.
.
ขอขอบคุณหนังสือจาก สำนักพิมพ์ Shortcut
.
โดยรวมเป็นหนังสือที่ชวนมองมุมต่าง ผลงานหลายอย่างที่ดูเหมือนจะล้มเหลวถ้าใช้นิยามความสำเร็จแบบดั้งเดิม ก็อาจจะไม่ได้ล้มเหลว ถ้าเราเปลี่ยนมุมมองซะใหม่
.
หนังสือเล่มนี้เล่าเรื่องการเปลี่ยนมุมมองความล้มเหลวจากนิยามความสำเร็จแบบดั้งเดิม หรือความคาดหวังที่ผู้คนมีให้กับสิ่งต่างๆแบบดั้งเดิม เป็นการคิดนอกกรอบ และหาคุณค่าใหม่ของผลงานนนั้นๆ ผ่านงานศิลปะมากมายที่ดูฉีกแนว และผิดเพี้ยนไปจากความสวยงามที่เรามักจะคุ้นเคยกันอยู่
.
ยอมรับว่า เรื่องศิลปะเป็นเรื่องที่ไม่มีถูกผิดชัดเจน ความสวยงามขึ้นอยู่กับมุมมอง ผมเองไม่ได้เห็นด้วยไปซะทั้งหมดว่าผลงานศิลปะที่หนังสือเล่มนี้รวบรวมมาสร้างความแตกต่าง และความตื่นเต้นใหม่ๆให้กับผู้ชม แต่ว่าเรื่องที่ชอบหลักๆจากหนังสือคือ การฝึกมองมุมต่าง ไม่ยึดติดกับกรอบคิดแบบเดิมๆ และการยอมรับว่า ‘ความสำเร็จ’ และ ‘ความล้มเหลว’ ในการสร้างผลงานศิลปะและในเรื่องอื่นๆอีกหลายๆเรื่องอาจขึ้นอยู่กับมุมมองที่เราหรือคนอื่นๆมีให้กับมันก็เป็นได้
.
.
.
สรุป 5 ข้อหลักที่ได้จากหนังสือ
.
1) ความล้มเหลวขึ้นกับมุมมองของเรา
.
การที่เราอาจมองว่า ภาพศิลปะทั้งหลายมันช่างห่างไกลจาก ภาพวาดชื่อดังที่สังคมให้การยอมรับ หรือความคาดหวังของตัวเราเองว่าต้องทำออกมาได้สวยนั้น ก็อาจทำให้เราคิดไปว่าผลงานที่เราตั้งใจสร้างคือ ความล้มเหลว
.
แต่ถ้าเราลองมองว่าความล้มเหลวมันสอนอะไรได้บ้าง มันทำให้เราเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมมั้ย หรือมันพาจะพาเราไปสู่อะไรอย่างอื่นได้รึเปล่า เราจึงควรฝึกมองสิ่งต่างๆด้วยความคิดบวก ไม่เอาแต่จมอยู่กับว่าผลงานพวกนั้นคือความล้มเหลว
.
.
2) ความผิดพลาดอาจนำไปสู่สิ่งใหม่ได้
.
หลายคนคงอาจเคยได้ยินเรื่องราวของ ศาสตราจารย์วิลสัน เกรทแบทช์ ที่บังเอิญค้นพบเครื่องกระตุ้นหัวใจไฟฟ้า จากการใส่ตัวต้านทานไฟฟ้าผิดอัน หรือ ความบังเอิญของเภสัชกรที่กำลังคิดค้นสูตรยาชนิดใหม่ แต่ดันไปค้นพบน้ำอัดลมโคคาโคล่าแทน
.
เรื่องพวกนี้แม้มันจะดูเป็นความบังเอิญที่อาจไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ บางครั้งเราต้องหมั่นสังเกตความบังเอิญเหล่านี้ ความบังเอิญเหล่านี้มักซ่อนตัวอยู่ภายใต้สิ่งที่ชื่อว่าความล้มเหลวนั่นเอง
.
เพราะฉะนั้นการที่ผลงานของเราที่ไม่ได้ตอบความต้องการดั้งเดิมของมันได้ จะล้มเหลวไปซะทั้งหมด มันอาจกลายเป็นความสำเร็จในเรื่องอื่นได้ ถ้าเรารู้จักการสังเกต และพลิกแพลงการใช้งานมัน
.
.
3) ความผิดพลาด อาจกลายเป็นจุดสร้างความแตกต่าง
.
.
ในเรื่องของสิลปะนั้น การที่ทุกอย่างถูกออกแบบมาแบบมีระเบียบแบบแผนเหมือนๆกัน ก็คงจะดูน่าเบื่อ และซ้ำซากจำเจมาก งานที่ผิดไปจากแบบแผนปกติจึงอาจสร้างความโดดเด่น และกลายเป็นจุดสนใจได้ และสิ่งๆนั้นอาจถูกเรียกว่าความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย
.
.
4) ความล้มเหลวอาจเป็นบ่อเกิดของจินตนาการ
.
.
ในวงการศิลปะ หลายๆครั้งที่เราเผ้าตามหาความสมบูรณ์แบบมาจนเกินไป ทำให้ผลงานที่ถูกพัฒนาออกมามีความซ้ำซากจำเจ เหมือนกันไปหมด
.
แต่ถ้าเรานำเอาภาพที่ดูมีแต่ที่ติ มีจุดผิดพลาดเต็มไปหมด มาใช้เป็นแรงบันดาลใจในการรังสรรค์ผลงานใหม่ๆออกมา ความผิดพลาดเหล่านั้นก็อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างจินตนาการสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าก็เป็นได้
.
.
5) อย่ากลัวที่จะล้มเหลว อย่ากลัวที่จะผิดพลาด
.
.
ทุกๆคนที่สำเร็จต่างเคยล้มเหลวนับครั้งไม่ถ้วน ความล้มเหลวเป็นเหมือนสิ่งที่เราต้องรู้จักก้าวผ่านมันไป ถ้าต้องการมุ่งไปสู่ความสำเร็จ แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะลองทำเพียงครั้งแรกแล้วสำเร็จเลย
.
แต่เราต้องหมั่นเรียนรู้ ต้องหมั่นสังเกตจากการล้มเหลวครั้งก่อนๆ ว่ามันให้อะไรกับเราได้บ้าง และเราจะนำมันไปใช้ในการพัฒนาผลงานของเราครั้งต่อไปยังไง เหมือนกับคำกล่าวชื่อดังของ Samuel Barclay นักเขียนบทละครชาวไอริชที่ว่า
“Ever tried. Ever failed. No matter. Try again. Fail again. Fail better.”
“ลองทำ ลองล้มเหลว ไม่เป็นไร ลองทำใหม่ ลองล้มเหลวอีกครั้ง แต่ล้มเหลวให้ดีขึ้นนะ”
.
.
เพราะฉะนั้นแล้ว ‘เราต้องไม่กลัวที่จะล้มเหลว’
.
………………………………………………………………………….
✍ผู้เขียน: อีริก เคสเซลส์
✍ผู้แปล: ศศิพันธ์ โควาวิเศษสุต
🏠สำนักพิมพ์: Shortcut
📚แนวหนังสือ : พัฒนาตัวเอง
…………………………………………………………………………..
.
.
📚สนใจสั่งซื้อหนังสือที่
.
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #reviewหนังสือ # FailedIt #เฟลอีก #อีริกเคสเซลส์ #ศศิพันธ์โคววิเศษสุต #สำนักพิมพ์Shortcut #หนังสือพัฒนาตัวเอง
.
.
Comments