รีวิวหนังสือ พูดด้วยภาพ พรีเซนต์อย่างไรให้ถูกใจคนฟัง
.
.
ขอขอบคุณหนังสือจาก BetterPitch นะครับ
.
เป็นหนังสือที่รวมคู่มือดีๆของการทำ presentation จากพญ. สุธาพร ล้ำเลิศกุล ที่อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเทคนิคการทำ presentation สวยๆไว้เยอะมากจริงๆครับ
.
ในโลกทุกวันนี้ การทำกราฟฟิกดีไซน์และการทำสไลด์ presentation ไมว่าจะเป็นในการนำเสนองานในบริษัท การทำเรซูเม่สมัครงาน หรือการทำคอนเทนต์ลงเฟสบุ๊ค ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้การนำเสนอที่ดึงดูด
.
ซึ่งเราเห็นกันได้ชัดว่า การทำดีไซน์สมัยนี้แตกต่างจากเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วมาก เมื่อก่อนสมัยผมเด็กๆ คือมี template power point แค่สองสามแบบ แล้วก็เลือก 1 ในนั้น ฟอนต์ตัวอักษรก็ไม่เยอะ สีก็ไม่คุมโทน กระจัดกระจายไปหมด
.
แต่พอมาในยุคนี้เครื่องมือต่างๆก็มีให้เข้าถึงกันอย่างมากมายแล้ว นับเป็นการเปิดโอกาสให้ใครๆก็ตามที่ต้องทำ presentation ได้เลือกรูปภาพ เลือกโทนสี และนำไอคอนเข้ามาใช้เพื่อทำให้งานนำเสนอดูเรียบง่ายแต่น่าสนใจ และดึงดูดให้คนดูเข้าไปอ่านเนื้อหาที่ต้องการสื่อสาร
.
หนังสือพูดด้วยภาพ พรีเซนต์อย่างไรให้ถูกใจคนฟัง จึงเป็นเหมือนหนังสือคู่มือดีๆที่ควรมีติดบ้านไว้ เพราะไม่ใช่แค่การรวบรวมเทคนิคดีๆในการทำสไลด์เท่านั้น แต่ผู้เขียนได้อธิบายถึงหลักวิทยาศาสตร์ของคนดู เช่น เวลาอ่าน คนเราจะมีจุด spotlight ที่มักจะมองข้อความบนตำแหน่งนี้ ก่อนที่จะลากสายตาไปยังข้อความอื่นๆบนสไลด์ ผู้นำเสนอจึงควรใส่ข้อความที่สำคัญที่สุดไว้ที่ตำแหน่งดังกล่าว
.
สิ่งสำคัญที่สุดคือ ตัวอย่างที่มีมากมายในหนังสือ เป็นภาพ before – after การนำเทคนิคที่หนังสือนำเสนอไปใช้ในสไลด์และทำให้เกิดความแตกต่างมากมาย และผมยอมรับเลยครับว่า หนังสือทำสไลด์หรือกราฟฟิกดีไซน์ออกมาได้สวย น่าดึงดูดคนดูมากๆ ทำสวยกว่าผมหลายเท่า 555
.
อ่านจบแล้วก็คิดว่าผมเองคงจะได้นำเทคนิคที่หนังสือนำเสนอ ไปลองปรับใช้กับทั้งการทำอินโฟกราฟฟิกในเพจหลังอ่าน รวมถึงการทำ presentation อื่นๆด้วยครับ เป็นคู่มือที่วางติดโต๊ะทำงานได้สบายๆ
.
ในที่นี้ผมขอยกตัวอย่างเทคนิคการนำสเนอที่หนังสือแนะนำไว้สั้นๆ 3 ข้อนะครับ
.
1) สูตรการเน้นสี 70-25-5
.
การนำเสนอสไลด์ 1 แผ่นนั้น เราควรใช้สัดส่วน 70-25-5 เป็นเหมือนสูตรลับในการทำอาหาร โดยเริ่มจาก 70 % ของสไลด์เป็นสี background ก่อน ซึ่งสี background นี้นับเป็นสีที่ไม่เด่น จึงควรใช้สีอ่อนๆแบบสีขาว หรือสีเทา
.
ส่วน 25% ต่อมาคือ สีหลัก (main colour) ของสไลด์ซึ่งจะขึ้นกับธีมในการนำเสนอ และอีก 5 % ที่เหลือคือ สีเน้น (accent colour) ซึ่งจะเป็นสีที่เราต้องการเน้นเนื้อหาสำคัญจากข้อมูลทั้งหมดในสไลด์
.
การใช้สีตามสูตรสำเร็จนี้จะช่วยให้คนดูพุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาหลักที่เราต้องการสื่อสาร ไม่สมาธิหลุดไปสนใจอย่างอื่นๆ และทำให้คนดูสามารถย่อยเนื้อหาที่เราต้องการสื่อสารได้โดยง่าย
.
ซึ่งยังมีหลักพิจารณาในการเลือกสีที่จะใช้ในทั้งสามประเภทอีก ลองไปตามอ่านกันต่อในหนังสือนะครับ
.
.
2) อินโฟกราฟฟิกที่ดี ต้องแสดง ความสำคัญ และความสัมพันธ์
.
อินโฟกราฟฟิก (infographic) เป็นการรวมกันของคำว่า information และ graphic จึงแปลความหมายได้ว่า การแปลงข้อมูลมาอยู่ในรูปแบบของภาพ
.
ดังนั้นการใช้อินโฟกราฟฟิกจะต้องคำนึงถึงความสำคัญ และความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จะนำเสนอ มิฉะนั้นแล้วอินโฟกราฟฟิกที่ใส่เข้ามาก็คงจะไม่เกิดประโยชน์อะไร
.
ก่อนทำอินโฟกราฟฟิกเราจึงควรย่อยข้อมูลออกมาให้ชัดเจนก่อนว่า ข้อมูลที่เราต้องการนำเสนอนั้น อะไรคือจุดสำคัญ และตัวข้อมูลมีความสัมพันธ์กันยังไงบ้าง
.
นอกจากนี้เรายังสามารถนำหลักการ 4W2H มาใช้เป็นกรอบความคิดในการสร้างอินโฟกราฟฟิกที่เหมาะกับสไลด์ของเรา โดยเริ่มไล่จากข้อมูลว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร และทำไปทำไม นั่นเอง รายละเอียดตรงนี้ลองไปอ่านเพิ่มเติมกันได้ในหนังสือนะครับ
.
.
3) การเลือกใช้ฟอนต์แบบ มีเชิง และไม่มีเชิง
.
จริงๆแล้วเราอาจพอจะรู้ๆกันอยู่แล้ว ว่าฟอนต์ตัวหนังสือแต่ละแบบให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน โดยหนังสือแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ฟอนต์แบบมีเชิง (Serif) และฟอนต์แบบไม่มีเชิง (San Serif) ซึ่งก็ต่างกันตรงที่ปลายตัวอักษรนั้นมีขีดหรือไม่มีขีดนั่นเอง
.
โดยตัวอักษรแบบมีเชิง (Serif) นั้น ให้ความรู้สึกหนักแน่น เรียบง่าย เหมาะที่จะเป็นหัวเรื่อง ในขณะที่ ตัวอักษรแบบไม่มีเชิง (San Serif) นั้น ให้ความรู้สึกสง่างามและเป็นทางการ ดูสะอาดตา
.
ตัวอย่างฟอนต์ที่ใช้กันประจำก็เช่น Calibri และ Verdana สำหรับตัวอักษรที่ไม่มีเชิง (San Serif) ในขณะที่ฟอนต์สำหรับตัวอักษรมีเชิง (Serif) ก็เช่น Times New Roman และ Century
.
.
.
จริงๆแล้วยังมีเทคนิคดีๆอื่นๆอีกมายครับ ทั้งเรื่องการทำแผนภูมิ การทำกราฟเส้น กราฟแท่ง และการนำเสนอข้อมูลอื่นๆอีกมากมาย
.
นอกจากนี้แล้วหนังสือยังได้รวบรวม เว็บไอคอนที่เข้าไปดาวน์โหลดได้ฟรีสำหรับการทำกราฟฟิกดีไซน์ด้วย ไม่ว่าจะเป็น flaticon.com, the nounproject.com และยังรวบรวมเว็บตัวช่วยสำหรับทำอินโฟกราฟฟิก และ presentation template ไว้มากมายอีกด้วย
.
สุดท้ายนี้ผมขอปิดท้ายด้วยข้อความจากหนังสือที่อธิบายถึงความสำคัญของการทำสไลด์ และการทำกราฟฟิคดีไซน์สำหรับการเสนอได้อย่างดี คือ ‘ถ้าเราสอนนักเรียนและมาถามนักเรียน 3 วันให้หลัง นักเรียนจะจำเนื้อหาได้เพียง 10% ถ้ามีแต่ตัวหนังสือ แต่ถ้าใส่ภาพเข้าไป นักเรียนจะจำได้มากถึง 65%’ นี่เป็นเหตุผลง่ายๆที่ทำให้เราต้องหันมาสนใจการออกแบบสไลด์ในการนำเสนอครับ
.
.
………………………………………………………………………….
✍🏻ผู้เขียน: พญ. สุธาพร ล้ำเลิศกุล
🏠สำนักพิมพ์: BetterPitch
📚แนวหนังสือ: คู่มือ, พัฒนาตัวเอง
…………………………………………………………………………..
.
.
สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #reviewหนังสือ #พูดด้วยภาพพรีเซนต์อย่างไรให้ถูกใจคนฟัง #สุธาพรล้ำเลิศกุล #สำนักพิมพ์BetterPitch #BetterPitch #หนังสือคู่มือ #พัฒนาตัวเอง .
.
Comments