The Power of Output
ศิลปะของการปล่อยของ
.
‘คนที่อ่านหนังสือได้เดือนละ 10 เล่ม แต่ไม่มีผลงานเขียนออกมาเลย กับคนที่อ่านหนังสือได้เดือนละ 2 เล่ม แต่เขียนออกมาได้ 1 เล่ม คนไหนจะพัฒนาไปได้มากกว่ากัน’
.
คำตอบก็คือคนหลังที่พัฒนาได้มากกว่า เพราะการป้อน input เพียงอย่างเดียวอาจไม่ได้ช่วยให้เราพัฒนาไปได้ไกลอย่างที่คิด หากแต่เป็นการสร้าง output ออกมามากกว่าที่ขัดเกลาการคิดและทำให้เราก้าวหน้าได้มากขึ้น
.
ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นไม่ใช่แค่การเปรียบเทียบแบบสนุกๆ แต่มีผลการวิจัยทางจิตวิทยารองรับอย่างแน่นหนา เพราะผู้เขียนหนังสือเล่มนี้คือ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการทำงานของสมองอย่าง อาจารย์ ชิออน คาบาซาวะ เจ้าของผลงานหนังสือเทคนิคจำแบบไม่ต้องจำ และเทคนิคอ่านให้ไม่ลืม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหนังสือขายดีทั้งสิ้น
.
ต้องบอกว่าตอนแรกผมยังตกใจว่าหนังสือเล่มนี้มาจากญี่ปุ่น เพราะหนังสือแปลญี่ปุ่นหลายๆเล่มจะเน้นเป็นการแชร์ประสบการณ์การทำงานของผู้เขียนมากกว่า แต่เล่มนี้ไม่ใช่ หนังสือ output คือการประสานเทคนิคการสร้าง output จากทั้งความรู้ทางจิตวิทยาศาสตร์ รวมกับประสบการณ์ที่กลั่นกรองยจากประสบการณ์ตรงของผู้เขียน และเรียบเรียงออกมาเป็นข้อๆ แบ่งเป็นหมวดหมู่ อ่านง่าย เข้าใจง่าย เอาไปใช้ได้จริง
.
แม้ตอนแรกผมจะแปลกใจในความดังของหนังสือ ที่ได้ชื่อว่าดังมากระดับหนึ่งเลย เคียงคู่กับ Atomic Habits (โดยเฉพาะในกรุ๊ปหนังสือควรอ่านก่อน 30) แต่ต้องบอกเลยว่าอ่านแล้วไม่ผิดหวัง หนังสือดีจริงๆ ในเทคนิคการสร้าง Output 80 ข้อที่หนังสือให้ได้ ทั้งแปลกใหม่ น่าสนใจ และน่าเชื่อถือ ผมให้ไปเต็มๆ 9 คะแนนเท่า Atomic Habits เลย
.
นอกจากนี้ยังมีแผนผัง และรูปการ์ตูนสามสีในหนังสือ ที่ช่วยให้จำง่าย เข้าใจง่ายอีกด้วย ถึงหนังสือจะหนาแต่อ่านไม่น่าเบื่อ เพลินๆจบ
.
ส่วนในรีวิวนี้ขอเล่าสั้นๆ เกี่ยวกับคำว่า Output และกฏพื้นฐาน 4 ข้อของ Output นะครับ ส่วนเทคนิค 80 ข้อในการสร้าง Output ผมจะเลือกข้อที่น่าสนใจและเอามาใส่ในอีกรีวิวหนึ่งนะครับ (โปรดติดตาม!)
.
Output คืออะไร? ตอบสั้นๆ มันก็คือการแสดงผลจากการประมวลผมข้อมูลที่เราป้อนเข้าไปในสมอง หรือ Input นั่นเอง
เพราฉะนั้นแล้ว Input ทำให้โลกในสมองเราเปลี่ยนไป แต่ไม่ได้เปลี่ยนโลกความจริง Output ต่างหากที่ทำให้โลกความเป็นจริงเปลี่ยนไป
.
เพราฉะนั้นบางคนจะทำการป้อน Input ต่างๆมากมายเข้าไปในสมอง แต่ไม่เคยสร้าง Output ออกมาเลย การพัฒนาตัวเองของเขาก็คงจะไม่ค่อยได้ผล เหมือนคนที่เอาแต่อ่านหนังสือ จะเดือนละ 10 เล่ม เดือนละ 20 เล่มก็ตาม แต่ถ้าไม่เคยเขียนรีวิว ไม่เคยเขียนผลงานอะไรออกมาเลย เขาก็คงจะพัฒนาตัวเองไปได้ไม่มากเท่าไหร่นัก
.
เรื่องนี้ยังอธิบายได้ด้วยหลักการทางวิทยาศาตร์ว่าด้วยเรื่องของการขยับกล้ามเนื้อ เมื่อเราทำ Output ออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางการพูด เขียน หรือลงมือปฏบิตอะไรก็ตาม กล้ามเนื้อเราจะจดจำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น และช่วยให้เราพัฒนาตัวเองได้เร็วขึ้นมาก ต่างจากการที่เราเพียงแค่ท่องจำ จำ จำ อย่างเดียว
.
.
กฎพื้นฐาน 3 ข้อของ Output
.
1) ข้อมูลที่นำมาใช้ 3 ครั้ง ในเวลา 2 สัปดาห์ จะกลายเป็นความจำระยะยาว
เพราะสมองของเราจะคิดว่านั่นคือข้อมูลสำคัญ ส่วนข้อมูลที่เราจำไว้ แต่ไม่ได้นำออกมาใช้เลย สมองก็จะจัดอยู่ในประเภทข้อมูลไม่สำคัญ และทำให้เราหลงลืมไปได้ง่าย
.
2) วงจรของการแสดงออกและการป้อนข้อมูลคือ ‘บันไดวนของการพัฒนา’
พูดง่ายๆว่าการป้อนข้อมูลเข้าไป และการสร้าง output ออกมาควรจะทำสลับไปมาเรื่อยๆ เพราะมันคือแก่นของการผลิตกิจกรรมทางปัญญา
.
3) อัตราส่วนที่ดีที่สุดของ Input และ Output คือ 3 : 7
นั่นหมายความว่าเราควรจะใช้เวลาในการท่องจำข้อมูลใหม่ๆ 30% และใช้เวลาอีก 70% ในการเขียน การแสดงผลออกมา เรื่องนีได้รับการรับรองจากการทดลองการทำข้อสอบมหาวิทยาลัยของนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มีวิธีในการเตรียมสอบที่แตกต่างกัน นั่นคือใช้เวลาในการอ่านตำราเรียน (input) และการทำแบบฝึกหัด (output) ต่างกัน ซึ่งผลลัพธ์ก็คือ คนที่ทำผลการเรียนออกมาได้ดีที่สุดคือ คนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำแบบฝึกหัด ไม่ใช่การท่องตำราเรียน
.
4) พิจารณาผลของ Output แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในครั้งต่อไป
.
สั้นๆง่ายคือ การทำ feedback ดูว่าตรงไหนที่เราทำผิดพลาดไป ตรงไหนที่เรายังต้องปรับปรุงแก้ไข แล้วเอามาเป็น feedback ในการเข้าไปแก้บันไดวนแห่ง input-output เพื่อพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
หนังสือยังแนะนำวิธีสร้าง feedback ที่ดีนั่นก็คือ 1. แก้ไขข้อด้อย พัฒนาข้อดี 2. ขยายให้กว้างและเจาะให้ลึก 3. ไขข้อสงสัยว่า ‘ทำไม’ 4. ให้คนอื่นแนะนำ
.
สุดท้ายขอปิดท้ายรีวิวนี้ด้วย ข้อดี 6 ประการของการสร้าง Output ที่ผู้เขียนทิ้งไวในบทแรก
1. สร้างความจำ - อย่าลืมเรื่องข้อมูลที่สำคัญ - ไม่สำคัญ
2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ขยับกล้ามเนื้อกันหน่อย
3. เปลี่ยนแปลงโลกในความเป็นจริง
4. ได้พัฒนาตัวเอง
5. สนุก!
6. เกิดผลสำเร็จอย่างชัดเจน
. ส่วนเนื้อหาหลักของหนังสือก็คือ เทคนิคการสร้าง output กว่า 80 ข้อ ซึ่งรวมถึงเรื่อง การพูด การเขียน การลงมือทำ และยังมี 7 วิธีที่เอาไว้ใช้ฝึกสร้าง output สำหรับมือสมัครเล่นอย่างพวกเรากันอีกด้วย
.
ยังไงโปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ!! เดี๋ยวผมจะหยิบเนื้อหามารีวิวกันต่อ
.
...........................................................................................................................
ผู้เขียน: Shion Kabasawa (ชิออน คาบาซาวะ)
ผู้แปล: อาคิรา รัตนาภิรัต
สำนักพิมพ์ : SandClock Books
จำนวนหน้า: 344 หน้า
เดือนปีที่พิมพ์ : 2020
ชื่อเรื่องต้นฉบับ : Manabi wo Kekka ni Kaeru Output Taizen
สำนักพิมพ์ต้นฉบับ : Sanctuary Publishing Inc.
...............................................................................................................................
.
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
.
.
.
#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อน30 #100เล่มควรอ่านก่อน30 #ThePowerofOutput #ศิลปะของการปล่อยของ #ชิออนคาบาซาวะ #อาคิรารัตนาภิรัต #SandClockBooks
Σχόλια