top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ Brand Storydoing Wins


รีวิวหนังสือ Brand Storydoing Wins

สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องเล่า ไม่เท่าลงมือทำ

.

.

ขอขอบคุณหนังสือดีๆอีกเล่ม จากสำนักพิมพ์ Amarin Howto

.

หนังสือ pocket book เล่มเล็กของคุณ ดลชัย ประธานบริษัทเดนท์สุ วัน ที่ถ่ายทอดเคล็ดลับแบรนด์ยุคใหม่ได้อย่างน่าสนใจมาก

.

เป็นหนังสือที่ชวยเล่าว่าการสื่อสารแบรนด์นั้น ต้องไม่ใช่แค่ ‘การเล่าเรื่อง’ หรือที่เราได้ยินกันอย่างติดหูว่า storytelling อย่างเดียว แต่แบรนด์จะต้องหลอมรวมกับ ‘การกระทำ’ ทุกๆอย่างของเรา

.

ถ้าเราเป็นบริษัท แบรนด์ที่เราจะสื่อให้ลูกค้าเข้าใจก็ต้องอยู่ในทั้งสินค้า และ/หรือบริการของบริษัทเรา อยู่ในตัวพนังานทุกคน อยู่ในบทสนทนากับลูกค้า และอยู่ในทุกๆ touch point ที่ใครก็ตามได้เจอกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเรา

.

โดยรวมแล้ว เป็น pocket book เล่มเล็กๆ แนวมาร์เก็ตติ้งจ๋าๆหน่อย อ่านง่าย เนื้อหาเบา เหมือนเป็นการเน้นนำเสนอคำใหม่มากกว่า ส่วนตัวผมที่เคยเรียนวิชาการตลาดมาตั้งแต่สมัย ป. ตรี ก็พอจะคุ้นๆศัพท์บางคำอยู่บ้าง แต่อย่างคำว่า storydoing หรือ brand essence นี่จัดเป็นคำใหม่ได้เลย

.

ซึ่งผมว่า คำศัพท์ทางมาร์เก็ตติ้งพวกนี้มีประโยชน์นะ ไม่ว่าจะเป็นคนทำธุรกิจ หรือทำงานอะไรก็ตาม รู้ไว้ไม่เสียหาย และหนังสือก็เล่มเล็กมาก อ่านแค่ ชั่วโมงเดียวก็จบละครับ

.

.

6 ข้อที่ได้หลังอ่านหนังสือ brand storydoers

.

1) สร้าง Brand Essence ของตัวเอง

.

Brand essence คือ ธรรมชาติ หรือแก่นแท้ของแบรนด์ที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามเวลาและสภาพแวดล้อม

.

เป็นสิ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่าสำคัญที่สุดในการสร้างแบรนด์ เพราะมันก่อให้เกิด brand meaning หรือการตีความหมายแบรนด์ตามที่ลูกค้าเข้าใจ และ brand function หรือสินค้า/บริการที่แรนด์นั้นสร้างขึ้น

.

ตัวอย่างเข่น อิยิป์ มี brand essence คือ อารยธรรมลี้ลับ, brand meaning คือ ถูกนักท่องเที่ยว (ลูกค้า) ตีความว่าความเร้นลับ ความเป็นปริศนา และ brand function คือ พีระมิดและสฟิงค์

.

ในขระที่ไทย brand essence คือ วัฒนธรรมนุ่มนวล มิตรภาพ, brand meaning คือ ความอ่อนโยน มิตรภาพ, brand function คือ รอยยิ้ม, อาหารไทย, วัดแบบไทยๆ

.

ดังนั้นจะเห็นว่า Brand essence เป็นเหมือนแก่นหลักที่สื่อสารออกไปให้ทุกๆผลิตภัณฑ์ของเรามี theme เดียวกัน ในเชิงธุรกิจ brand essence สามารถส่งถ่ายจากบริษัทแม่ไปบริษัทลูกได้ ช่วยเพิ่มความภาพลักษณ์แบรนด์ให้สินค้าใกล้เคียงในบริษัทเดียวกันได้

.

2) การมองหาโอกาสเกิดจาก ตลาด + กลุ่มเป้าหมาย + องค์กร

.

พูดให้เข้าใจง่ายๆ คือเริ่มจากการดูก่อนว่าในตลาด คนสนใจสินค้าอะไร และเลือกเจาะเฉพาะกลุ่มลุกค้าที่มีค่านิยมและความต้องการเบื้องลึกโดยเฉพาะ จากนั้นจึงกลับมาดูว่าในองค์กรของเรามีอะไรที่พอจะนำมาสร้างเป็นสินค้าหรือบริการที่ตอบสนองต่อความต้องการนั้นได้

.

ผู้เขียนใช้หลักการนี้ในการปรับปรุงบ้านซึ่งได้รับมรดกจากรุ่นพ่อแม่มาสร้างเป็น ‘บ้านยาหอม’

.

.

3) โอกาสที่ดี ต้อง เด่น โดน ทำได้จริง และต่อยอดได้

.

การพิจารณาถึงโอกาสให้พิจารณาจาก

- ความเด่น (differentiation) ความแตกต่างจากผู้อื่นของสินค้า หรือบริการของเรา

- ความโดน (relevancy) ความเกี่ยวข้องของสินค้า/บริการเรา กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

- ทำได้จริง พิสูจน์ได้จริง (creditability) - คุณสมบัติของสินค้า หรือบริการต้องเหมือนที่เคลมไว้

- ต่อยอด ยั่งยืน (stretchability) – บ้านยาหอมของผู้เขียน ไม่ใช่แค่นวดแผนไทย แต่เป็นร้านขายขนม กาแฟ และเปิดเป็น co-working space ด้วย

.

.

4) USP ไม่ใช่ unique selling proposition แต่เป็น unique spiritual proposition

.

เพราะการใช้ unique selling proposition คือการนำความแตกต่างด้านกายภาพของสินค้ามาเป็นจุดขาย ในขณะที่ unique spiritual proposition คือการขายจิตวิญญาณของแบรนด์ ความเป็นตัวตน ลองนึกถึงกระเป๋าของ Chanel ดูเป็นตัวอย่าง แค่พูดชื่อ หลายคนก็คงนึกถึงไลฟ์สไตล์สุดจะแฟชั่น ดูแพง ดูหรูหราไปตามๆกัน

.


5) ผู้บริโภค คือคนที่เล่าเรื่องได้เก่งที่สุด

.

แบรนด์ที่ดีต้องทำให้ผู้บริโภคเล่าเรื่องของแบรนด์ได้อย่างถูกต้อง และขยายเรื่องเล่าเหล่านั้นออกไปในวงกว้าง วิธีนี้แบรนด์เองไม่ต้องเสียค่าโฆษณาใดๆเลย การสร้างและการสื่อสารแบรนด์ตั้งแต่ต้นจึงมีความสำคัญมาก

.

.


6) Be Do Say Feel

.

4 ขั้นตอนในการสร้างแบรนด์ เริ่มจากการ ‘เป็น’ แบรนด์ที่ตัวเองต้องการก่อน แล้วจึงแสดงออกลักษณะของแบรนด์ที่อยากเป็นผ่าน ‘การกระทำ’ ต่างๆ และต่อ ‘การพูดเล่าเรื่อง’ จริงของแบรนด์ให้ลูกค้าฟัง สุดท้ายนั้นลูกค้านั้นก็จะรู้สึกและรับรู้ความเป็นแบรนด์ในแบบที่เราต้องการ

.

.

สุดท้ายนี้ขอผิดด้วยประโยคที่ผมชอบจากหนังสืออันได้แก่

.

“Good companies are storytellers, great companies are storydoers.”

.

เพราะการเล่าเรื่องที่ดีที่สุดคือ ‘การลงมือทำ’ อย่างต่อเนื่องนั่นเอง

.

.

.

………………………………………………………………………….

✍🏻ผู้เขียน: ดลชัย บุณยะรัตเวช

🏠สำนักพิมพ์: Amarin Howto

📚แนวหนังสือ : การตลาด

…………………………………………………………………………..

.

.

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

‪#‎หลังอ่าน‪#‎รีวิวหนังสือ‪#หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #‎reviewหนังสือ#BrandStorydoingWins #สร้างแบรนด์ด้วยเรื่องเล่าไม่เท่าลงมือทำ#ดลชัยบุณยะรัตเวช#สำนักพิมพ์AmarinHowto#หนังสือการตลาด

.

.



207 views0 comments

Commentaires


Post: Blog2_Post
bottom of page