รีวิวหนังสือ ความสำเร็จดีใจได้แค่วันเดียว
- หลังอ่าน: รีวิวหนังสือ
- May 7, 2020
- 1 min read
Updated: Jul 8, 2020

รีวิวหนังสือ ความสำเร็จดีใจได้แค่วันเดียว
.
.
‘ความสำเร็จดีใจได้แค่วันเดียว พรุ่งนี้ตื่นเช้ามาทำงานกันต่อ’
.
หนังสือที่เขียนโดย เจ้าสัว CP ธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งเป็นการรวมเรื่องราวและแง่คิดดีๆในการต่อสู้ทางธุรกิจ จนกระทั่งมาเป็นอาณาจักร CP ในทุกวันี้
.
ส่วนตัวผมเคยฟังคุณธนินท์ห้สัมภาษณ์มาหลายครั้งแล้ว ต้องยอมรับว่า ได้ไอเดียดีๆกลับไปทุกครั้ง คุณธนินท์ผ่านประสบการณ์การทำธุรกิจมาอย่างโชกโชน และเคล็ดลับแห่งความสำเร็จมากมายถูกกรั่นกรองลงมาเป็นเนื้อหาสำเร็จรูปในหนังสือเล่มนี้
.
ก็ไม่เคยคิดมาก่อนว่าตัวคุณธนินท์จะลงมาเขียนหนังสือด้วยตัวเองแบบนี้ แต่เรื่องราวหลายๆเรื่องก็เป็นเรื่องราวที่ในมุมคนทั่วๆไป ที่ใช้บริการสินค้า CP ไม่เคยรู้มาก่อน ยิ่งเป็นคนรุ่น Millennials อย่างผมแล้ว ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งหรือ Subprime นี่ผมแทบจะจำอะไรไม่ได้เลยด้วยซ้ำ เพราะตอนนั้นยังเด็กอยู่
.
แต่ช่วงวิกฤตเหล่านั้นนี่เองที่ คุณธนินท์ได้พาให้ บริษัท CP ผ่านพ้นคืนวันอันโหดร้ายมาด้วยยุทธวิธีตัดแขนตัดขา ขายโลตัสออกไป เพื่อรักษากำไรเอาไว้ (แม้จะเพิ่งซื้อมาในตอนหลังก็ตาม) ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมเขาถึงโชคโชนด้วยกลยุทธ์และมีข้อคิดดีๆมอบให้คนทำธุรกิจทุกคนมากมายแบบนี้
.

สรุปข้อคิดดีๆที่ได้จากหนังสือ 6 ข้อนะครับ
.

1) ความสำเร็จดีใจได้แค่วันเดียวเท่านั้น เพราะโลกในทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงเร็วมาก เราไม่ได้อยู่ในยุคที่ปลาเล็กกินปลาใหญ่ แต่ยังอยู่ในยุคที่ปลาเร็วกินปลาช้า เพราะฉะนั้นเวลาในการฉลองความสำเร็จมีแค่วันเดียวก็พอ พรุ่งนี้เช้าตื่นขึ้นมาก็ถึงเวลาที่จะลุยงานกันต่อ
.
คุณธนินท์เขียนย้ำแนวคิดข้อนี้หลายครั้งมาก ไม่ว่าจะเป็นตอนที่สามารถหาวิธีในการทำฟาร์มหมูได้ประสบความสำเร็จ หลังจากลองผิดลองถูกและผิดพลาดมาหลายครั้ง หรือตอนที่เข้ามาทำ ทรู คอเปอเรชั่น ในกิจการโทรคมนาคม ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับสินค้าเกษตรที่คุณธนินท์เคยบริหารมาก่อน
.
จงอย่าเหลิงดีใจไป เพราะคนที่สำเร็จวันนี้ ไม่ได้การันตีว่าจะสำเร็จในวันหน้า
.

2) การเอาคนเก่งมาช่วยงาน ต้องมีการให้ทั้ง ‘อำนาจ’, ‘เกียรติ’ และ ‘เงินทอง’
.
เรื่องนี้คงขัดกับความรู้สึกของคนหลายคน เพราะว่า เงินดูเหมือนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
.
แต่คุณธนินท์เน้นย้ำว่า การมอบหมายให้คนเก่งมารับหน้าที่บริหารตำแหน่งสูงๆ เขาย่อมคาดหวังเรื่องอำนาจก่อนเงิน เพราะฉะนั้น เวลาจะเอาใครมาดูแลการบริหาเรื่องอะไร ต้องให้อำนาจการตัดสินใจ อำนาจในการจัดการ อำนาจการควบคุมดูแลกับคนๆนั้นด้วย จากนั้นก็ให้เกียรติและเงินตามไปทีหลัง
.

3) การลงมือทำจริง พิสูจน์จริง ไม่ได้เชื่อคำแนะนำของคนที่มองจากภายนอกเพียงอย่างเดียว
.
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนมากตอนที่ คุณธนินท์จะริเริ่มทำ 7-Eleven ในเมืองไทย โดยจะซื้อโมเดลธุรกิจมาจากบริษัทในสหรัฐอเมริกา ทางเจ้าของ 7-Eleven ในอเมริกาคัดค้านความคิดนี้อย่างรุนแรง แต่คุณธนินท์เชื่อมั่นว่า 7-Eleven จะสำเร็จใรเมืองไทยได้ เพราะว่าได้ลองไปนั่งนับดูคนที่เดินผ่านไปผ่านมาในย่านทำเลที่จะก่อตั้งร้านสะดวกซื้อดังกล่าว การออกไปนั่นนับจำนวนคนเดินผ่านไปมาเองกับมือ ทำให้คุณธนินท์พบว่ามีคนเดินผ่านไปผ่านมาจำนวนมากพอที่จะทำให้ธุรกิจนี้เกิดกำไรขึ้นได้
.
และเขายังพบว่าแม้รายได้ต่อหัวของประชากรไทยจะไม่สูงเท่าในอเมริกา ทำให้กำไรต่อชิ้นของสินค้าที่ขายในไทยจะต่ำกว่าในอเมริกา แต่ความหนาแน่นของประชากรนั้นสูงกว่ามาก ถ้าใช้จำนวนเข้าสู้ ยังไงโมเดลธุรกิจ 7-Eleven ในเมืองไทยก็น่าจะประสบความสำเร็จได้
.
เขาเชื่อเช่นนั้นและลงมือทำ และมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ เหมือนที่เราเห็นๆกันในทุกวันนี้
.

4) ความสามัคคีปรองดองในหมู่พี่น้องเป็นเรื่องสำคัญมาก
.
ตระกูลเจียรวนนท์ อาจเริ่มด้วยธุรกิจลักษณะกงสี เนื่องจากพี่น้องทั้ง 4 คนต้องแบ่งหน้าที่กันบริหาร แต่สุดท้ายก็สามารถหาข้อตกลงแบ่งหน้าที่กันไปอย่างลงตัว และคุณธนินท์เองได้รับเกียรติให้ทำหน้าที่เป็นกรรมการบริหาร ในขณะที่พี่ชายอีก 3 คนกลายไปเป็นประธานกิตติมศักดิ์แทน
.
เรื่องที่ผมชื่นชอบมากคือ แนวคิดที่คุณธนินท์กล่าวไว้ว่า ‘ผมไม่เคยคิดว่าทำมาก ต้องได้มากกว่า ถ้าได้มา 100 ต้องแบ่งให้ผม 70 เพราะผมทำมากกว่า..... แต่ผมคิดว่า ถ้าผมได้ 400 แล้วแบ่งกันคนละ 100 ผมก็ได้มากกว่า 70 แล้ว’
.
เป็นแนวคิดที่ใจกว้างและเสียสละมาก อีกตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ตอนที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง และ CP ต้องตัดสินใจขายกิจการบางส่วนออกไป คุณธนินท์ก็เลือกที่จะขายกิจการที่ตัวเองสร้างขึ้นมาใหม่ และเลือกที่จะเก็บรักษากิจการที่พี่ๆดูแลรักษามาจากรุ่นสมัยก่อนไว้ เรื่องนี้พี่ชายคนที่ 3 ถึงขนาดเคยเข้ามาขอบคุณด้ยซ้ำ
.

5) การยอมเป็นฝ่ายเสียเปรียบบ้าง ไม่ได้แปลว่าจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เสมอไป
.
เป็นหลักอีกข้อในการทำธุรกิจที่คุณธนินท์ยึดมาตลอด และยังเน้นย้ำว่าคนที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำจะต้องมีคุณลักษณะนี้ ไม่ใช่จะต้องเป็นฝ่ายชนะทุกครั้ง แต่เราจะเป็นฝ่ายถูกเอาเปรียบบ้างก็ได้ เพื่อการรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาวไว้
.
พวกที่มาเอาเปรียบเราส่วนใหญ่ก็ทำได้แค่ครั้งเดียว ส่วนในขณะที่คนที่ยอมเสียเปรียบสุดท้ายแล้วเราอาจสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนที่เราทำธุรกิจด้วย และสิ่งนั้นจะนำไปสู่ความยั่งยืนให้กับความสัมพันธ์ทางธุรกิจในระยะยาว
.

6) แนวคิดการส่งลูกไปทำธุรกิจใหม่ ให้แสดงความสามารถ ก่อนที่กลับมาบริหารธุรกิจหลักของ CP ได้
.
แนวคิดเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก เพราะคุณธนินท์ย้ำว่า CP ไม่ใช่ธุรกิจแบบกงสีอีกต่อไปแล้ว มีคนนอกมากมายเข้ามาช่วยบริการองค์กร การที่อยู่ๆลูกแท้ๆของเขาจะก้าวขึ้นมาเป็นประธานบริหารบริษัทต่อจากเขาจึงดูไม่ค่อยสมเหตุสมผล และอาจทำให้เกิดความขัดแย้งในองค์กรได้
.
คุณธนินท์จึงส่งลูกๆทั้ง 5 คน ให้ไปลองบริหารธุรกิจใหม่ และถ้าทำได้ประสบความสำเร็จถึงจะกลับเข้ามาบริหารธุรกิจหลักได้
.
กลยุทธ์นอกจากจะป้องกันปัญหาความขัดแย้งกับผู้ใหญ่คนอื่นๆในองค์กรแล้ว ยังทำให้ CP เองได้มีธุรกิจใหม่ที่ประสบความสำเร็จไว้ในครอบครอง ลูกๆของคุณธนินท์เองก็ได้รับการยอมรับ พร้อมกับมีทักษะความชำนาญที่มากขึ้นด้วย
.
เรียกว่าเป็นกลยุทธ์ที่ win-win-win ทุกฝ่าย
.
.
.
โดยรวมแล้วผมบอกได้คำเดียวว่าชอบมากๆ ชอบตั้งแต่ที่คุณธนินท์เช่าประวัติของตัวเองตั้งๆแต่เด็กๆ ที่ถูกพ่อส่งไปเรียนที่จีน ตัดสินใจกลับมาช่วยพ่อบริหารกิจการร้านเล็กๆ และเริ่มขยายกิจการทำธุรกิจอื่นๆ จนแต่ละธุรกิจเติบใหญ่ และต้องฝ่าฟันกับวิกฤตสำคัญๆอีกหลายครั้ง
.
ถ้าใครสนใจประวัติของคุณธนินท์ เจ้าสัว CP นี่พลาดไม่ได้แน่นอนครับ ส่วนคนทั่วไปที่สนใจศึกษาแนวคิดดีๆจากผู้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในเมืองไทยก็ไม่น่าพลาดครับ
.
หนังสืออ่านง่ายมาก แบ่งเป็นบทๆสั้นๆ กระชับ มีการนำเสนอเป็นเรื่องราวและฝากแง่คิดที่น่าสนใจไว้ ไม่แปลกใจเลยที่เมื่อหนังสืออกมาใหม่ๆจะเป็นกระแสกันมาก
.
.
.
.
………………………………………………………………………….
✍🏻ผู้เขียน: ธนินท์ เจียรวนนท์
🏠สำนักพิมพ์: สำนักพิมพ์มติชน
📚แนวหนังสือ : ธุรกิจ
…………………………………………………………………………..
.
.
📚ใครสนใจซื้อหนังสือ
.
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #reviewหนังสือ #ความสำเร็จดีใจได้แค่วันเดียว #ธนินท์เจียรวนนท์ #สำนักพิมพ์มติชน #หนังสือธุรกิจ
Comments