top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว ช่างหัวคุณสิครับ!




รีวิวหนังสือ ช่างหัวคุณสิครับ!

Ignore Everybody

.

ขอขอบคุณหนังสือจากร้านนายอินทร์นะครับ

.

จริงๆเล่มนี้แปลมานานแล้วแต่ว่าล่าสุด Welearn ได้มาทำปกและตีพิมพ์ใหม่ เอาจริงๆผมก็ว่าเคยอ่านเมื่อนานมาแล้ว แต่จำไม่ได้ซะงั้น รอบนี้ก็เลยเหมือนหยิบมาอ่านใหม่ตั้งแต่ต้นอีกรอบนึงเลย

.

Ignore Everybody เขียนโดย Hugh MacLeod ศิลปินนักวาดภาพด้านหลังนามบัตร และเป็นจุดเด่นในการเล่าเรื่องของหนังสือเล่มนี้

.

โดยรวมแล้ว หนังสือเป็นเหมือนการเล่าเทคนิคที่ทำให้การวาดการ์ตูนหลังนามบัตรของผู้เขียนประสบความสำเร็จ และสร้างชื่อเสียงให้กับตัวผู้เขียน ซึ่งหลักๆก็คือเรื่องการปลดปล่อยไอเดีย และความคิดสร้างสรรค์

.

เหมือนที่เขียนไว้บนปกหนังสือ เนื้อหาของหนังสือจะวนๆอยู่กับการเป็นตัวของตัวเอง และเลิกฟังเสียงคนอื่น อารมณ์เดียวกับช่างหัวคนอื่นซะ รังสรรค์งานศิลปะในสไตล์ของตัวเองก็พอแล้ว

.

หนังสือแบ่งเป็นบทย่อยๆ เหมือนเป็นเรื่องเล่าเล็กๆของผู้เขียน ซึ่งมาพร้อมกับข้อคิดตบท้ายว่าอะไรคือเทคนิคของตัวเขา

.

เอาตรงๆผมมองว่าหนังสือเหมือนเป็นบันทึกของผู้เขียนเกี่ยวกับงานการเขียนการ์ตูนหลังนามบัตรที่สร้างชื่อให้กับเขา แต่เรื่องราวเหล่านั้นค่อนข้างกระจัดกระจาย ไม่ค่อยเป็นระเบียบ แค่ผู้เขียนพยายามจัดให้อยู่ใน theme การปล่อยไอเดียสร้างสรรค์ออกมาเฉยๆ

.

เรื่องแต่ละเรื่องก็เป็นเรื่องเล่าสั้นๆ จบในตัว 2-3 หน้าก็จบ ไม่ได้เป็นหนังสือแนวการทดลอง วิจัย มีหลักฐานอ้างอิงอะไร เป็นการปลดปล่อยความคิดแบบรัวๆของผู้เขียนมากกว่า

.

สิ่งที่อาจจะไม่ได้ตรงใจผมเท่าไหร่คือ เนื่องจากการ์ตูนหลังนามบัตรของผู้เขียนออกมาเป็นแนวประชดเสียดสีสังคม บริบททางสังคมและวัฒนธรรมจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากในการทำความเข้าใจมุกของการ์ตูนแต่ละรูป และการ์ตูนพวกนี้ยังเป็นตัวเด่นในการเล่าเรื่องของผู้เขียน ถ้าไม่เข้าใจบริบทในการ์ตูน ก็อาจทำให้ไม่อินกับเรื่องที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อได้ หรือพูดง่ายๆคือ ผู้เขียนเขียนการ์ตูนล้อเลียนสังคมอเมริกา ผมซึ่งไม่ได้อินอะไรกับวัฒนธรรมประเทศทางนู้นเท่าไหร่ ก็รู้สึกไม่อินกับการ์ตูนและเรื่องเล่าของผผู้เขียนด้วย

.

อันนี้ผมว่าแล้วแต่คนเลยว่า อ่านแล้วชอบมุกบนการ์ตูนของผู้เขียนมากน้อยแค่ไหน

.

อีกเรื่องคือ หนังสือตีพิมพ์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 ทำให้หลายๆมุก หลายๆเรื่องเล่าที่นำมาใช้มีความเก่าระดับนึง แต่ก็ไม่ได้เก่ามากมายขนาดนั้น

.

และอีกอย่างคือหนังสืออาจคิดลบไปบ้างระดับนึง คือให้มองคนรอบๆตัวในแง่ร้ายนั่นแหละ เวลาทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เราเลยควร Ignore ควรช่างหัวคนพวกนั้นทั้งหมด

.

เอาเป็นว่าใครอยากทำงานสร้างสรรค์ งานแนวครีเอทีฟ ปล่อยไอเดียแบบล้นๆ ก็ลองอ่านข้อคิดของเล่มนี้ดูกันได้ครับ แต่ถ้าจะให้อินกับเนื้อเรื่อง ผมว่าต้องแล้วแต่คนเลย

.



ทั้งนี้ผมขอหยิบ 12 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือปลดปล่อยไอเดียงานศิลป์เล่มนี้มาฝากกันนะครับ

.

.


1) ไม่ต้องเป็นไอเดียใหญ่ ขอให้เป็นไอเดียคุณเองก็พอ

.

ขอแค่เราทุ่มเทอย่างสุดตัวให้กับงานของเรา เราก็อาจจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนได้อีกมากมาย

.

.



2) ไอเดียที่ดีมักจะมีวัยเด็กที่โดดเดี่ยวเสมอ

.

ง่ายๆคือ ตอนริเริ่มไอเดีย จะไม่ค่อยมีใครมาสนใจไอเดียเราเท่าไหร่ จนกว่าคนจะเริ่มเห็นว่าไอเดียของเรามันเวิร์คและน่าติดตาม

.

.



3) เราต้องตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง

.

ไม่มีใครมาบอกเราได้ว่าเรื่องที่เราทำอยู่ดีไม่ดี เป็นเรื่องที่มีคุณค่า มีความหมายรึเปล่า ยิ่งเรื่องที่เราทำน่าตื่นเต้นเท่าไหร่ เส้นทางของเราก็คงจะโดดเดี่ยวมากขึ้นเท่านั้น

.

.



4) ทุกคนเกิดมาเป็นนักสร้างสรรค์ตอนอนุบาล ทุกคนต่างได้รับสีเทียนไว้ขีดเขียนเล่น

.

เมื่อเราโตขึ้นเราต่างต้องเจอกับการเรียนวิชาอันน่าปวดหัวมากมาย แต่ขอเพียงแค่เราระลึกถึงช่วงเวลาวัยเด็กเหล่านั้น และคืนพื้นที่ให้กับเหล่าสีเทียนให้ได้มาละเลงสีแห่งความสร้างสรรค์บนชิ้นงานของเราอีกครั้ง

.

.



5) เราทุกคนมีภูเขาเอเวอเรสท์เป็นของตัวเอง และเราเกิดมาในโลกเพื่อปีนภูเขาลูกนั้น

.

หางานศิลปะหรือเป้าหมายที่เราอยากทำให้เจอ แล้วปีนขึ้นไปเลย!

.

.



6) อย่าเอาภายในของเราไปเปรียบเทียบกับภายนอกของคนอื่นเด็ดขาด

.

เรื่องนี้ผู้เขียนต้องการจะสื่อว่า แม้งานศิลปะของเราอาจไม่ได้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมตามที่มั่นหมายไว้ (เช่น การสร้างรายได้ การได้เลื่อนตำแหน่งงาน) แต่มันก็อาจจะก่อให้เกิดคุณค่าทางจิตใจอย่างมหาศาล

.

.



7) หลีกให้ห่างแก๊งค์ตู้กดน้ำเย็น

.

แก๊งค์ตู้กดน้ำเย็นที่ผู้เขียนหมายถึงคือพวกที่ชอบนินทาคนอื่น และคอยดูถูกไอเดียคนอื่นในที่ทำงาน ที่ชอบมารวมตัวกันอยู่ตรงตู้กดน้ำเย็น พวกนี้ขี้บ่น และเอาแต่บ่น ไม่ได้ช่วให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆขึ้นมา

.

.



8) อย่าห่วงเรื่องแรงบันดาลใจ สุดท้ายมันจะวิ่งมาหาเราเอง

.

อย่าไปฝืนเรื่องแรงบันดาลใจ ในการสร้างงานศิลปะ แรงบันดาลใจส่วนใหญ่จะวิ่งเข้ามาหาเราเอง และจะช่วยสร้างความปราถนาให้เราสร้างงานศิลป์เสมอ

.

.




9) ค้นหาแนวทางของตัวเราเอง

.

หาให้พบว่าช่วงเวลาไหนคือช่วงเวลา ที่เราจะเป็นศิลปินผู้สร้างสรรค์งานในรูปแบบของเราได้ โดยไม่ต้องไปเลียนแบบสไตล์คนอื่น

.

.




10) ไม่ว่าเราจะเลือกทางไหน ก็ล้วนแต่มีข้อเสียทั้งนั้น

.

ถ้าเราเลือกจะสร้างงานเพื่อเอาใจตลาด เราก้อาจเกิดราคาที่ต้องจ่าย เช่นอาจไม่ได้ทำงานแบบที่เราต้องการเป๊ะๆ ในขระที่ถ้าเราทำงานตามใจตัวเองทุกอย่าง ไม่ตามใจตลาดเลย เราก็มีราคาที่ต้องจ่ายเหมือนกัน คือคนก็อาจไม่ซื้องานเราเท่าไหร่

.

.




11) จงดื่มด่ำกับการไม่มีชื่อเสียงอย่างเต็มที่ เมื่อเรายังใช้ชีวิตอยู่ในช่วงเวลานั้น

.

เพราะถ้าเรามีชื่อเสียงแล้ว แน่นอนว่าชีวิตของเราอาจเปลีย่นไปในแบบที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

.

.



12) ความหมายอาจเปลี่ยนไป แต่คนเราไม่เปลี่ยนแปลง

.

ที่ผู้เขียนจะสื่อก็คือ การตีความหมายวิ่งต่าง คุณค่าของชีวิต ความตาย อาจเปลี่ยนไปเมื่อเราแก่ลง แต่สุดท้ายเราก็ยังใช้ชีวิตเดินดินในแต่ละวันไปเรื่อยๆเหมือนเดิมเหมือนสิ่งมีชีวิตอื่นๆทั่วไป

.

.

.

………………………………………………………………………….

ผู้เขียน: Hugh MacLeod

ผู้แปล: อาสยา ฐกัดกุล

สำนักพิมพ์: Welearn

แนวหนังสือ: พัฒนาตัวเอง, แรงบันดาลใจ (สร้างสรรค์ศิลปะ)

…………………………………………………………………………..

.

.

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

.

‪#‎หลังอ่าน‪#‎รีวิวหนังสือ‪#หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #‎reviewหนังสือ#ช่างหัวคุณสิครับ #IgnoreEverybody

#HughMacLeod #อาสยาฐกัดกุล #สำนักพิมพ์Welearn # Welearn #หนังสือพัฒนาตัวเอง # แรงบันดาลใจสร้างสรรค์ศิลปะ








1,798 views0 comments

Kommentarer


Post: Blog2_Post
bottom of page