top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว ฆ่าวัวตัวนั้นซะ !



รีวิว ฆ่าวัวตัวนั้นซะ !

.

‘กำจัดข้ออ้างใด ๆ ออกจากชีวิตซะ’

.

หนังสือเก่าคลาสสิค ส่งตรงจากสเปน ที่ตอนนี้กลายเป็นหนังสือหายากไปแล้ว

หนังสือมีเนื้อหาหลักวนอยู่กับการกำจัดข้ออ้างที่มีในชีวิต

.

หนังสือเปรียบเทียบเป็นนิทานสั้น เล่าว่า

มีการออกเดินทางของ ชายหนุ่มและครูชรา ที่ไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง

แล้วเจอกับคนจนครอบครัวหนึ่งที่อยู่กันอย่างหนาแน่น แต่ไม่มีทรัพย์สินอะไรครอบครองเลยนอกจากวัวตัวเดียว

ครูชราเลยสังการวัวตัวนั้นเสีย

แล้วก็จากไป

.

พอกลับมาที่บ้านแห่งเดิมหลังจากเวลาผ่านไป 1 ปี ก็แทบจำไม่ได้ เพราะครอบครัวดังกล่าวมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก

ต่างกันลิบลับฟ้ากับเหว

ทั้งหมดทั้งปวงเพราะการกำจัดวัว ที่เปรียบเหมือนข้ออ้างนั้นทิ้งไป

.

ส่วนที่เหลือเป็นการแตกย่อยของหนังสือ ว่าวัวในชีวิตของเรามีอะไรได้บ้าง

หนังสือค่อนข้างเบสิค เนื้อหาไม่มีอะไรโดดเด่นมาก

อ่านแก้เบื่อก็พอได้อยู่

แต่เนื่องจากเดี๋ยวนี้มีหนังสือเกี่ยวกับข้ออ้างในชีวิตอยู่มากมาย

เล่มนี้จึงขาดความแปลกใหม่ไป

และส่วนตัวรู้สึกถึงความไม่สมเหตุสมผลของเนื้อหาที่หนังสือนำเสนอ

ไม่เข้าใจว่า การฆ่าวัว 1 ตัว จะทำให้ครอบครัวนั้นลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงชีวิตจนเป็นเศรษฐีได้อย่างไร

ถ้าเป็นหนังสือที่เขียนในสมัยนี้อาจต้องหาเรื่องแต่งที่สมเหตุสมผลมากกว่านี้

.

วัว 5 ตัว (5 ข้ออ้าง) ที่เราทุกคนควรกำจัดออกจากชีวิต

.

1) วัวที่ชื่อว่า มาตรฐานทั่วไป (average)

ศัตรูของคำว่าดีมากก็คือดี !

หลายครั้ง ความสามัญธรรมดา (mediocrity) ร้ายกาจกว่าความล้มเหลวเสียอีก

นั่นก็เพราะว่าเราจะรู้สึกสบายใจที่จะอยู่อย่างธรรมดา

และพับเก็บความฝัน เป้าหมาย หรือแผนการอันยิ่งใหญ่ไว้ข้างหลัง

.

ในขณะที่การตกต่ำลงเหวจะช่วยบีบคั้นให้เราฮึดสู้ และทำอะไรสักอย่าง เพื่อดันตัวเองขึ้นมาจากหุบเหวนั้น

.

แต่การเลี้ยงวัวชนิดนี้ไว้ ไม่อาจทำให้เราได้ในสิ่งที่ต้องการได้

มันมีแต่ทำให้เราโทษโชคชะตา โทษพันธุกรรม หรือโทษว่าสถานการณ์ไม่เอื้ออำนวย

เราต้องฆ่าวัวแห่งความธรรมดานี่ซะ แล้วกล้าออกมาเสี่ยงทำตามฝันของเรา

แม้มันอาจล้มเหลว แต่เราก็ต้องสู้ และพยายามผลักตัวเองขึ้นมาจากความล้มเหลวให้ได้

.

.

2) วัวที่ชื่อว่า “ฉันก็โอเคน่ะ”

เป็นข้ออ้างที่เรามักใช้บอกตัวเองว่า เราโอเคที่จะยังอยู่แบบนี้

เราพึงพอใจกับชีวิตที่เป็นอยู่

เรารู้สึกว่าทุกอย่างมัน ‘พอดีแล้ว’ กับความต้องการของเรา

.

เช่น ฉันเกลียดงานของฉัน แต่ฉันไม่ควรบ่น เพราะอย่างน้อยฉันก็ยังมีงานทำ

หรือ ฉันอาจไม่ได้มีชีวิตสมรสที่ดีที่สุด แต่อย่างน้อยเราก็ไม่ได้ทะเลาะกันทุกวัน

หรือ ฉันไม่ได้ร่ำรวยอะไรมากมาย แต่ก็ยังมีพอกินในทุกมื้อ

.

ที่จริงแล้ววัวตัวนี้อาจเป็นเพียงความกลัวในใจลึก ๆ ของเรา ไม่ให้เราออกไปเสี่ยงทำตามชีวิตที่ต้องการ

ถ้าเราเกลียดงาน เราก็ควรหางานใหม่

ถ้าเราไม่พอใจในชีวิตแต่งงาน เราก็ควรพูดคุยกับคู่สมรสเพื่อร่วมกันหาทางออก

ถ้าเรายังอยากได้เงินเพิ่ม เราก็ต้องหาวิธีสร้างรายได้เพิ่ม

.

จงกล้าที่จะยอมรับว่าเรายังไม่พอใจกับชีวิตในปัจจุบัน แล้วลงมือทำตามเป้าหมายที่ต้องการ

.

.

3) วัวที่ชื่อว่า มันไม่ใช่ความผิดของฉัน

เราอาจกล่าวโทษพ่อแม่ ครูอาจารย์ คู่สมรส โชคชะตา พันธุกรรม เศรษฐกิจ รัฐบาล หรือเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย

เพราะมันทำได้ง่าย และทำให้เราไม่ต้องรับผิดชอบในความล้มเหลวของตัวเอง

.

แต่ถ้าเราครุ่นคิดให้ดีแล้ว ชีวิตของเราล้วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของเราเอง

ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา ก็มาจากการกระทำของเรา

.

แน่นอนว่า มันอาจดีกว่า ถ้าเรามีสถานการณ์รอบข้างที่คอยสนับสนุนเราให้ไปยังเป้าหมายที่ต้องการ

แต่เราต้องไม่ลืมที่จะลงมือทำตามเป้าหมายของเรา

รับผิดชอบต่อชีวิตเราเอง

และกำจัดข้ออ้างว่าเป็นความผิดคนอื่นไปเสียที

.

.

4) วัวที่ชื่อว่า ความเชื่อผิด ๆ

ความเชื่อผิด ๆ เช่น พ่อฉันเป็นคนขี้เมา เราก็เลยเป็นคนขี้เมาด้วย

หรือ ฉันไม่อยากรวยหรอก เพราะความรวยอาจทำให้เสียคนได้

.

ถ้าเราลองมีเวลามานั่งวิเคราะห์คำพูดเหล่านี้ดูดี ๆ

เราจะพบว่า คำพูดเหล่านี้มีความไม่เป็นเหตุเป็นผลอยู่หลายประการ

หรือแม้จะเป็นคำพูดที่ถูกกล่าวอ้างโดยคนที่น่าเชื่อถือขนาดไหน

มันก็ไม่ควรถูกนำมาใช้เป็นข้ออ้าง ในการไม่ลงมือทำตามเป้าหมายของเรา

.

เราต้องเชื่อในตัวเราเอง

เชื่อในจุดแข็งของเรา

เชื่อในความสามารถของเรา

แล้วอ้างสิทธิ์ที่จะใช้ความสามารถดังกล่าว ยอมรับมัน และลงมือใช้มันอย่างเต็มที่

.

จงกำหนดความเชื่อของตัวเอง

อย่าหลงกลไปกับความเชื่อผิด ๆ ที่เคยได้ยินมา หรือถูกกล่าวอ้างมาโดยคนอื่น

.

.

5) วัวที่ชื่อว่า จอมปรัชญา

จอมปรัชญา คือการหาเหตุผลมาอธิบายว่าทำไมเราถึงไม่ลงมือทำตามเป้าที่วางไว้เสียที

เช่น เราอาจบอกว่า เพราะการประสบความสำเร็จต้องรอพระเจ้าบอก พอพระเจ้ายังไม่ได้บอก เราเลยยังไม่ลงมือทำ

หรือ เราอาจบอกว่า จะแพ้หรือชนะอาจไม่สำคัญ วิธีการเล่นเกมสำคัญกว่า

.

ปรัชญาพวกนี้บางครั้งมันก็มีประโยชน์ แต่หลายครั้งมันกลับกลายเป็นข้ออ้างที่ฉุดรั้งไม่ให้เราเดินไปไหน

เราต้องเข้าใจว่า การยอมรับต่อปรัชญาพวกนี้ก็มีข้อเสียไม่ใช่น้อยเช่นกัน

มันจะดีกว่ามั้ย ถ้าเราวางปรัชญาบางอย่างลง ทิ้งมันไปบ้าง

แล้วยอมรับกับตัวเองจริง ๆ ว่าเราต้องการอะไร

พร้อมลงมือทำเพื่อไปสู่สิ่งที่เราต้องการให้ได้

.

.

6) 5 ขั้นตอนสู่ชีวิตที่ปลอดวัวแห่งข้ออ้าง

1. ระบุประเภทวัวในตัวเรา - ลองมองหาเหตุผล ข้อแก้ตัว คำโกหก คำอธิบายที่ไม่ตรงประเด็น หรือคำพูดที่เรามักใช้

ประเมินตัวเองอย่างซื้อสัตย์และตรงไปตรงมา

ทำอย่างรอบคอบ สิ่งไหนที่คิดว่าเป็นสิ่งที่ฉุดรั้งเราไว้ ก็เขียนใส่กระดาษ

ลิสต์วัวออกมาใส่กระดาษไว้ให้หมด

.

2. ระบุความเชื่อจำกัดที่แอบซ่อนอยู่ในวัวแต่ละตัว

เข้าใจที่มาที่ไปของข้ออ้างแต่ละอย่าง

จะได้หาทางแก้ได้ถูกวิธี

.

3. จำไว้ว่า เรากำลังจ่ายค่าเสียโอกาสแสนแพง สำหรับวัวทุกตัวที่แบกไว้

เข้าใจถึงผลกระทบที่วัวแต่ละตัวนำมาสู่ชีวิตเรา

ขั้นตอนนี้จะสร้างความเจ็บปวดพอเราเข้าใจถึงการเสียโอกาส แต่ก็คุ้มที่เราจะลงมือกำจัดพวกข้ออ้างทิ้งไป

.

4. จินตนาการว่าเราฆ่าวัวแห่งข้ออ้างได้แล้ว และเขียนผลกระทบเชิงบวกที่เราเริ่มได้สัมผัส

นึกภาพถึงชีวิตของเราที่ไม่ต้องแบกวัวแห่งข้ออ้างอีกต่อไป

เราจะเป็นอิสระ มีแรงจูงใจ และมีพลังบวก

.

5. สร้างพฤติกรรมใหม่ ๆ

เมื่อเราจินตนาการถึงความสำเร็จในการกำจัดวัวแห่งข้ออ้างได้แล้ว

ที่เหลือก็เพียงแค่ลงมือทำให้มันเกิดขึ้นจริง

และเราเพียงต้องรอเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของชีวิตในทางที่ดีขึ้นเท่านั้น

.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้เขียน: Dr.Camillo Cruz

ผู้แปล: อมรรัตน์ ศรีสุรินทร์

สำนักพิมพ์: นานมีบุ๊คส์

-----------------------------------------------------------------------------------------------------

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30




92 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page