top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้



รีวิวหนังสือ ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้

.

.

ขอขอบคุณหนังสือจากสำนักพิมพ์ Shortcut อีกครั้งหนึ่งนะครับ

.

ชื่อหนังสือน่าจะถูกใจเหล่าบรรดาหนอนหนังสือหลายๆคน รวมถึงตัวผมด้วย เห็นครั้งแรกแทบจะหยิบมาเปิดทันที

.

หนังสือเขียนโดยทาคาชิ ไซโต ศาสตราจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ ประจำมหาวิทยาลัยเมจิ ในประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่าน่าจะมีทั้งความชอบและความถนัดในการอ่านหนังสืออย่างเต็มเปี่ยม

.

หนังสือเล่มนี้เล่าเหตุผลว่าทำไมเราทุกคนควรอ่านหนังสือกัน รวมไปถึงเทคนิคดีในการอ่านหนังสือจำพวกที่อ่านยาก พวกที่หนา หนังสือที่ต้องตีความหมายหลายชั้น มีความหมายที่ซ่อนอยู่โดยลึกซึ้ง

.

ซึ่งหนังสือส่วนใหญ่ที่ผู้เขียนใช้ยกตัวอย่างจะเป็นหนังสือแนววรรณกรรม และประมาณครึ่งหนึ่งเป็นวรรณกรรมของญี่ปุ่น ไม่ใช่เพียงแค่ยกตัวอย่าง แต่ผู้เขียนยังจัดแจงลิสต์รายชื่อหนังสือน่าอ่านในแต่ละหมวดหมู่ออกมาได้อย่างมากมาย โดยรวมน่าจะมีหนังสือแนะนำหลายสิบเล่ม หรืออาจถึงร้อยก็เป็นได้

.

แต่อย่างที่ผมกล่าวไปว่า หนังสือส่วนมากเป็นแนววรรณกรรม บวกกับทั้งเป็นวรรณกรรมจากญี่ปุ่น ส่วนตัวผมซึ่งชอบอาจแนว non-fiction และ howto ก็อาจไม่ค่อยอินและไม่ได้มีประสบการณ์กับการอ่านวรรณกรรมมามากนัก

.

แต่หนังสือดังๆที่เป็นแนว non-fiction หรือ howto ก็ยังมีการอ้างถึงอยู่บ้าง เช่น Homosapiens และ Thinking fast and slow ซึ่งแผนเพจนักอ่านทุกคนน่าจะพอรู้จักกันอยู่แล้ว

.

โดยรวมแล้วแม้ผมอาจเข้าไม่ถึงตัวอย่างหนังสือวรรณกรรมหลายๆเล่มที่ผู้เขียนอ้างถึง แต่หลายๆข้อคิดที่ได้จากหนังสือสามารถนำมาประยุกต์ใช้ต่อได้จริงๆครับ

.

ถ้ายิ่งสำหรับคนชอบวรรณกรรมอยู่แล้ว จะยิ่งเข้าใจเหตุผลว่าทำไมเราควรอ่านหนังสือ (โดยเฉพาะวรรณกรรม) ที่ผู้เขียนเล่า รวมถึงเทคนิคที่ทำให้เราอ่านได้ล้ำลึก และมีวิสัยทัศน์มากขึ้นด้วยครับ

.

หนังสือเล่มไม่ใหญ่ อ่านไม่นานเพลินๆก็จบแล้วครับ ถ้าไม่รู้จักหนังสือที่ผู้เขียนกล่าวถึงก็เปิดข้ามๆ เน้นดูหลักการเป็นหลักก็ยังได้

.

.



และอีกเช่นเคยครับ ผมขอเลือก 5 ข้อที่ผมชอบหลังอ่านหนังสือ ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้มาฝากครับ

.

.



1) การอ่านหนังสือ ช่วยสร้างความละเอียดลึกซึ้ง

.

.

ผู้เขียนเล่าว่า เรามักจะจมอยู่กับการท่องโลกโซเชียลมีเดีย ซึ่งเป็นทะเลของข้อมูลที่มีความหลากหลายน่าสนใจ แต่กลับตื้นเขิน และทำให้เราขาดโอกาสในการด่ำดิ่งสู่ความลึกซึ้งของข้อมูล .

ในทางกลับกัน ถ้าก่อนนอนเราโฟกัสกับการอ่านหนังสือดีๆสัก 1 เล่ม เราอาจสามารถดำดิ่งสู่ความลึกซึ้งของข้อมูล และปล่าอยให้ตัวเองถูกข้อมูลเหล่านั้นพาไปสู่ความรู้สึกอันแสนวิเศษที่แฝงไปด้วยความประทับใจ และทำให้เราได้ลิ้มรสความละเอียดละออ

.

ในมุมนี้ผมขอเพิ่มเติมว่า การโฟกัสกับเนื้อหาในหนังสือจะช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้น ไม่วอกแวกไปตามข้อมูลต่างๆที่มากเกินไปในโลกโซเชียลมีเดีย เราจะได้ลองหาประสบการณ์ความรู้สึกที่เหมือนจมดิ่งไปสู่โลกที่หนังสือกำลังแสดง เหมือนเรากลายเป็นส่วนหนึ่งในนั้น ความรู้สึกต่างๆจะทำให้เราหลุดออกจากโลกความเป็นจริง

.

ผมเห็นด้วยมากๆว่าในบางครั้ง การมีสมาธิและการหลุดออกจากโลกความเป็นจริงอันวุ่นวาย ก็เป็นประโยชน์ของการดำดิ่งที่ผู้เขียนกล่าวถึงครับ

.

.



2) การอ่านช่วยสร้างจินตนาการ

.

ผู้เขียนยกตัวอย่างถึงการอ่านนิทาน ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น มีความเหนือความจริง แต่กลับมีความสนุก และให้ความรู้สึกที่แปลกใหม่กับผู้อ่านอย่างมาก

.

และที่สำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้น การให้ผู้อ่านได้ลองจินตนาการไปตามตัวหนังสือที่ผ่านตาผู้อ่าน ทำให้สมองของผู้อ่านสร้างภาพตามตัวหนังสือที่เห็น

.

เรื่องนี้แตกต่างจากการดูหนังอย่างชัดเจน เพราะว่าการดูหนังนั้น เราเพียงแค่รับรู้เรื่องราวทั้งหมด และบันทึกเรื่องราวพวกนั้นไว้ แต่การอ่านหนังสือเราไม่มีภาพเคลื่อนไหวให้เห็น แต่เรากลับได้สร้างจินตนาการจากการผสมสิ่งที่เรารู้และสิ่งที่เราอยากให้เป็นเข้าไปกับตัวหนังสือที่เห็นอีกด้วย

.

.



3) ลองมองสิ่งต่างๆจากมุมผู้เขียน

.

ผมคิดว่าหลายๆคนน่าจะเป็นเหมือนผมคือ พออ่านเจอเรื่องอะไรก็ตาม เราก็มักจะโยงเรื่องที่อ่านเข้ากับประสบการณ์ของตัวเอง เรามักคิดว่าอ่อออ เรื่องพวกนี้เราก็เคยพบเจอมาเหมือนกันในการทำงาน และการใช้ชีวิตแต่ละวันของเรา

.

แต่ผู้เขียนมีเคล็ดลับว่า รอบหน้าลองให้เราเปลี่ยนใหม่เป็นคิดในมุมของผู้เขียนแทน ลองคิดดูว่าจากมุมผู้เขียน เขาต้องการสื่อสารอะไรออกมา ทำไมเขาถึงเขียนเรื่องนี้ออกมา

.

ยิ่งเป็นการอ่านวรรณกรรมหรือนิทานแล้วนั้น การตีความจากมุมผู้เขียนว่าเรื่องที่เขาเล่าหมายถึงอะไร ยิ่งทำให้เรามีความสนุกกับการอ่านมากขึ้น

.

ทั้งยังช่วยให้เราฝึกทำความเข้าใจมุมมองของคนอื่นๆมากขึ้นอีกต่างหาก

.

.



4) ความรู้เพิ่มได้เหมือนการแบ่งเซลล์

.

เรื่องนี้ผมเห็นด้วยอย่างมากว่า ถ้าเราอ่านหนังสือเยอะๆ เราจะมี node ความรู้ต่างๆสะสมไว้ในหัวเยอะ ทำให้เวลาเราอ่านหนังสือเล่มใหม่ ได้รับข้อมูลใหม่ๆเข้าไป ข้อมูลที่รับเข้าไปใหม่ก็จะไปเชื่อมต่อกับ node เดิมที่เรามีอยู่ แล้วสร้างเป็นโครงข่ายเส้นใยที่ขยายใหญ่ขึ้น

.

พลังของการเชื่อมโยงความรู้จะยิ่งเห็นผลมากเมื่อเรามี node ความรู้มากๆเหมือนการแบ่งตัวของอมีบา ที่เพิ่มจาก 2 ไป 4, 4 ไป 16, 16 ไป 256 เป็นต้น

.

กานอ่านหนังสือเพียง 20-30 เล่มจึงอาจไม่ได้ส่งผลต่อการสร้างความรู้ใหม่มาก แต่ถ้าเราอ่านสัก 1000 เล่ม อัตรการเรียนรู้จะเร็วขึ้นมาก และเราจะสามารถต่อยอดองค์ความรู้ของเราได้อย่างมหาศาล

.

.



5) อยากจะรู้แบบ ‘เกรด A’ ต้องอ่านหนังสือแนวเดียวกันให้ได้ 5 เล่ม

.

.

การอ่านหนังสือแนวเดียวกันให้ได้ 5 เล่มจะทำให้เรากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ เหมือนกับที่ผู้เขียนซึ่งเป็นอาจารย์จำเป็นต้องอ่านหนังสือแนวเดิมมากกว่า 5 เล่มเพื่อจะได้มีความเชี่ยวชาญ และส่งต่อองค์ความรู้ได้อย่างถูกต้อง

.

การอ่านเพียง 1 ถึง 2 เล่มอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ และยังมี่ความสับสนอยู่ ผู้เขียนจึงแนะนำให้เราอ่านหนังสือแนวเดิมหลายๆเล่ม โดยเล่มแรกๆอาจอ่านเพลินๆ สนุกๆไปก่อน แล้วค่อยอ่านแบบลงรายละเอียดในเล่มถัดๆมา จะได้เข้าใจเนื้อหาจริงๆขององค์ความรู้ในศาสตร์ๆนั้น

.

.

………………………………………………………………………….

✍🏻ผู้เขียน: Takashi Saito (ไซโต ทาคาชิ)

✍🏻ผุ้แปล: กมลวรรณ เพ็ญอร่าม

🏠สำนักพิมพ์: Amarin Howto

📚แนวหนังสือ: พัฒนาตัวเอง

…………………………………………………………………………..

.

.

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

‪#‎หลังอ่าน ‪#‎รีวิวหนังสือ ‪#หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #‎reviewหนังสือ #ความลับที่คนอ่านหนังสือเท่านั้นจะรู้ #ไซโตทาคาช#กมลวรรณเพ็ญอร่าม #AmarinHowto #สำนักพิมพ์AmarinHowto #หนังสือพัฒนาตัวเอง

.

.




377 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page