย่างมีสมดุลอาจเป็นเรื่องขัดแย้งกัน
เพราะคนเรามีพลังงานและเวลาที่จำกัด ถ้าเราทุ่มเททำเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปแล้ว เราก็จะเหลือพลังงานและเวลาทำเรื่องอื่นน้อยลง
แม้แต่ วอเรน บัฟเฟต์ก็ยังมีชีวิตครอบครัวที่แย่ และถูกพูดถึงในเชิงลบจากลูก ๆ ของเขา เพราะเขาหมกมุ่นกับ passion เรื่องการลงทุนมากจนเกินไป
ดังนั้นแล้วเราต้องระลึกไว้เสมอว่า การใช้ชีวิตตาม passion อาจทำให้เราต้องเสียสละส่วนอื่นของชีวิตไป
.
.
19. สุดท้ายแล้วเราต้องเข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้
เพื่อที่จะได้รู้ว่าเราอยากใช้ชีวิตตาม passion ของเราจริงหรือไม่
หรือเรายังมีความอยากอย่างอื่นอยู่นอกจาก passion ส่วนตัว
.
การเข้าใจตัวเองยีงช่วยให้เราวิ่งไล่ตาม passion ได้อย่างรอบคอบ และควบคุม passion และชีวิตของตัวเองได้
.
.
20. เมื่อถึงคราวต้องตัดใจจาก passion เราอาจหยุดพักเพื่อคิดทบทวนถึงชีวิตที่ผ่านมาที่ใช้ไล่ตาม passion นั้น
จงครุ่นคิดถึงอิทธิพลของ passion และมองหาบทเรียนมาต่อยอดในสิ่งที่ทำต่อไป
.
.
รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน
ถ้าดูแค่ปกหนังสืออาจคิดว่าเป็นหนังสือที่เหมือนหนังสือให้กำลังใจ
แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะนี่เป็นหนังสือแปลตะวันตกที่นำความรู้เชิงจิตวิทยาในเรื่อง passion มาเล่าให้ฟังอย่างสนุก
พร้อมให้บทเรียนสำหรับหลายคนที่อาจหมกมุ่นกับ passion จนทำให้มากเกินไป จนพังทลายชีวิตด้านอื่น ๆ ลง
.
ยอมรับว่าหนังสือมีความลึกซึ้งพอควร อ่านไม่ง่าย
ต้องค่อย ๆ อ่านแล้วตกผลึกไปในตัวด้วย
แต่หนังสือทำบทสรุปประเด็นสำคัญไว้ในแต่ละบท ทำให้อ่านแล้วจับประเด็นสำคัญได้มากขึ้น
โดยรวมแล้วจึงเป็นหนังสือที่ไม่น่าเบื่อนัก และความยาวก็ยังไม่มากจนเกินไป
.
.
พิกัดการสั่งซื้อ: https://shope.ee/3AWR2h9Lqi
.
.
………………………………………………………………………………………………………..
ผู้เขียน: Brad Stulberg, Steve Magness
ผู้แปล: แป้ง ไตรรัตนานุสรณ์
จำนวนหน้า: 232 หน้า
สำนักพิมพ์: บิงโก, สนพ.
………………………………………………………………………………………………………..
.
.
Comments