รีวิวหนังสือ วันๆเขาทำอะไรถึงได้เป็นประธานบริษัท .
. …..... สารภาพตามตรงว่า เป็นหนังสือที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดในหนังสือมากที่สุดเล่มหนึ่ง ตั้งแต่อ่านหนังสือมา (แต่ก็ยังอ่านจนจบ) แต่ก็ยอมรับว่าสิ่งที่ดีที่สุดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้คือ การได้เห็นวัฒนธรรมของการทำงานในบริษัทญี่ปุ่นอย่างชัดเจน .
. …. วันๆเขาทำอะไรถึงได้เป็นประธานบริษัท เป็นหนังสือที่เขียนโดยท่านประธาน โนโบรุ โคยามา ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานบริษัทมูซาชิโน และเปิดหลักสูตร “ถือกระเป๋า” หลักสูตรอบรม CEO บริษัทอื่นๆ โดยใช้วิธีให้ CEO เหล่านั้นมาถือกระเป๋าให้ท่านประธาน แล้วติดตามชีวิตการทำงานของท่านประธานเต็มๆ 3 วัน ค่าอบรมหลักสูตรนี้ราคาสูงถึง 300,000 บาท แต่ก็ยังมี CEO มากมายหลงเข้ามาติดตามชีวิตการทำงานสุดโหดของท่างวนประธานโนโบรุคนนี้ .
. …. หนังสือเล่มนี้คือการรวบรวม ‘หลักคิด’ ในการบริหารธุรกิจ หรือ ‘หลักคิด’ของการทำงานทั่วๆไป ของท่านประธานโนโบรุที่สอน CEO คนอื่นๆในหลักสูตรถือกระเป๋านี่เอง ส่วนชื่อเรื่องก็คืออธิบายว่าในแต่ละวันประธานบริษัทเขาทำอะไรบ้างจริงๆถือว่าน่าสนใจมาก แต่พออ่านไปเรื่อยๆแล้วรู้สึกว่า พวก ‘หลักคิด’ ในเล่มนี้ไม่ค่อย convincing เท่าไหร่ .
.
.
. … [เนื้อหาในหนังสือ]…. แบ่งออกเป็น ‘หลักคิด 40 ข้อ’ สำหรับผู้บิรหาร โดยแต่ละข้อมี quote เท่ๆ ประกอบ และคำอธิบายพร้อมตัวอย่างประมาณ 2-3 หน้า .
. ในทีนี้ขอยกมาเขียนแค่ ‘หลักคิด’ บางข้อเท่านั้นนะครับ 1) หากบริษัทไม่มีเงินสดสำรองไว้ อีก2ปี ก็ล้มละลายแม้จะทำกำไรได้เพิ่มขึ้น เป็นหลักคิดที่เน้นอธิบายความสำคัญของ ‘กระแสเงินสด’ หรือสภาพคล่องของเงิน พร้อมยกตัวอย่างของบริษัทที่โดนฟ้องล้มละลายเพราะว่าบริหารการหมุนเวียนของเงินไม่ทัน
. 2) หากเกิดข้อสงสัย ‘เรื่องชู้สาวภายในบริษัท’ ควรส่งอีเมลแจ้งทุกคนในองค์กร คือท่านประธานมองว่า เรื่องความสัมพันธ์พวกนี้จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานลดน้อยลง เช่นถ้าเป็นหัวหน้ากับลูกน้อง ก็จะเกิดการอะลุ้มอล่วยเมื่อลูกน้องทำผิดพลาด หรือคนรอบข้างจะเคลือบแคลงว่า ลูกน้องใช้เส้นหัวหน้าจึงทำผลงานได้ยอดเยี่ยม แต่บริษัทก็ไล่ออกไม่ได้ ก็เลยหาวิธีการลงโทษทางวินัย การกระทำที่เหมือน ‘ประจาน’ ในลักษณะนี้ก็คงจะเป็นการลงโทษแบบหนึ่ง
. 3) ช่วงบริษัท ขาดทุน ให้กว้านซื้อหุ้นของบริษัทตัวเอง โดยท่านประธานมองว่า สำหรับพวกบริษัทขนาดกลางหรือขนาดย่อม การที่หุ้นบริษัทอยู่ที่คนๆเดียวนั้น ทำให้การตัดสินใจเรื่องต่างๆทำได้ง่ายขึ้น และรวดเร็วขึ้น
. 4) ศักยภาพของบริษัทขึ้นกับศักยภาพของคนทำงานรุ่นเก่า ข้อนี้คือ ท่านประธานมักจะคิดว่าพวกประธานบริษัทรุ่นที่ 2-3 ซึ่งมักเป็นลูกเป็นหลานของผู้ก่อตั้งบริษัทหรือประธานรุ่นที่ 1 ชอบมีแนวทางของตัวเอง หรือคิดว่าตัวเองเก่ง แต่จริงๆแล้วคนที่ทำให้บริษัทดำเนินไปได้ คือคนทำงานรุ่นเก่า
. 5) ‘การขึ้นราคา’ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจกว่า ‘การลดราคา’ เพราะว่าเป็นการเพิ่มกำไรให้บริษัท แต่ต้องมีกลยุทธ์และ timing ที่เหมาะสม
. 6) อย่าไปดื่มกาแฟที่บริษัทคู่ค้านำมาเสิร์ฟ เพราะท่านประธานมองว่าเป็นการเสียเวลา คนทำจริงต้องเดินสำรวจทุกซอกทุกมุมของบริษัท ไม่ใช่มานั่งในห้องคุยกัน
. 7) กล่าวชมเชยพนักงานวันละเกินกว่า 1ชม. อันนี้ดีคือ เป็นการให้กำลังใจพนักงาน กระตุ้นให้พนักงานเกิดการพัฒนา และรักษาพนักงานไว้กับบริษัทนานๆ
. 8) ใช้วิธีการเป่ายิงชุบ ว่าใครจะเป็นคนจ่ายค่าอาหาร โดยมีเหตุผลว่า คนที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องคิดให้ละเอียด วิเคราะห์ให้ได้ว่า อีกฝ่ายจะออกอะไร เหมือนที่ท่านประธานคุยโวว่าสามารถเดาทางคนอื่นออกหมด และเป่ายิงชุบชนะตลอด เลยไม่ค่อยต้องจ่ายค่าอาหารเลย Quote : คนทำงานเกรด A ตัดสินว่าใครจ่ายค่าอาหารโดยการ ‘เป่ายิงฉุบ’ คนทำงานเกรด B ‘เลี้ยง’ ค่าอาหาร คนทำงานเกรด C ‘แบ่งกันจ่าย’ ค่าอาหาร
. 9) พัฒนาบุคลากรในปัจจุบันให้ดีที่สุด ไม่ใช่เอาแต่จะจ้างบุคลากรหน้าใหม่ เพราะท่านประธานเชื่อว่า ตลาดแรงงานไม่ได้มี supply มากขนาดนั้น เอาคนใหม่มาแทนก็ใช่ว่าจะแทนที่กันได้ จึงควรให้ความสำคัญกับคนที่มีอยู่
. 10) เพื่อโบนัสให้กับคนที่เข้าร่วม กิจกรรมท่องเที่ยวของบริษัท คือพูดง่ายๆว่า ใครไม่มาทริปกับบริษัท ก็อดโบนัสไป เพราะท่านประธานเชื่อว่า การท่อวเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ข่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน และทำให้ productivity ในการทำงานของพนังานเพิ่มมากขึ้น .
. …. โดยสรุปแล้วสำหรับผม ท่านประธานโนโบรุ มีแนวคิดที่ค่อนไปทางเผด็จการมาก ใช้หลักคิดที่ treat พนักงานอย่างกับอยู่ในค่ายทหาร คือเน้นว่าต้องปฏิบัติตามกฎ ทำงานหนัก หนัก หนัก หนัก หนัก และอย่าไปคิดอะไรนอกลู่นอกทาง ให้ยึดมั่น เชื่อฟังพวกคนเก่าๆเข้าไว้ ใครไม่ทำตามที่ท่านประธานต้องการ ก็เตรียมตัวโดนบทลงโทษ แต่บางอันก็เป็นสิ่งที่ดีและน่ายกย่องเช่น การกล่าวชมพนักงาน การให้เวลากับครอบครัว เป็นต้น .
. …. แม้โดยรวม จะไม่ได้เห็นด้วยและคล้อยตามกับหลักคิดของอ่านประธานโนโบรุสักเท่าไหร่ แต่อันนี้ค่อนข้างเป็นความเห็นส่วนตัว บางคนอ่านแล้วอาจจะเห็นด้วย เพราะว่าแต่ละหลักคิดก็มี rationale ที่อยู่เบื้องหลัง คือไม่ใช่หลักคิดแบบสุ่มๆ มั่วๆ แต่มีเหตุผล เพียงแต่ว่าพวกหนังสือ howto นี้ก็คงจะแล้วแต่ว่าใครอ่านแล้วจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วย หรือเอาไปปรับใช้ยังไง .
. . ผู้เขียน : โนบุ โคยามา ผู้แปล : พจนาถ ธนายุทธ์ สำนักพิมพ์ : Amarin How to แนวหนังสือ : บริหารธุรกิจ, พัฒนาตัวเอง .
.
สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่
. . #หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2019 #หนังสือ2562 #reviewหนังสือ #วันๆเขาทำอะไรถึงได้เป็นประธานบริษัท #โนบุโคยามา #พจนาถธนายุทธ์ #หนังสือบริหารธุรกิจ #หนังสือพัฒนาตัวเอง #AmarinHowto
Comments