top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว THE WHY? OF LIFE ชีวิตต้องสงสัย



สรุป 10 ข้อคิด จากหนังสือ THE WHY? OF LIFE ชีวิตต้องสงสัย

.

.

1. “ความโชคดี” เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก

1) เรื่องหน้าตาดี ฐานะทางบ้านดี หรือเป็นคนที่มีลักษณะพิมพ์นิยมของสังคม

2) เรื่องการมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ในสิ่งเหล่านั้น แล้วตอบรับกับโอกาสนั้น ๆ

.

ดังนั้นถ้าเราอยากโชคดีมากขึ้น ก็ต้องหัดมองหาโอกาสที่ซ่อนอยู่ให้มากขึ้น เตรียมตัวให้พร้อมกับโอกาสนั้น ๆ

และลองทำบุญทำทานให้มากขึ้น เพราะสังคมชอบคนใจบุญ จะช่วยเพิ่มลักษณะพิมพ์นิยมให้ตัวเรา

.

.

2. อาจเป็นเรื่องยากมากที่จะแยกผู้เชี่ยวชาญที่แท้จริง กับนักสร้างภาพเพราะเรามักมีข้อมูลไม่มากพอ

การที่เรามีข้อมูลไม่มากพอ หรือมี asymmetric information ระหว่างคนซื้อกับคนขาย ทำให้เราไม่รู้ว่าใครเป็นคนที่มีทักษะจริง และใครคือนักสร้างภาพ

สุดท้ายแล้วเราเลยชอบตัดสินคนว่ารู้จริง จากการ “พูดเก่ง” และชื่นชอบคนลักษณะนั้นโดยไม่รู้ตัว

.

ส่วนคนที่มีความสามารถจริง ๆ ไม่ชอบการฟันธง และระวังคำพูดตัวเอง

สุดท้ายสังคมที่มี asymmetric information ระหว่างคนซื้อกับคนขายมาก ๆ จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการสร้างภาพลักษณ์มีมากขึ้น และแรงจูงใจในการสร้างความสามารถที่แท้จริงน้อยลง

.

.

3. คนไทยชอบคำนำหน้าชื่อเช่น ดร. เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง

และในสังคมแบบนี้คนจะให้ความสำคัญกับ “การอยู่เหนือคนอื่น” มากกว่าในสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำต่ำ

การแสดงออกถึงระดับการศึกษา หรือฐานะทางสังคมจะช่วยให้คนสนใจฟังเรามากขึ้น

คนไทยจึงมักแสดงคำนำหน้าชื่อให้คนอื่นเห็นไปทั่ว แม้จะไม่มีประโยชน์ในเชิงการทำงานเลยก็ตาม

.

.

4. คนที่พูดโกหกมักเป็นคนที่พูด “กำกวม ไม่ชัดเจน ไม่มีความแน่นอน และแสดงออกถึงความมีเงื่อนไข”

คนพวกนี้จะใช้ความยืดหยุ่นของคำพูดเช่น ฉันจะทำ ก็ต่อเมื่อคุณทำด้วย

เพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกผิดน้อยลง เวลาไม่ทำตามที่พูด

.

แต่คนที่พูดจริง ไม่โกหก จะพูดชัดเจน ไม่กำกวม และไม่แสดงออกถึงเงื่อนไขต่าง ๆ

.

.

5. ผู้ใหญ่บางคนที่ชอบมองว่าเด็กสมัยนี้ไม่ได้เรื่อง เป็นเพราะความเข้าใจผิดของตัวเอง

ที่เข้าใจว่า เมื่อตอนตัวเองยังเด็ก เก่งและมีความสามารถเหมือนตัวเองในตอนโตแล้ว

ทั้ง ๆ ที่คนส่วนใหญ่ก็มักจะมาพัฒนาความสามารถตอนโตระดับหนึ่ง ตอนเป็นเด็กก็ยังไม่ได้เรื่องเหมือนกัน

.

.

6. คนที่เราเคยชอบสมัยเรียน อาจไม่ใช่คนเดียวกับคนที่เราชอบเมื่อโตขึ้น

เพราะคนเราเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลา และใช้ “reference group” หรือคนรอบตัวในการเปรียบเทียบ

พอเราโตขึ้น ทำงาน เรามีฐาน reference group ที่ใหญ่ขึ้น การเปรียบเทียบของเราจึงเปลี่ยนไป

.

อีกปัจจัยหนึ่งคือ คนเรามักมองหาคนที่มีอะไรคล้ายกัน ชอบอะไรเหมือน ๆ กัน

เวลาไปอยู่ต่างประเทศ เราจึงมักเข้ากับคนไทยคนอื่นง่าย เพราะเราเอาไปเทียบกับเพื่อนต่างชาติที่ไม่มีอะไรเหมือนเราเลย

แต่พอกลับมาไทย ก็มักไม่ค่อยได้เจอเหมือนเดิม เพราะเรามีคนที่เหมือนกับเรามากกว่าอยู่ที่ไทย

.

.

7. ความจริงแล้วคนเราชอบฟังเรื่องที่เคยฟังมาแล้วมากกว่าการฟังเรื่องใหม่

เพราะว่าปกติเวลาเรารับข้อมูลใหม่ ไม่มีทางที่สมองของเราจะจดจำและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาได้ทั้งหมด

จึงมีช่องว่าง (gap) อยู่ในชุดข้อมูลเดิม

เมื่อได้ฟังข้อมูลเดิมซ้ำอีกครั้ง จึงเป็นเหมือนการเติมส่วนที่ขาดหายไปลงในข้อมูลที่บรรจุไว้ในสมอง

เราจึงเข้าใจข้อมูลเดิมได้ดีขึ้น และมักชอบฟังเรื่องเดิมซ้ำเพื่อเพิ่มความเข้าใจเหล่านี้

.

จึงไม่แปลกเลยที่บางคนจะชอบหยิบหนังเก่า ๆ มาดูซ้ำ มากกว่าการเลือกดูหนังใหม่

.

.

8. ทำไมคนเราถึงกลัวการลาออก ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แล้วว่าไม่ได้ชอบงานที่ทำ

เหตุผลเพราะเรามีความกลัวหลากหลายแบบตั้งแต่

- กลัวความไม่แน่นอนในอนาคต หรือกลัวการตกงาน มากกว่ากลัวการที่ไม่มีความสุขกับงานที่ทำอยู่

- กลัวการเปลี่ยนใจกับสิ่งที่เราเลือกไปแล้วในอดีต หรือกลัวว่าจะตัดสินใจผิด

- กลัวเสียดายต้นทุน เวลาและสิ่งต่าง ๆ ที่เคยทุ่มไปให้งานในปัจจุบัน

- กลัวเสียหน้า ทำให้รอบข้างผิดหวัง และชีวิตของคนที่ต้องพึ่งพาเราแย่ลง

.

วิธีแก้คือ การเปลี่ยนโฟกัสจากด้านลบของการเปลี่ยนแปลง เป็นด้านลบของการที่เราไม่เปลี่ยนแปลง

เช่น ถ้าเราไม่ทำเราอาจเสียใจไปตลอด เพราะคนเรามักเสียใจกับสิ่งที่ไม่ได้ทำมากกว่าสิ่งที่ได้ทำไปแล้ว

.

และการที่เราต้องลดการแคร์คนอื่นลง

เพราะเรามักคิดไปเองว่ามีคนสนใจเรา (spotlight effect) ทั้งที่จริง ๆ แล้วอาจไม่มีใครสนใจเราเลยก็ได้

.

.

9. 4 คำถามที่เราควรถามตัวเองเมื่อเลือกงาน นอกจากเงินเดือน

1) ต้องเป็นสิ่งที่ชอบ

แต่ก็จงจำไว้ว่าความชอบของคนเราเปลี่ยนได้เสมอ สิ่งที่เราชอบในวันนี้อาจไม่ใช่สิ่งเดียวกับที่เราชอบในอีก 30-40 ปีข้างหน้าก็เป็นได้

2) ทำแล้วมีความหมาย หรือช่วยเหลือคนอื่นในแง่ใดแง่หนึ่ง

3) ถ้ามีคนมาแนะนำให้ทำอาชีพอะไร ให้ลองตั้งคำถามว่าทำไมเขาถึงแนะนำแบบนั้น เพราะอาจมีเหตุผลลึก ๆ ที่เขาให้คำแนะนำเราแบบนั้นก็เป็นได้

4) ลองไปถามคนที่ทำอาชีพที่เราสนใจอยู่ โดยต้องถามถึงความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงานแต่ละวัน

อย่าถามเพียงแค่ความพอใจโดยรวม เราจะได้เข้าใจถึงอาชีพนั้นมากขึ้น

.

.

10. ถ้าอยากมีความสุขจริง เราต้องรู้จักบาลานซ์ความสุข 3 แบบ ได้แก่

1) ความสุขระยะสั้น เช่น อารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

2) ความสุขระยะยาว เช่น ฐานะทางการเงิน งานที่ทำ ความพึงพอใจโดยรวม

3) ความสุขระยะยาวมาก เช่น ความหมายของชีวิต วัตถุประสงค์ในชีวิตที่เราเกิดมา

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

THE WHY? OF LIFE เป็นหนังสือของอาจารย์ณัฐวุฒิ เผ่าทวี เจ้าพ่อหนังสือพฤติกรรมศาสตร์ที่เคยออกหนังสือมาก่อนแล้วหลายเล่ม

ต้องเรียกว่าอาจารย์นำเอาคำอธิบายเชิงพฤติกรรมศาสตร์มาเล่าถึงพฤติกรรมของคนรอบตัวเราได้อย่างแยบยลและคมคาย

ทำให้อ่านหนังสืออาจารย์แล้วสนุกมาก ไม่เคยผิดหวังเลย

เล่มนี้ก็เป็นอีกเล่มที่มีเรื่องน่าสนใจและข้อสรุปที่เป็นคำแนะนำของอาจารย์ที่เอาไปใช้ต่อได้จริง

หนังสือเล่มเล็กมาก ใครสนใจลองไปหาอ่านกันดูครับ

.

.

พิกัดการสั่งซื้อ: https://shope.ee/5pYgOGLeZG

.

.

………………………………………………………………………………………………………..

ผู้เขียน: ณัฐวุฒิ เผ่าทวี

จำนวนหน้า: 144 หน้า

สำนักพิมพ์: SALMON BOOKS

เดือนปีที่พิมพ์: 4/2021

………………………………………………………………………………………………………..

.

.

#หลังอ่าน #THEWHY?OFLIFE #ชีวิตต้องสงสัย

239 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page