top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว Zero to One





รีวิว Zero to One

จาก 0 เป็น 1

.

‘การลอกเลียนแบบนั้นง่ายกว่าการสร้างสิ่งใหม่ เพราะการทำสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วพาโลกเคลื่อนที่จาก 1 ไป n

ในขณะที่การทำสิ่งใหม่ เราเคลื่อนจาก 0 ไป 1 เป็นช่วงเวลาที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น’

.

Zero to one เขียนโดย Peter Thiel ผู้ก่อตั้ง Paypal และผู้ลงทุน angel investor คนแรกใน Facebook ที่เรียกว่าชาวบ้านใน Silicon Valleys ทุกคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี

เป็นหนังสือที่เล่าแนวคิดาการทำสตาร์ทอับได้อย่างตรงไปตรงมา และเจ็บแสบที่สุด

.

หนังสือไม่ได้ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการเทคนิคการทำสตาร์ทให้เกิด

แต่เป็นแนวคิดกว้าง ๆ ให้คนที่อาจไม่เคยเข้าใจโลกของสตาร์ทอับ

ได้เอาตัวเองเข้าไปอยู่ในวงคนทำสตาร์ทอับบ้าง

.

เพราะสิ่งที่ Peter Thiel ผู้เขียนต้องการจะสื่อคือ โลกของสตาร์ทอับไม่มีสูตรสำเร็จอย่างชัดเจน

และไม่สามารถลอกเลียนกันได้

คนที่ประสบความสำเร็จคือ คนที่ค้นพบความลับที่ซ่อนอยู่ในคำถาม

‘มีเรื่องอะไรบ้างที่เป็นจริง แต่ไม่ค่อยมีใครเห็นด้วยกับคุณ’

และสามารถก้าวข้ามจากจุดที่ไม่มีอะไรเลย คือศูนย์ ไปยัง จุดที่ 1 ได้

.

แน่นอนว่าเราไม่มีทางเป็น สตีฟ จ็อบส์ คนต่อไป เพราะไอโฟนถูกคิดค้นขึ้นมาบนโลกแล้ว

และเราก็ไม่มีทางเป็น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก คนต่อไป เพราะเฟสบุ๊คก็ถูกสร้างขึ้นแล้ว

แต่เราต้องหาความลับเฉพาะที่ยังไม่มีใครค้นพบให้เจอ

จึงจะสร้างธุรกิจที่เปลี่ยนโลกได้

.

หลังอ่านจบ ส่วนตัวมองว่าแนวคิดของ Peter Thiel ค่อนข้างแหวกแนวและสุดโต่ง

แม้จะเต็มไปด้วยการจิกกัดบริษัทต่าง ๆ ในอดีต

แต่บทเรียนที่ถูกถ่ายทอดออกมาจากทั้งคนทำสตาร์ทอับ และนักลงทุน นับว่าควรค่าแก่การอ่านอย่างยิ่ง

.

หลาย ๆ บทในหนังสือมีเนื้อหาที่แปลกใหม่และน่าสนใจ

ตั้งแต่เรื่อง การสร้างการผูกขาด กฎการยกกำลัง ความสำคัญในการขาย และลักษณะเฉพาะของนักธุรกิจผู้สำเร็จ

.

เทียบกับหนังสือธุรกิจเล่มอื่น ๆ

เล่มนี้อาจไม่เหมาะที่จะเป็นเล่มแรก ถ้าคนอ่านไม่มีพื้นฐานความรู้เรื่องธุรกิจเลย

หรือไม่คุ้นเคยกับวงการสตาร์ทอับมาก่อน

.

แต่ถ้าคนที่อยู่ในวงการอยู่แล้ว หรือกำลังศึกษาไอเดียการทำสตาร์ทอับ

เล่มนี้นับว่าควรค่ายิ่ง

.

ความสนุกของหนังสืออยู่ที่ ภาษาที่ตรงไปตรงมาของคนเขียน

และการใช้กราฟประหลาด ๆ ที่เราไม่สามารถพบได้ในตำราบการบริหารธุรกิจทั่วไป

จึงนับว่าเป็นเรื่องใหม่ ๆ ที่ถ่ายทอดมากจากมุมมองของอดีตชาว Silicon Valley ของจริง

.

สุดท้ายผมอยากนำแนวคิดที่น่าสนใจ 6 เรื่องจากหนังสือมาเล่าให้ฟังครับ

1) ความก้าวหน้าในแนวราบ vs ในแนวดิ่ง

ความก้าวหน้าในแนวราบ คือ globalization (โลกาภิวัฒน์)

หรือการแพร่กระจายความก้าวหน้าทางวิทยการไปยังพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของโลก

เป็นการต่อยอดจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ทีละนิด

หรือเป็นการลอกเลียนจากสิ่งที่ประสบความสำเร็จแล้ว

เรียกว่าเป็นการเพิ่มจาก 1 ถึง n

.

แต่ความก้าวหน้าในแนวดิ่ง คือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ

ซึ่งจะทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นบนโลก

เป็นการเพิ่มจาก 0 ไป 1

.

สิ่งสำคัญคือ globalization ไม่อาจทำให้โลกอยู่นอดได้ในระยะยาว

เนื่องจากเรายังคงมีทรัพยากรจำกัดอยู่

แต่สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้คือ นวัตกรรมใหม่ ๆ

การเกิดขึ้นของสตาร์ทอับที่สร้างนวัตกรรมจาก 0 ไป 1 จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

.

.

2) คุณสมบัติของผู้มีอำนาจผูกขาด

สิ่งสำคัญคือ ผู้มีอำนาจผูกขาดอาจไม่ใช่ first mover เสมอไป แต่เป็นคนที่ยืดหยัดได้เป็นคนสุดท้าย

โดยทั่วไป ผู้มีอำนาจผูกขาดมักมีคุณสมบัติ ข้อดังต่อไปนี้


1. มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง มีนวัตกรรมเฉพาะที่เลียนแบบได้ยาก

เช่น search engine ของ Google

.

2. ใช้พลังของเครือข่าย (Network effect) –

เช่น Facebook ที่ให้ผู้ใช้งานดึงดูดคนรอบตัวให้เข้ามาเล่นเรื่อย ๆ

หรือ ebay ที่ใช้พลังของผู้ซื้อ-ผู้ขาย ที่ผลัดกันดึงดูดอีกฝ่ายเข้ามา

.

3. มีความได้เปรียบของขนาด (economies of scale)

เช่น พวกบริษัทซอฟต์แวร์ที่ต้นทุนในการผลิตซอฟต์แวร์เพิ่มนั้นแทบจะเป็นศูนย์

.

4. มีการสร้างแบรนด์ (branding)

เช่น Apple ที่ออกแบบทุกผลิตภัณฑ์อย่างเรียบรู้ การโฆษณาชั้นยอด การวางอยู่ที่ตลาดบน และอิทธิพลที่ยังเหลืออยู่ของสตีฟ จ็อบส์ ทำให้ Apple เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งมาก

.

แนวคิดของ Peter Thiel คือการเริ่มจากการผูกขาดตลาดเล็ก ๆ ก่อน

แล้วจึงค่อย ๆ ขยับขยาย

.

และจงอย่า disrupt ตลาดอื่น แต่พยายามหาจุดเสริมซึ่งกันและกันแทน

.

.

3) จงมองโลกในแง่ดีแบบมีจุดหมาย แล้วโชคจะเข้าข้าง

เมื่อเราแบ่ง ‘มุมมองต่โชค’ ของบริษัทและนักลงทุนต่าง ๆ ทั่วโลกออกเป็น 2 แกน คือ

แกนนอน = มี/ไม่มี เป้าหมาย

แกนตั้ง = การมองโลกในแง่ดี/ แง่ร้าย

.

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา หลายประเทศในหลายช่วงเวลาล้วนวิธีการมองอนาคตที่แตกต่างกันออกไป

ลองมาพิจารณที่ละแบบ

1. มองโลกในแง่ดีแบบไม่มีเป้าหมาย

บริษัทและนักลงทุนประเภทนี้จะพยายามเลียนแบบ และไม่สร้างสิ่งใหม่

.

2. มองโลกในแง่ร้ายแบบไม่มีเป้าหมาย

บริษัทและนักลงทุนประเภทนี้จะคาดหวังต่ำ และสมหวังได้ไม่ยาก

.

3. มองโลกในแง่ร้ายแบบมีจุดหมาย

บริษัทและนักลงทุนประเภทนี้มักจะเจอปัญหา เพราะถ้าเชื่อว่าเราทำอะไรเพื่อเปลี่ยนอนาคตไม่ได้ ก็คงจะไม่มีใครลงมือทำอะรสักอย่าง

.

4. มองโลกในแง่ดีแบบมีจุดหมาย

บริษัทและนักลงทุนประเภทนี้ จะลงมือสร้างอนาคตตามที่วางแผนไว้

สิ่งสำคัญที่บริษัทสตาร์ทอับต้องเข้าใจคือ จงจำไว้ว่าคุณไม่ใช่ล็อตเตอรี่

คุณต้องปฏิเสธความไม่แน่นอนของโชคชะตา

และเชื่อว่าความพยายามครั้งยิ่งใหญ่ของคุณควบคุมได้

ไม่เพียงแต่คุณจะกุมชะจาชีวิตตัวเองได้ แต่ยังสร้างผลกระทบต่อโลกทั้งใบได้อีกด้วย

.

เพราะฉะนั้นแล้วจงฝึกมองโลกในแง่ดีแบบมีจุดหมายกันเถอะ


.

.

4) ค้นหาความลับที่ซ่อนอยู่

ความลับคือสิ่งที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สิ่งที่รู้แล้ว กับเรื่องลี้ลับ

ในขณะที่ฝั่งหนึ่งคือ สิ่งที่รู้แล้ว เป็นสิ่งที่ง่าย

อีกฝั่งหนึ่ง คือเรื่องลี้ลับ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรู้ (เช่น พวกทฤษฎียาก ๆ ทางฟิสิกส์ อย่างทฤษฎีสตริงที่พิสูจน์ไม่ได้)

ความลับอยู่ตรงกลาง ‘เป็นสิ่งที่ยาก แต่สามารถรู้ได้’

.

มีคนหลายคนเชื่อว่า ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้ทำสิ่งที่ยากไปหมดแล้ว

แทบจะเหลือแต่เรื่องลี้ลับที่ยังไงก็ไม่มีวันหาคำตอบได้

มีแม้กระทั่งคนบ้าที่อยากจะทำลายเรื่องยากที่มนุษย์เคยแก้ปัญหาไว้ เพื่อล้างระบบใหม่

.

แต่ในความจริงแล้ว โลกของเรายังมีความลับให้รอค้นพบอีกมาก

ลองคิดถึงการสร้างพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาแทนเชื้อเพลิงฟอซซิล

หรือแม้แต่การสร้างโมเดลธุรกิจแบบใหม่ของ Airbnb ในการให้เจ้าของที่พักเปิดรับแขกจากต่างถิ่น

.

ความลับบนโลกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคร่าว ๆ

คือความลับของธรรมชาติ และความลับของผู้คน

โลกเรายังมีความลับรอให้ค้นพบอีกมาก

.

ลองคิดดูเล่น ๆ ในมุมธุนกิจว่า

‘บริษัทแบบไหน ที่มีคุณค่าสูง แต่ยังไม่มีใครสร้างขึ้น?’

บริษัทแบบนั้นแหละครับ ที่จะเป็นผู้ค้นพบความลับ

.

.

5) มองหาผู้สมรู้ร่วมคิด

การรับคนเข้าทำงานเป็นเรื่องสำคัญมาก

เพราะคนที่รับเข้ามาจะกลายเป็นกำลังสำคัญในบริษัท

.

แม้ในช่วงแรก พนังกาน 4-5 คนแรกอาจเข้ามาทำงานกับบริษัทของคุณได้

เพราะหุ้นของบริษัท หรือ ตำแหน่งหน้าที่ที่สำคัญ

แต่ถ้าเป็นคนที่ 20 ละ

เขามีเหตุผลอะไรในการมาร่วมงานกับบริษัทสตาร์ทอับอย่างคุณ

คำถามที่ควรถามคือ

‘ทำไมคนเก่ง ๆ ถึงต้องมาทำงานเป็นวิศวกรคนที่ 20 ในบริษัทคุณ ทั้ง ๆ ที่เขาสามารถไปทำงานกับ Google ที่มีชื่อเสยีงมากกว่า และให้ค่าตอบแทนสูงกว่ามาก?’

.

ตัวอย่างคำตอบห่วย ๆ เช่น

‘หุ้นที่คุณได้รับจะสูงกว่าหุ้นที่คุณจะได้จากบริษัทอื่นๆ’

‘คุณจะได้ทำงานกับคนฉลาดที่สุดในโลก’

‘คุณจะได้แก้ปัญหาที่ท้าทายที่สุดในโลก’

.

ทำไมคำตอบข้างต้นถึงห่วย

นั่นก็เพราะ ใคร ๆ ก็อ้างคำตอบพวกนั้นได้

เมื่อทุกบริษัทอ้างแบบเดียวกัน บริษัทของคุณก็จะไม่โดดเด่นอะไรขึ้นมา

.

คำถามคือ แล้วคำตอบอะไรถึงจะเหมาะสม

คำตอบที่ดีนั้นไม่ได้ให้ไว้หนังสือ

เพราะต้องเป็นคำตอบเฉพาะของแต่ละบริษัท ที่แตกต่างไม่เหมือนใคร

แต่มักจะเกี่ยวโยงกับ 2 ประเด็น คือ

1. ภารกิจของบริษัท - ทำไมคุณถึงอยากแก้ปัญหาที่คิดว่าสำคัญ แต่คนอื่นเขาไม่ทำกัน

2. ทีมงาน - ทำไมทีมงานของคุณถึงเหมาะกับคนที่คุณอยากจ้างเข้ามา

.

.

6) เทคโนโลยีคือตัวช่วยสำคัญ

สิ่งที่คนที่หวาดกลัวเทคโนโลยีชอบคิดกันคือ คอมพิวเตอร์จะเข้ามาแทนที่มนุษย์

แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ตามความเห็นของ Peter Thiel

คอมพิวเตอร์จะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวช่วยสำคัญมากกว่าจะเข้ามาเป็นคู่แข่ง หรือศัตรูของมนุษย์

.

ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่า

เราได้เปรียบจากการแลกเปลี่ยนกับคอมพิวเตอร์มากกว่าแลกเปลี่ยนกับมนุษย์ด้วยกันเอง

เพราะคอมพิวเตอร์ ไม่ต้องการอะไรเลย

คอมพิวเตอร์ไม่เคยเรียกร้องอะไรจากเรา ไม่ต้องการอาหาร ไม่ต้องการที่นอน ต้องการเพียงแค่กระแสไฟฟ้า

เมื่อเราออกแบบเทคโนโลยีใหม่ ๆ ไว้ช่วยแก้ปัญหาได้ ผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกอยู่กับเรา

โดยไม่ต้องแก่งแย่งทรัพยากรกันไปมา ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์

.

ลองเทียบอุปสงค์ กับอุปทานของมนุษย์ และคอมพิวเตอร์

ส่วนอุปสงค์

ในขณะที่ มนุษย์แข่งกันด้วย globalization มีการเข้ามาแทนที่ซึ่งกันและกันของตลาดแรงงาน

คอมพิวเตอร์เป็นเพียงตัวช่วย ๆ หนึ่งเท่านั้น

ในฝั่งอุปทาน

มนุษย์ล้วนมีความต้องการในการบริโภคที่เหมือน ๆ กัน

แต่คอมพิวเตอร์ไม่มีความต้องการอะไรเลย

.

เพราะฉะนั้นแล้ว สำหรับโลกในยุคนี้ คอมพิวเตอร์จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการสร้างธุรกิจ

และช่วยมนุษย์แก้ปัญหาที่ไม่เคยนึกฝันมาก่อนว่าจะแก้ได้

.

.

7) 7 คำถามที่ทุกบริษัทต้องตอบให้ได้

จุดที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีสะอาดส่วนใหญ่ไปไม่รอด เพราะยังไม่สามารถตอบคำถามทั้ง 7 ข้อ ต่อไปนี้ได้ดี

คำถามที่ 1: คำถามเรื่องวิศวกรรม

คุณสามารถสร้างเทคโนโลยีที่สั่นสะเทือนวงการ แทนการปรับปรุงเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ดีขึ้นทีละน้อยได้หรือไม่?

.

คำถามที่ 2: คำถามเรื่องจังหวะเวลา

ตอนนี้เป็นช่วงที่เหมาะสำหรับการทำธุรกิจนี้หรือไม่?

.

คำถามที่ 3: คำถามเรื่องการผูกขาด

คุณเริ่มต้นด้วยการยึดครองตลาดขนาดเล็กหรือไม่?

.

คำถามที่ 4: คำถามเรื่องบุคลากร

คุณมีทีมงานที่เหมาะสมหรือไม่?

.

คำถามที่ 5: คำถามเรื่องการกระจายสินค้า

คุณไม่ได้มีแค่วิธีสร้างผลิตภัณฑ์ แต่มีวิธีในการส่องมอบมันให้ถึงมือลูกค้าด้วย ใช่หรือไม่?

.

คำถามที่ 6: คำถามเรื่องความยั่งยืน

คุณจะสามารถรักษาตลาดของตัวเองในอีก 10-20 ปีข้างหน้าไว้ได้หรือไม่?

.

คำถามที่ 7: คำถามเรื่องความลับ

คุณมองเห็นโอกาสที่คนอื่นมองไม่เห็นหรือไม่?

.

ในความเป็นจริงนั้น ตอบให้ได้สัก 5-6 ข้อก็อาจเพียงพอแล้ว

แต่บริษัทที่ตอบได้ทั้ง 7 ข้อ จะกุมโชคชะตาและความสำเร็จเอาไว้ได้

แต่บริษัทที่ตอบไม่ได้เลยสักข้อ จะต้องพบเจอกับโชคร้ายเป็นแน่แท้

.

.

..........................................................................................

ผู้เขียน: Peter Thiel

ผู้แปล: วิญญู กิ่งหรัญวัฒนา

จำนวนหน้า: 232 หน้า

สำนักพิมพ์: วีเลิร์น, สนพ.

..........................................................................................

.

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #100เล่มควรอ่านก่อน30 #ZerotoOne




449 views0 comments

Comentarios

No se pudieron cargar los comentarios
Parece que hubo un problema técnico. Intenta volver a conectarte o actualiza la página.
Post: Blog2_Post
bottom of page