top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว BEGIN WITH THE END



สรุป 10 ข้อคิด สั้น ๆ จากหนังสือ BEGIN WITH THE END

ทฤษฎีธุรกิจที่เอาความสำเร็จเป็นที่ตั้ง

.

1. ให้เอาตอนจบมาเป็นจุดเริ่มต้นเสมอ (Begin with the end in mind)

มองหาภาพความสำเร็จในหัวตัวเองให้ชัดเจน ก่อนที่จะนำมาคิดเป็นกลยุทธ์ที่จะนำพาเราไปสู่ความสำเร็จนั้น

แล้วจึงค่อยมองหาสินค้าหรือบริการที่ตอบโจทย์

.

2. เกิดเป็นมด อย่าทำตัวแบบช้าง

หลายคนมีธุรกิจขนาดเล็ก แต่ใช้วิธีการแบบช้างในการทำธุรกิจ

.

สิ่งที่แตกต่างกันของการทำธุรกิจแบบมดกับแบบช้างคือ

ช้างจะเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาก่อน แล้วเอาไปลองตลาด ถ้าไม่ได้ผล ก็ใช้การโปรโมทด้วยดารา influencer และการจัดโปรโมชั่นต่าง ๆ

ซึ่งลักษณะแบบนี้ต้องใช้เงินทุนและทรัพยากรมหาศาล

คนทำธุรกิจขนาดย่อมหลายคนจึงไปไม่รอด เพราะมีเงินทุนและทรัพยากรที่จำกัด

.

ถ้าลองใช้วิธีการแบบมดที่เน้นเป้าหมายก่อน มองเป้าหมายให้ชัด แล้วจึงค่อยกำหนดกลยุทธ์การทำงาน

ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องมาที่กลยุทธ์การขาย การทำการตลาด และกลับมาที่ีตัวสินค้าทีหลังสุด

.

3. มองหา เป้าหมาย (Goal) และเส้นทางในการตอบเป้าหมาย (How to achieve Goal) ให้สัมพันธ์กัน

เมื่อเริ่มมีเป้าหมายแล้ว ก็ต้องเริ่มสร้างเส้นทางไปสู่เป้าหมาย

โดยเราควรหา how to achieve goal ที่ fit กับเป้าหมายพอดี ๆ

.

ถ้าเราหาไม่เจอก็เป็นไปได้ 2 ทาง คือ เรามองหา how to ไม่เหมาะสม หรือฝันของเราอาจไม่มี how to ใด ๆ มารองรับได้

ในกรณีหลังก็อาจจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนความฝัน ให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น

.

4. นอกจากความรู้และประสบการณ์แล้ว ผู้ประกอบการที่ดีต้องมี “กึ๋น (Vision)” ในการทำธุรกิจด้วย

Vision อาจแปลตรง ๆ ว่าวิสัยทัศน์หรือการมองเห็นภาพระยะยาวว่าธุรกิจจะเคลื่อนตัวไปทางไหน

แต่สำหรับอาจารย์ยอด Vision หมายถึงกึ๋น ทางธุรกิจที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้นด้วยข้อมูลอันจำกัด

ซึ่งสุดท้ายแล้วกึ๋นเป็นสิ่งที่ฝึกกันได้

โดยสิ่งสำคัญคือ ผู้ประกอบการต้องยึดโยงกึ๋นกับ goal ของตัวเองไว้ให้แน่น

การตัดสินใจในเวลาอันสั้นจะทำได้ง่ายขึ้นมาก

.

5. ประยุกต์ใช้ทฤษฎี 80/20

โดยสำหรับโครงสร้างธุรกิจ มักจะมีสินค้าเพียง 20% ที่สร้างยอดขายกว่า 80% ให้กับองค์กร เรามักเรียกว่า Hero Products

ดังนั้นเราจึงต้องมองหา Hero Products เหล่านี้ให้เจอ แล้วทุ่มเททรัพยากรและเงินทุนไปกับสินค้าเหล่านี้

.

นอกจากนี้เราควรโฟกัสไปที่หัวใจของธุรกิจ 80% โดยการสร้างฐานรากให้แข็งแรง เพื่อที่อีก 20% ที่เป็นยอดจะเติบโตขึ้นมาได้

เปรียบเหมือนชาวนาที่เตรียมดิน เตรียมน้ำ และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ทำตรงนี้ 80%

ส่วนอีก 20% ก็คือการรอให้ข้าวงอกและเติบโตตามหน้าที่ของมันเอง

.

6. ยอมรับกฎ 50/50 และความจริงบนโลกว่าเรามีทั้งสิ่งที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้

ในการทำธุรกิจก็มีทั้งปัจจัยที่เราควบคุมได้ และควบคุมไม่ได้ โดยอาจแบ่งเป็นเปอร์เซ็นได้ 50% - 50%

ในเรื่องนี้ สิ่งที่ดีที่สุดที่เราทำได้ก็คือ การเตรียมปัจจัย 50% ที่ควบคุมได้ให้ดีที่สุด

แต่อีก 50% ที่เราควบคุมไม่ได้ เช่นโชค จังหวะเวลา และโอกาส ก็อาจต้องทำใจยอมรับบ้าง

.

7. ตามหา DNA ที่แท้จริงของแบรนด์

DNA เป็นทั้งจุดแข็งและจิตวิญญาณของแบรนด์ ที่ทำให้ธุรกิจมีตัวตนที่แตกต่าง และยังถูกนำมาใช้เป็นหลักชัยในการดำเนินธุรกิจได้อีกด้วย

.

วิธีหนึ่งที่สำคัญในการระบุ DNA ของธุรกิจตัวเอง คือการเปิดใจ “ฟังลูกค้า”

โดยเฉพาะการตั้งคำถามว่า “ทำไมลูกค้าถึงรักเรา”

.

ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีต้องฟังมากกว่า พูด

ไม่เลือกฟังเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองอยากได้ยิน แต่เปิดใจรับฟังข้อตำหนิติเตียน เพื่อให้เข้าใจถึงมุมมองของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์อย่างแท้จริง

.

8. เราเป็นพ่อค้า หรือนักธุรกิจ

พ่อค้าคือคนที่หัวไว มีหัวการค้า ซื้อมาขายไป เน้นลงมือทำจริง เน้นลุย ไม่สนใจทฤษฎี สนใจกำไร ไม่เน้นการสร้างธุรกิจในระยะยาว

แต่นักธุรกิจคือ คนที่สนใจรายละเอียด มีการเตรียมข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนลงมือทำจริง เพื่อหวังสร้างธุรกิจให้ยั่งยืนในระยะยาว

.

ไม่มีใครดีกว่าใคร !!!

สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักตัวเองให้ดีว่าเราเหมาะจะทำธุรกิจสไตล์ไหน

และธรรมชาติธุรกิจของเราหมาะกับการเป็นพ่อค้า หรือนักธุรกิจ

เพระาถ้าเราเลือกวิธีการที่ไม่เหมาะสม ธุรกิจเราก็อาจไปไม่รอดได้

.

9. 1+1 = ล้าน อาจเป็นได้

ว่าด้วยเรื่องของการหาพาร์ทเนอร์

ผลลัพธ์อาจออกมาได้หลายรูปแบบตั้งแต่ 1+1 = 2 ซึ่งก็คือการร่วมงานกันแบบปกติ

1+1 = ติดลบ เพราะอาจเกิดความขัดแย้ง ทะเลาะกัน จนกระทั่งฟ้องร้องกัน

1+1 = ล้าน คือ การที่คนสองคนทำธุรกิจร่วมกันแล้วประสานพลังงาน ระเบิดพลังงานมหาศาลออกมา

เช่นคนหนึ่งเป็นนักพัฒนาตาผลิตภัณฑ์ที่ยอดเยี่ยม อีกคนเป็นนักขายที่เยี่ยมยอด

เมื่อมาทำงานร่วมกัน จึงระเบิดเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จออกมา

.

10. ทฤษฎีหมาก 3 ตัว In-Out-Howto

เริ่มจากการที่เราต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่า เราเป็นมนุษย์ประเภทไหน และจะดำเนินกลยุทธ์ยังไงเพื่อจะให้ประสบความสำเร็จ

มนุษย์ In – คือพวกเริ่มวางกลยุทธ์จากจุดแข็งของตัวเอง หรือสิ่งที่ตัวเองมี

มนุษย์ Out – คือคนที่เน้นไปที่เป้าหมาย แล้วพิจารณาว่าจะทำยังไงถึงจะไปตอบโจทย์เป้าหมายนั้น

มนุษย์ Howto – คือพวกที่เน้นลุย เน้นลงมือทำ

.

เราอาจต้องมีส่วนผสมของมนุษย์ทั้ง 3 ถึงจะวางกลยุทธ์ไปสู่ความสำเร็จได้

แต่ลำดับในการวางหมาก ก็แล้วแต่ธุรกิจและสถานการณ์ของเรา

ซึ่งเราต้องเป็นคนที่พิจารณาเรื่องเหล่านี้เอง

.

หนังสือยังมีรายละเอียดเทคนิคต่าง ๆ อีกมาก ใครสนใจไปลองซื้อเล่มจริงมาอ่านเลย

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

หนังสือรวมสุดยอดเคล็ดลับการทำธุรกิจจากอาจารย์ยอด ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ

ที่ให้คำปรึกษามากว่า 2,000 กิจการ

.

หลังอ่านจบ ต้องบอกว่าหนังสืออ่านสนุกมาก เหมาะมากสำหรับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็กที่มีทุนไม่มาก

อ่านแล้วอาจนำไอเดียและหลักคิดจากหนังสือไปปรับใช้ได้ทันที

.

และที่ชอบที่สุดคือตัวอย่างเคสจริง มีทั้งหมดกว่า 15 เคส

และทุกเคสคือเป็นธุรกิจที่แตกต่างกัน ทั้งอุตสาหกรรม อายุ และขนาดธุรกิจ

.

ที่น่าสนใจคือ ทุกเคสได้นำหลักการของอาจารย์ยอดไปปรับใช้ในบริบทที่ต่างกัน

แต่เทคนิคเหล่านั้นกลับช่วยให้ธุรกิจเกิดความสำเร็จได้ไม่ต่างกัน

จึงเห็นได้ว่า คัมภีร์ที่หนังสือเล่มนี้แนะนำไว้ สามารถเอาไปปรับใช้จริงได้ แน่นอน

.

ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจผลิตภัณฑ์ organic ที่ดีต่อสุขภาพ Xongdur

ซึ่งเรียกได้ว่าสินค้าทั้ง 4 categories นั้นชนกับช้างอย่างชัดเจน

แต่เพราะการมี DNA ที่ชัดเจน และใต้ภูเขาน้ำแข็งกว่า 80% ที่ Xongdur ทำให้ลูกค้ามาตลอด (ทั้งเรื่องความใส่ใจ ความมีมาตรฐาน วัตถุดิบคุณภาพเยี่ยม)

ทำให้ลูกค้าเชื่อใจ Xongdur และเป็นสิ่งที่พิสูจน์แล้วว่า ทำไมลูกค้าถึงรัก Xongdur และทำให้ธุรกิจอยู่มาได้กว่า 20 ปี

โดยที่ช้างมองเห็น แต่ช้างไม่สนใจ

เป็นตำแหน่งที่ดีมาก ๆ ทั้งนี้ก็ล้วนมาจาก passion อันแรงกล้าของผู้บริหารนั่นเอง

.

.

ยังไงถ้าใครสนใจทำธุรกิจ ต้องลองหาอ่านให้ได้นะครับ

.

………………………………………………

ผู้เขียน: ฉัตรชัย ระเบียบธรรม (อาจารย์ยอด)

สำนักพิมพ์: ยอด คอร์ปอเรชั่น

จำนวนหน้า: 380 หน้า

………………………………………………

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30


432 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page