รีวิวหนังสือ The Visual MBA
- หลังอ่าน: รีวิวหนังสือ
- May 11, 2020
- 1 min read

รีวิวหนังสือ The Visual MBA
เข้าใจ MBA อย่างทะลุปรุโปร่งด้วยภาพ
.
.
ขอขอบคุณหนังสือดีๆอีกเล่มจาก สำนักพิมพ์ Amarin Howto นะครับ
.
เป็นหนังสือที่สอน MBA แนวใหม่ด้วย ‘ภาพสเก็ตช์’ ซึ่งทำออกมาได้เรียบง่ายและน่าอ่านมาก
.
ผู้เขียน Jason Barron เป็นนักออกแบบในอเมริกาที่เพิ่งไปจบคอร์ส MBA ในมหาลัยชั้นนำในประเทศสหรัฐอเมริกามาแบบหมาดๆ แล้วรู้สึกว่าคอร์ส MBA มันช่างยาวนานและใช้พลังงานมหาศาล เขาจึงตัดสินใจดีไซน์การนำเสนอเนื้อหาในคอร์สเรียนแบบใหม่ที่เข้าใจง่ายขึ้น สำหรับคนที่สนใจจะไปเรียนแต่ยังไม่มีเวลาหรือยังไม่พร้อม หรือแม้แต่คนที่เรียนแล้วแต่ลืมไปหมดแล้วว่าเนื้อหาสำคัญๆมีอะไรบ้าง
.
การนำเสนอดังกล่าว ก็คือการใช้ภาพสเก็ตช์ หรือ ภาพวาดที่เขาทำเองกับมือระหว่างเรียนวิชาต่างๆ แล้วใช้การโยงภาพวาดเหล่านี้เพื่อให้เกิดเป็นความเชื่อมโยงของเนื้อหา และทำให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมว่าเนื้อหาแต่ละส่วนเชื่อมโยงกันยังไง
.
จริงๆแล้วความจริงอันน่าทึ่งคือสมองของมนุษย์จดจำรูปภาพได้ดีกว่าตัวหนังสือ ดังที่กล่าวไว้ในปกหลังว่า สมองคนเราประมวลผลภาพได้เร็วกกว่าข้อความถึง 60,000 เท่า การเรียนรู้ผ่านภาพจึงทำให้เราจำเนื้อหาได้ง่าย และอาจทำให้เราเห็นภาพความเชื่อมโยงของเนื้อหาแต่ละส่วนได้ง่ายขึ้น
.
เนื้อหาในหนังสือเป็นการย่อยเนื้อหา MBA – Master of Business Administration หลักสูตรวิชาบริหารธุรกิจระดับปริญญาโท ออกมาเป็นสรุปใจความสำคัญแบบสั้นๆ ย่อยง่าย จริงๆแล้วหลักสูตร MBA เป็นหลักสูตรป.โทที่มีคนสนใจศึกษาต่อมากที่สุดหลักสูตรหนึ่ง เพราะไม่ได้เน้นสอนที่ทฤษฎี แต่เป็นการเรียนพื้นฐานการบริหารธุรกิจ ซึ่งเอาจริงๆแล้วคนส่วนมากก็มักจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งอยู่แล้ว การเพิ่มความเข้าใจเรื่องการบริหารธุรกิจพื้นฐานเข้าไปจึงน่าจะเป็นประโยชน์
.
สรุปเนื้อหานั้น ผู้เขียนแบ่งออกเป็นบทๆ แบบสั้นๆ เพื่ออธิบายถึงส่วนประกอบสำคัญๆในการดำเนินธุรกิจ เริ่มตั้วแต่ การตลาด การเงิน การบริหารการดำเนินการ การบริหารบุคคล การบัญชี การบริหารกลยุทธ์ ภาวะความเป็นผู้นำ การเจรจาต่อรอง การสร้างนวัตกรรม การก่อตั้งธุรกิจใหม่ รวมไปถึงการบริหารการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเนื้อหามีความทันสมัยอยู่พอควร เพราะดูเหมือนเล่มนี้จะพูดถึงเรื่องการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หลักพื้นฐานในการทำ startup รวมถึง framework การบริหารการเปลี่ยนแปลงในองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งจัดว่าเข้ากับยุคสมัยมากๆ
.
.

.
.
เครื่องมือต่างๆที่หลายๆคนอาจรู้จัก เคยใช้หรือใช้อยู่ในการทำงานปัจจุบัน ก็มากันเกือบครบนะครับ ไม่ว่าจะเป็น การประเมินธุรกิจของตนด้วย SWOT,
Porter’s 5 Forces,
การใช้กลยุทธ์ทางการตลาด STP,
บัญชีงบดุล งบกำไรขาดทุนเบื้องต้น,
การแยกต้นทุนคงที่ (fix cost) และ ต้นทุนแปรผัน (variable cost) อกจากกัน,
ทฤษฎีที่มาของอำนาจรูปแบบต่างๆ,
การตั้งเป้าหมายด้วย SMART,
การตามหางานที่ต้องทำ (Job to be done) ตามหลักการของ Clayton Christensen,
การตามหา ‘คุณค่าของ’ ลูกค้าแต่ละคน,
การใช้ system 1 และ system 2 ในการอธิบายการตัดสินใจด้วยอารมณ์ของผู้บริโภค,
การหาผู้ร่วมลงทุนในการสร้าง startup
และกรอบการคิดสร้างนวัตกรรมใหม่แบบหมวก 6 ใบ
.
โดยรวมหลายๆเรื่อง หลายๆเทคนิคก็เป็นเรื่องที่ผมพอจะรู้ๆอยู่แล้ว แต่อีกหลายอันก็เพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรกในหนังสือเล่มนี้ ถือเป็นการแนะนำให้รู้จักกับการบริหารธุรกิจและ MBA แบบคร่าวๆได้ครับ แต่ถ้าใครอยากรู้แบบละเอียดขึ้นๆไปคงต้องไปหาเนื้อหามาอ่านเพิ่ม เพราะแต่ละส่วนประกอบของธุรกิจก็มีเทคนิคต่างๆพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมอีกมากมายครับ
.
ว่ากันด้วยเรื่องของภาพสเก็ตช์ ส่วนตัวผมสมัยเรียนเคยมีเพื่อนคนนึงที่ใช้วิธีการสเก็ตช์โน๊ตแบบเดี่ยวกับที่ผู้เขียนทำ คือไม่ว่าจะฟัง lecture วิชาอะไร เพื่อนคนนี้จะวาดออกมาเป็นภาพเสมอ ตอนแรกผมคิดว่ามันแปลกและ unique มากๆ เพราะเพื่อนผมต้องแปลงเนื้อหาที่อาจารย์บรรยายออกมาเป็นภาพก่อน ต้องคิดก่อนว่าจะวาดออกมาเป็นภาพยังไง และต้องเชื่อมโยงภาพแต่ละภาพที่เขาวาดให้ออกมาเป็นเนื้อหาที่สอดคล้องต่อเนื่องกัน นอกจากนี้เขายังต้องจำเนื้อหาเหล่านั้นให้ได้ด้วย ผมค่อนข้างทึ่งในความสามารถของเพื่อนคนนี้ และเขาก็เรียนเก่งซะด้วยสิครับ555
.
โดยรวมแล้ว หนังสือน่าอ่านมาก สีสันสวยงาม อ่านง่ายและสนุกครับ ใครสนใจ MBA หรืออยากรู้จักหลักการการบริหารธุรกิจเบื้องต้นลองมาอ่านกันได้ครับ
.
.
.
.
………………………………………………………………………….
ผู้เขียน: Jason Barron
ผู้แปล: ลลิตา ผลผลา
สำนักพิมพ์: Amarin Howto
แนวหนังสือ : บริหารธุรกิจ
…………………………………………………………………………..
.
.
สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #reviewหนังสือ #TheVisualMBA #เข้าใจMBAอย่างทะลุปรุโปร่งด้วยภาพ #JasonBarron #ลลิตาผลผลา #Amarin Howto #หนังสือบริหารธุรกิจ #บริหารธุรกิจ #MBA
Comments