top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ: Freakonomics เศรษฐพิลึก



รีวิวหนังสือ Freakonomics เศรษฐพิลึก

. . .

. …... สำหรับหนังสือ เศรษฐพิลึก นั้น ถ้ามองในมุมของการนำไปใช้แล้ว นักอ่านบางคนคงจะตอบว่า ‘เอาไปใช้ได้ยาก’ หรือ เป็นหนังสือ ‘อ่านประดับความรู้’ ไว้เฉยๆ เพราะตัวหนังสือเองก็เล่าเรื่องที่ค่อนข้างไกลตัวกับชีวิตประจำวันของพวกเราๆอย่างมาก แต่สิ่งที่ผมคิดว่า เราสามารถนำออกมาใช้ได้ คือ ‘การตั้งคำถาม’ และ ‘การตั้งข้อสังเกต’ จากสิ่งต่างๆรอบตัว .

. .... เข้าเรื่องเกี่ยวกับหนังสือก่อน ‘เศรษฐพิลึก’ ไม่ใช่หนังสือวิชาการทางเศรษฐศาสตร์ หรือการวิเคราะห์เศรษฐกิจที่มีเนื้อหาซับซ้อน เข้าใจยาก แต่เป็นการนำหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานมาอธิบายกลไกของเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม จริงๆแล้วหลักเศรษฐศาสตร์ที่ว่านี่ก็ยึดมาจาก ‘ตัวเลขทางสถิติ’ ที่เกิดจากการเก็บสะสมรวบรวมข้อมูลขนาดมหึมา Steven D. Levitt นักเศรษฐศาสตร์ผู้คิดออกนอกกรอบก็เพียงแต่ เอาข้อมูลตัวเลขพวกนี้วิเคราะห์ โดยอาศัย framework ทางเศรษฐศาสตร์ แล้วเอาข้อสรุปที่ได้ออกมาเขียนอธิบายเป็นหนังสือ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ตัวเลขทางสถิติเหล่านี้มักเป็นข้อสรุปที่สวนทางกับความเชื่อของคนส่วนใหญ่ .

. …… แต่สี่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับนักเขียนคนนี้ไม่ใช่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ หรือ การนำเสนอข้อสรุปที่สวนทางกับคนส่วนใหญ่ แต่คือ ‘การตั้งคำถาม’ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากหลังปกหนังสือเลยว่า คำถามแต่ละคำถามที่ผู้เขียนตั้ง มันช่างแปลกใหม่ จนบางคนอาจรู้สึกว่า ‘คิดได้ยังไง’ หรืออาจเอะใจว่า ‘จะหาคำตอบของคำถามเหล่านี้ไปเพื่ออะไร’ ตัวอย่างคำถามที่คนเขียนตั้งเอาไว้เพื่อศึกษาเหตุการณ์ต่างๆในสังคม เช่น

. - พ่อแม่ควรอนุญาตให้ลูกไปเล่นที่บ้านเพื่อนคนไหน ระหว่างบ้านที่มีปืนเก็บไว้กับบ้านที่มีสระว่ายน้ำ? - คุณรู้หรือไม่ว่าสมาชิกแก๊งค้ายาเสพติดที่มีรายได้มหาศาลส่วนใหญ่ยังเกาะพ่อแม่กินไปวัน ๆ? และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? - การตั้งชื่อลูกมีผลต่อความสำเร็จในอนาคตของลูกมากน้อยแค่ไหน? เป็นต้น . ตลอดเล่ม ผู้เขียนก็จะอธิบายหลักการสำคัญๆในแต่ละบท เพื่อศึกษาและวิเคราะห์คำตอบของปัญหาเหล่านี้ สำหรับ ‘แนวคิด’ ที่ผมคิดว่าสำคัญในการอธิบายความพึลึกหรือแปลกประหลาดของเหตุการณ์ มีดังต่อไปนี้ 1) แรงจูงใจเป็นแก่นกลางของการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบัน (ไม่ว่าจะเป็นแรงจูงใจทางเศรษฐกิจ สังคม หรือศีลธรรม), กระแสความเชื่อมักผิด (เพราะส่วนใหญ่มีต้นตอจากความมักง่าย), 2) ผลกระทบที่รุนแรงมักจะเกิดจากสาเหตุที่ลึกซึ้งและคาดไม่ถึง 3) บรรดาผู้เชี่ยวชาญล้วนใช้ความได้เปรียบทางด้านข้อมูลเพื่อประโยชน์ของตัวพวกเขาเอง 4) การรู้ว่าจะวัดสิ่งใดและจะวัดอย่างไร จะทำให้โลกซับซ้อนน้อยลง .

. …… ความรู้สึกของผมหลังอ่านจบนั้น พูดตรงๆว่า การอธิบายเหตุการณ์มันก็ไม่ได้ว้าวอะไรเท่าไหร่ เหมือนผมก็พอๆเดาคำตอบของ คำถามแต่ละข้อไว้ได้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เช่น เรื่องแก๊งค์ค้ายาเสพติดว่า ทำไมมันถึงยังมีคนที่ต้องอยู่กับแม่ และเกาะพ่อแม่กินไปวันๆ ผู้เขียนก็อธิบายว่า ไอแก๊งค้ายาเสพติดที่อเมริกามันก็เหมือนเป็นองค์กรๆ หนึ่ง ที่มีการแบ่ง ‘หน้าที่การงาน’, ‘ตำแหน่ง’ ที่มาพร้อมกับลำดับขั้น และ ‘compensation’ หรือค่าตอบแทนที่พนักงานคนนั้นได้รับ พนักงานในองค์กรทุกคนก็จะหวังที่จะไต่เต้าให้ขึ้นไปใน position สูงๆเทียบเท่ากับ manager หรือ CEO เพื่อที่จะได้ทำงานที่ดีๆ ไม่เหนื่อย ไม่ลำบาก และผลตอบแทนสูง แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกตำแหน่งสูงๆอย่าง manager นั้นมีอยู่ไม่กี่ตำแหน่ง และต้องอาศัยการแข่งขันกันอย่างมากในการที่จะไต่เต้าขึ้นไปให้ถึงให้ได้ จึงยังคงมีพวกคนที่อยู่ในระดับล่างๆขององค์กรเป็นจำนวนมาก และคนพวกนี้เองที่ได้เงินมาใช้ไม่พอกิน และยังต้องเกาะพ่อแม่กินไปวันๆ และนี่คือคำตอบของหนึ่งในคำถามที่ผู้เขียนตั้งไว้ ซึ่งถามว่า ‘ว๊าวมั้ย’ ผมคงตอบว่า ‘เฉยๆ’ .

. ….. สำหรับผมปัญหาอีกอย่างที่ผมยังเฉยๆกับหนังสือเล่มนี้คือ เรื่องที่เอามาเขียนมันเป็นเรื่องที่อยู่ไกลตัวเราพอสมควร เพราะเรื่องที่เขียนทั้งหมดมันเป็นเรื่องเชิงสังคมที่ base on ชีวิตของคนอเมริกา (ซึ่งคนที่นั่นคงมีชีวิตในหลายๆมุมที่แตกต่างจากคนไทย) ทำให้เรื่องหลายๆเรื่องกลายเป็นเรื่องที่ ‘เข้าใจยาก’ และ ‘ไม่น่าสนใจ’ แต่ทั้งนีทั้งนั้น หนังสือเล่มนี้ก็ยังจัดว่าเป็นหนังสือฆ่าเวลาที่ดีครับ ใครเห็นต่างในที่นี้ก็ไม่เป็นไร และผมคงต้องขออภัยด้วยครับ . ผู้เขียน : Steven D. Levitt ผู้แปล: พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ สำนักพิมพ์ : Welearn แนวหนังสือ : เศรษฐศาสตร์, บริหารธุรกิจ, จิตวิทยา . . . ‪#‎หลังอ่าน‬‬‬‬ ‪#‎รีวิวหนังสือ‬‬‬‬ ‪#‎reviewหนังสือ‬‬‬‬ #หนังสือเศรษฐศาสตร์#หนังสือธุรกิจ#‎ Freakonomics# เศรษฐพิลึก#หนังสือจิตวิทยา# Welearn # StevenD.Levitt #พูนลาภอุทัยเลิศอรุณ



322 views0 comments

Commentaires


Post: Blog2_Post
bottom of page