top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ: 9 Startups ปฏิวัติแนวคิด พลิกธุรกิจสตาร์ทอัพ

รีวิว 9 Startups ปฏิวัติแนวคิด พลิกธุรกิจสตาร์ทอัพ . …..วันนี้หยิบหนังสือเล่าอัตชีวประวัติของเหล่านักธุรกิจ startups ดาวเด่นของเมืองไทยมารีวิว หลังจากที่ช่วงนี้ผมได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับ startups ก็เลยเริ่มสงสัยถึงตัว model ธุรกิจของ เหล่า startups ที่จัดว่าเป็นกลุ่มชูโรงของประเทศไทย ว่ามีหน้าตาเป็นยังไง พร้อมกับคำถามติดหัวที่ทำให้ผมสงสัยอยู่ตลอดว่า ทำไมเมืองไทยถึงไม่มี startups ที่เป็น ‘Unicorn’ . ….จริงๆแล้วหนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้ช่วยตอบคำถามผมแบบชัดๆ เคลียร์ๆหรอกครับ แต่ก็พอทำให้ผมเห็นภาพถึงสิ่งที่เป็น ‘ecosystem’ ของ startups ในเมืองไทยมากขึ้น และทำให้ผมสนใจต่อว่า พวกนักธุรกิจ startups ในเมืองไทยเขามี mindset ยังไง ถึงเลือกที่จะเดินทางมาในเส้นทางสาย startups ณ ขนาดที่ ecosystem ของไทยเป็นแบบนี้ นักธุรกิจ 9 คนที่ถูกยกตัวอย่างมาในหนังสือถูกจัดว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง และอาจมีก้าวต่อไปที่กลายเป็น unicorn ได้ . …..แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะสองปีแล้ว จนผมเองก็ชักไม่แน่ใจว่า พวกเขาเหล่านั้นจะยังโลดแล่นเป็นดาวเด่นอยู่รึเปล่า หรือว่าจะมีคนที่กำลังจะเติบโตเพื่อไปเป็น unicorn ตัวแรกในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ แต่สิ่งที่ผมแน่ใจว่าได้การอ่านหนังสือเล่มนี้แน่ๆคือ เรื่องราวประวัตินักธุรกิจ startups ดาวเด่นเหล่านี้ที่แม้ว่า background ของแต่ละคนจะต่างกันสุดคั่ว แต่ทุกคนมี passion ในการทำสิ่งๆหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ และ ล้วนผ่านความล้มเหลว ล้มลุกคลุกคลานมาแล้วทั้งสิ้น . [เนื้อหาหน้าสนใจจากหนังสือ] ในส่วนนี้ผมคงยกประเด็นสำคัญๆมาได้นิดหน่อยนะครับ เพราะแต่ละคนก็มีเนื้อหาของตัวเองที่เข้มข้นมาก . คนที่ 1: "กระทิง" เรืองโรจน์ พูนผล – เจ้าพ่อ startups ของจริงในเมืองไทย ประวัติน่าสนใจที่สุด (ในความคิดผม) เพราะคุณกระทิงเป็นคนต่างจังหวัดที่ขยันเรียน จนได้มาเรียนวิศวะ จุฬาฯ ทำงานบริษัทข้ามชาติ P&G และไปเรียนต่อที่ Standford สุดยอดมหาลัยของโลก และไปทำงานที่ Google ใน Silicon Valley หลังเรียนจบ จากนั้นยังได้เปิด startup ใน Silicon Valley ก่อนกลับมาไทย เพื่อพัฒนา startups เมืองไทย ปัจจุบันเป็น ผู้ก่อตั้ง Disrupt University และ กองทุน 500 Tuks Tuks คืออ่านประวัติแล้วถือว่าคุณกระทิงผ่านบททดสอบมาเยอะมาก กว่าจะมาถึงจุดนี้ ที่เหลือคุณกระทิงเล่าเรื่องเกี่ยวกับคนที่เหมาะจะมาทำ startup หลักๆแล้วก็คือ ต้องมี passion นี่แหละ และสิ่งสำคัญคือความพยายามที่คุณกระทิงเชื่อว่า ขนาดตัวเขาที่ไม่มี asset อะไรเลยยังมาได้ไกลขนาดนี้ ถ้าคนที่มี asset และความพยายามคงจะไปไกลกว่าเขาอีกมาก . . คนที่ 2: ไผท ผดุงถิ่น- เจ้าของ platform Builk ที่เป็น platform ในวงการธุรกิจก่อสร้าง มีหน้าที่ทำบัญชีคำนวณรายรัยรายจ่าย ความคุ้มค่าของการลงทุน สิ่งสำคัญคือ Builk มองว่าทำยังไงผู้ใช้ถึงยังต้องการใช้ platform ของเขา เพราะว่าถ้าเป็นแค่ platform ที่จับคู่คนซื้อคนขายให้มาเจอกัน เขามาเจอกันครั้งเดียวแล้วก็คงจะไปคุยกันเอง ตัว platform ที่เป็นคนกลางจึงควรทำอะไรได้มากกว่านั้น คนนี้ก็มีการปรับธุรกิจไปมาหลายครั้ง กว่าจะเจอจุดที่ลงตัว สิ่งสำคัญคือ platform ต้องมี คุณค่าในตัวมันเหมือน Facebook, Google . . คนที่ 3: กิตตินันท์ อนุพันธ์ - เจ้าของ Claim Di ที่ช่วยให้การทำให้การทำประกันเวลารถชนกันเป็นไปได้เร็วขึ้น คนนี้ก็มีประวัติที่แตกต่าง และมีความเชื่อว่าทุกคนเป็น superhero ได้ . . คนที่ 4: ณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์- หรือคุณหมู ผู้ก่อตั้ง Ookbee platform ขายหนังสือ online เป็นอีกคนที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงมากในวงการ startups และสิ่งที่ผมชอบคือ ความคิดจต่อยอดที่เขาพยายามแตกไลน์สินค้าออกไปเรื่อยๆ เพราะโลกของวงการ startups เปลี่ยนเร็วมาก เหมือนที่เขาชอบคิดว่าตลาด e-book นั้นใหญ่มาก เขาเพียงแค่ไปจับตลาดมาได้ไม่กี่เปอร์เซ็นเท่านั้น มันยังเติบโดตขึ้นไปได้อีกเยอะมาก และตอนนี้Ookbee ก็มี function ใหม่ๆเช่นการเขียนนิยายออนไลน์เป็นต้น เขามีความเชื่อว่าความเป็นเถ้าแก่ ความเป็นเจ้าของธุรกิจเป็นสิ่งที่สร้างได้ ฝึกได้ ไม่ใช่ว่าเกิดมาแล้วเป็นได้เลย แต่ต้องมีหมั่นฝึกฝน . . คนที่ 5: จุฑาศรี คูวินิชกุล- หนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทที่อาจจะโด่งดังและประสบความสำเร็จที่สุดในบรรดาคนเหล่านี้ นั่นก็คือ Grab แต่ต้องยอมรับว่าคุณจูนผู้ก่อตั้ง Grab นี่มี background ที่ค่อนข้างเหนือคนอื่นมาก คือมี resources ที่จำเป็นในการสร้างบริษัทอยู่ครบ การศึกษา ความรู้ความสามารถ เงินทุน network ระบบการบริหาร สายสัมพันธ์กับบริษัทต่างๆแลหน่วยงานภาครัฐในแต่ละประเทศ ซึ่งสุดท้ายแล้วคุณจูนก็เริ่มก่อตั้ง Grab ร่วมกับเพื่อนชาวมาเลย์ และจดทะเบียนที่ Singapore เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยมากกว่า แต่ถือว่าโมเดลธุรกิจนี้ตอบสนองต่อ need คนไทยได้ดีมาก และก็ยังมีช่องทางในการขยับขยายอีกเยอะมาก ปัจจุบันคุณจูนเลิกบริหาร Grab แล้ว แต่ไปมองใน project อื่นที่ใหญ่กว่า ถือว่าเป็นคนที่ชอบความท้าทายและเป็นผู้หญิงที่เก่งมาก (เป็นผู้หญิงคนเดียวใน 9 คนนี้ด้วย) . . คนที่ 6: ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ - ผู้ก่อตั้ง Jitta ซึ่งเป็นธุรกิจแนววิเคราะห์การลงทุน คนนี้เป็นคนที่ชอบในด้านการเงินและการลงทุนมาตั้งแต่เด็กๆ ส่วนตัวยังไม่เคยเข้าไปใช้ แต่คิดว่าน่าจะมีข้อมูลน่าสนใจในแอพพลิเคชั่นตัวนี้มาก . . คนที่ 7: วิชานน์ มานะวาณิชเจริญ – คนนี้พัฒนา application Tamkru ที่เป็นธุรกิจแนวการศึกษา ปัจจุบันธุรกิจ startup ในด้านการศึกษาบูมขึ้นอย่างมาก แต่ Tamkru นี่ถือว่าสร้างชื่อได้ตั้งแต่ยุคบุกเบิก startup เลย . . คนที่ 8: อมฤต เจริญพันธ์ - ผู้ริเริ่มนำ ธุรกิจประเภท Coworking Space เข้ามาในเมืองไทย โดย Coworking Space ที่เขาก็ตั้งชื่อว่า HUBBA คนนี้ก็ทำธุรกิจช่วยกับพี่ชายสองคน และมองหาโอกาสธุรกิจจนเจอ การนำเข้า model ธุรกิจแบบใหม่ๆเข้ามาในประเทศก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคมันไม่เหมือนกัน แต่สุดท้ายเขาก็ทำได้สำเร็จ และเขาก็ได้ตั้ง mission ว่าไม่อยากให้ HUBBA เป็นเพียงที่เช่าเพื่อประชุมระดมหัวคิด startup หรือทำงาน freelance แต่อยากให้เป็นสถานที่ที่สร้าง ecosystem ในการทำ startups ขึ้นมาจริงๆ . . คนที่ 9: สมศักดิ์ บุญคำ- หรือคุณไผ ผู้ก่อคั้ง Local Alike แนวคิดธุรกิจ startup เพื่อสังคม คนนี้ก็เป็นคนเก่ง อดีตทำงานเป็นวิศวกรปิโตรเลียม แล้วมี passion ในการที่จะนำความรู้ความสามารถกลับไปช่วยบ้านเกิด หลังจากฝึกงานที่มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ก็เลยเกิดไอเดียในการสร้างโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม โดยเน้นไปที่การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ที่สามารถสร้างรายได้เพียงพอในการเลี้ยงตัวเองได้ โมเดลเขาค่อนข้างเฉพาะและน่าสนใจมาก เพราะแค่ทำตัวเป็น agency ไปโปรโมทชุมชน ให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นคงไม่ได้ เขาจึงพัฒนาโมเดลในส่วนที่เป็นการพัฒนาชุมขน ในลักษณะของ B2G คือขายไอเดียให้รัฐบาลเข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาชุมชน และเขาเป็นคน implement ต่อมาคือโมเดลบริษัททัวร์ ที่จัดทัวร์ชมหมู่บ้านให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และปิดท้ายด้วยโมเดล marketplace ที่เขาคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ให้ธุรกิจเขาในระยะยาว . . …เรื่องสุดท้ายที่น่าสนใจคือคำศัพท์เกี่ยวกับ startups ทั้งหลาย สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคย เช่นคำว่า Angel Investor, Crowdfunding, Chasm, Churn Rate, Ecosystem, Freemium, Incubation, Seed Fund และอื่นๆอีกมากมาย . …. สรุปแล้วเหมือนเป็นการถอดบทเรียนจากผู้ประสบความสำเร็จที่เคยล้มเหลวมาก่อนในวงการ startups ที่ตลาดหุ้นอยากทำให้ ธุรกิจ startups เป็นที่รู้จักมากขึ้น อ่านจบแล้วพอจะได้แนวคิดดีๆ และก็ทำให้เข้าใจโลกความจริงของวงการ startups มากขึ้น . . ผู้เขียน : ฐิติเมธ โภคชัย,ณฤทธิ์ วรพงษ์ดี สำนักพิมพ์ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แนวหนังสือ : บริหารธุรกิจ, พัฒนาตัวเอง . . . ‪#‎หลังอ่าน‬‬‬‬ ‪#‎รีวิวหนังสือ‬‬‬‬ ‪#หนังสือ2019 #หนังสือ2562 #‎reviewหนังสือ‬‬‬‬ #‎9Startupsปฏิวัติแนวคิดพลิกธุรกิจสตาร์ทอัพ #ฐิติเมธโภคชัย #ณฤทธิ์วรพงษ์ดี #หนังสือstartups #หนังสือบริหารธุรกิจ #หนังสือพัฒนาตัวเอง # ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ‬‬‬


38 views0 comments

Recent Posts

See All
Post: Blog2_Post
bottom of page