top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ: ความลับของเศษเหรียญ ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูดเงินก้อนโต

Updated: Apr 25, 2020



รีวิวหนังสือ ความลับของเศษเหรียญ ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูดเงินก้อนโต .

. หนังสือเล่มเล็กๆที่ว่ากันด้วยเรื่องของมุมมองที่เรามีต่อ ‘เงิน’ ตัวเศษเหรียญชื่อเรื่องเป็นเหมือนตัวแทนของเงินที่คนเรามักจะมองข้ามไปเสมอๆ เพราะคิดว่าเป็นเงินที่น้อยและไม่มีค่าอะไร .

. คำอธิบายหนังสือที่ปกหลังเขียนเกี่ยวกับว่า คนเรามักจะมองข้ามความสำคัญของเศษเหรียญที่จับ ที่สัมผัสอยู่ทุกวันไป หลายคนพยายามกำจัดเศษเหรียญเหล่านี้ออกจากประเป๋าสตางค์ให้เร็วที่สุด เพราะมันทั้งหนัก ทั้งรกกระเป๋า แต่ผู้เขียนนำเสนอconcept ที่ว่าเหล่าประธานบริษัทและผู้ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก เขาปฏิบัติต่อเศษเหรียญเหล่านี้ต่างออกไป และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างนี้เองที่ทำให้พวกเขากลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดเงิน หรือที่หนังสือเรียกว่า ‘เป็นที่รักของเงิน’ .

. Junichiro Kameda ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ มีอาชีพเป็น ผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งเป็นอาชีพที่มีโอกาสได้พบปะพูดคุยกับเหล่าผู้บริหารคนใหญ่คนโตของบริษัทต่างๆในญี่ปุ่น และด้วย background ของเขาที่เคยมีหนี้สินจาการล้มละลายของธุรกิจของพ่อ ทำให้เขาสนใจเรื่องเกี่ยวกับเงินเป็นพิเศษ เพราะเขาเชื่อว่า เงินที่คนเราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวันมันมีความลับอะไรบางอย่างที่อาจจะส่งผลต่อความมั่งคั่งของคนเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ เขาก็เลยพยายามเก็บรวบรวมความลับเหล่านั้นจากผู้บริหารที่เขาไปคุย แล้วเอามาเขียนลงในหนังสือเล่มนี้ .

.

. …....[ เนื้อหาหลักในหนังสือ ] ……

. แบ่งออกเป็น 5 ตอนหลักๆ

. ตอนที่ 1: วิธีค้นหา ‘เหรียญ 1 เยน’ ของคนที่หาเงินเก่ง

. - ประเด็นสำคัญของบทนี้คือ ผู้เขียนพบว่าพฤติกรรมที่แตกต่างของผู้บริหารกับคนทั่วไปคือ เมื่อเจอเหรียญ 1 เยนตกอยู่ที่พื้นคนทั่วไปมักจะปล่อยผ่านทิ้งไป (รวมถึงตัวผมด้วย555) แต่ ‘ผู้บริหารทุกคนจะก้มลงเก็บทันที’ แบบไม่ได้คิดเลยด้วยซ้ำ พร้อมสงสัยว่ามันมีด้วยหรอ คนที่ไม่ก้มลงเก็บเนี่ย เหตุผลเบื้องหลังความคิดนี้คือ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ 1 เยนหรือ 100 เยนก็มีค่าเหมือนกัน ผู้บริหารเหล่านี้ปฏิบัติต่อเงินจำนวนพวกนี้อย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเปียบกับการปฏิบัติต่อคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

. - เหรียญ 1 เยนยังเป็นสัญญาณเตือนให้คนเรารู้ค่าของเงินด้วย เพราะว่าเหรียญ 1 เยนหลายๆเหรียญมารวมกันก็ได้เป็นเงินจำนวนมาก เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นเหมือนเครื่องเตือนใจให้คนเราใส่ใจกับเงินทุกเยนที่ตัวเองมี ไม่ได้มองข้ามมันไปนอกจากนี้ ผู้เขียนยังตั้งกฎกับตัวองว่ะนำเศษเหรียญจากกระเป๋าสตางค์มาหยอดกระปุกในทุกเช้าเพื่อเป็นการบังคับให้ตัวเองใส่ใจกับเศษเหรียญเหล่านี้อยู่เรื่อยๆ

. - อีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจคือ เรื่องของการเคลียร์กระเป๋าสตางค์ คือเคลียร์พวกของไม่จำเป็นแบบ ใบเสร็จ บัตรสะสมแต้มอะไรทั้งหลาย เพราะการจัดระเบียบกระเป๋าสตางค์จะทำให้เรารู้ว่า วันนี้จะใช้เงินเท่าไหร่ หรือวันนี้จะใช้เงินไปกับอะไรบ้าง (เรื่องนี้ก็มีความ abstract อยู่พอสมควร) .

. ตอนที่ 2: วิธีต้อนรับ ‘เหรียญ 1 เยน’ ของคนที่เงินรัก

. - มีประเด็นว่าด้วยเทคนิคการคุม ‘ทางออกของเงิน’ เช่นการลดจำนวนบัตรเครดิตลงให้เหลือแค่ใยเดียว เพราะว่าเราไม่สามารถที่จะควบคุม ‘ทางเข้าของเงิน’ ได้ หรืออาจคุมได้แต่ยากกว่า - การใช้เครื่องรางในกระเป๋าสตางค์มีสองแบบคือ เครื่องรางที่ทำให้เรารู้สึกไปในทางบวก กับเครื่องรางที่ทำให้เรารู้สึกไปในทางลบว่าตัวเองยังไมได้เหมือนที่หวังไว้ เราควรเลือกใส่เครื่องรางแค่แบบแรก - พวกเศรษฐีมักเป็นคนที่ทะนุถนอมกระเป๋าสตางค์อย่างดีที่สุด ไม่เปลี่ยนบ่อยๆ คือใช้จนกว่าจะรู้สึกว่ากระเป๋าสตางค์ได้ทำหน้าที่ครบถ้วนแล้ว วิธีการทะนุถนอมไม่ว่าจะกับสิ่งของอะไรก็ตาม มันจะทำให้เรารักของสิ่งนั้นและส่ใจของสิ่งนั้นมากขึ้น .

. ตอนที่ 3: วิธีใช้ ‘เหรียญ 1 เยน’ ของคนที่รู้ค่าของเงิน

. - บทนี้ค่อนข้าง abstract มาก เพราะพูดถึงเรื่องของ ‘การใช้เงินในแบบที่มีชีวิต’ คือทำให้เงินคิดว่าตัวเองมีประโยชน์และมีคุณค่า หรืออาจเรียกว่าเป็นการ ‘ใส่หัวใจ’ ลงไปในการใช้เงินด้วย ตัวอย่าเงเช่น การที่เราไปอุดหนุน ร้านอาหารที่เราอยากให้ร้านนี้อยูต่อไป ไม่เลิกกิจการ หรือการให้ทิปกับ taxi (ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น) การใช้เงินในลักษณะนี้จะให้ผลตอบแทนมากกว่าเนื่องกำไรขาดทุน แต่เป็นความรู้สึกอิ่มเอมใจ .

.

. ตอนที่ 4: วิธีออม ‘เหรียญ 1 เยน’ ของคนที่ไม่ขัดสนเรื่องเงิน

. - พูดถึงเทคนิคการออม ที่ควรกันเงินออมส่วนหนึ่งออกมาจากรายรับที่ได้มาก่อน หรืออาจฝึกออมจากเหรียญ 1 เยนก็เป็นวิธีที่ดี เพราะทฤษฎีว่าด้วย ‘กระแสเงินขาขึ้น’ และ ‘กระแสเงินขาลง’ ก็คือช่วงที่รายได้เยอะ รายจ่ายน้อย และช่วงที่รายได้น้อย รายจ่ายเยอะ เนื่องด้วยผู้เขียนเชื่อว่ากระแสเงินจะขึ้นหรือลงขึ้นกับปัจจัยภายในตัวเราอย่างสภาพจิตใจและการกระทำด้วย วิธีการออมเหรียญ 1 เยนก็อาจเป็นการแก้เกมว่า เรากำลังมีเงินมากขึ้น และอยู๋ในกระแสเงินขาขึ้น แม้ว่าความจริงเราจะยังมีรายจ่ายมากกว่ารายได้ และกำลังตกอยู๋ในกระแสสเงินลงก็ตาม แต่มุมมองของเราอาจเปลี่ยนไป ทำให้เรามีกำลังใจและพลังในการต่อสู้กับกระแสเงินลงที่ต้องเผชิญ (เป็น concept ที่ abstract อีกแล้ว)

. - อีก concept ที่น่าสนใจคือ คนที่หาเงินเก่งจะ ‘ไม่คิดว่าเงินเป็นของตัวเอง’ แต่จะคิดแค่ว่ากระเป๋าสตางค์ของตัวเองเป็น ‘ที่พักเงิน’ เหมือนกับให้เงินมานอนในโรงแรมและก็รอวันที่จะไหลไปสู่ที่อื่นต่อ เพราะว่าถ้าคิดว่าเงินเป็นของเรา เราจะปฏิบัติต่อเงินแบบไม่ทะนุถนอมและไม่เกรงใจ แต่ถ้าคิดว่าเงินเป็นลูกค้า เราจะต้อนรับขับสู่ด้วยน้ำใจในขณะที่เงินมาขอพักในกระเป๋าสตางค์ของเรา . บทที่ 5: วิธีหา ‘เหรียญ 1 เยน’ ของคนที่สร้างกำไรได้ - เราควรใช้คำว่า ‘หาเงิน’ ไม่ใช่ ‘โกยกำไร’ เพราะมันจะให้ความรู้สึกว่าเงินเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง ไม่ใช่มาจากการถูกลอตเตอรี่

. -เรื่องสุดท้ายที่ผมชอบในเล่มนี้คือ เรื่องที่ว่า สุดยอดความมั่งคั่งจะมาเยือนเมื่อเรามี ‘รายได้เป็นศูนย์’ เพราะว่านั่นแปลว่า คนที่เก่งที่สุดสามารถอยู่รอดได้ แม้จะไม่มีรายเลย เพราะเขามีทักษะบางอย่าง หรือ อะไรบางอย่างที่สังคมต้องการ เขาเหล่านั้นก็เลยสามารถเอาความรู้ทักษะหรือความสามารถเหล่านี้ไปแลกกับสิ่งที่เขาต้องการมาได้เลย โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางอย่างเงินนั่นเอง (ดูจะเป็นโลกในอุดมคติอยู่เหมือนกันครับ) . . ผมยอมรับว่าหนังสือแอบมีความเข้าใจยาก และมีความ abstract ในตัวพอสมควร เพราะมุมมองต่อเงินหลายๆอย่าง ที่หนังสือนำเสนอ มันดูไม่เป็นรูปธรรม หรือไม่ได้มีตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน (ความคิดเห็นส่วนตัว) แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่าเป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆที่มีต่อเงิน เรื่องที่ล้วนเกี่ยวข้องกับทุกคน แต่ใช่ว่าคนทุกคนจะใส่ใจ . . . . ผู้เขียน: Junichiro Kameda ผู้แปล: บรรเจิด ชวลิตเรืองฤทธิ์ สำนักพิมพ์ : Welearn แนวหนังสือ : จิตวิทยา, การพัฒนาตัวเอง . . . ‪#‎หลังอ่าน‬‬‬‬ ‪#‎รีวิวหนังสือ‬‬‬‬ ‪#‎reviewหนังสือ‬‬‬‬ #‎ความลับของเศษเหรียญ #ใช้เงินก้อนเล็กดึงดูดเงินก้อนโต #หนังสือจิตวิทยา #หนังสือการพัฒนาตัวเอง #Welearn #JunichiroKameda #บรรเจิดชวลิตเรืองฤทธิ์



44 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page