รีวิวหนังสือ The Bullet Journal Method
วิถีบันทึกแบบบูโจ
.
.
“บันทึกอดีต จัดระเบียบปัจจุบัน ออกแบบอนาคต ด้วยปากกาและสมุด ในโลกที่ทุกอย่างเป็นด้วยดิจิทัล”
.
ยอมรับว่าได้ยินชื่อเสียงของการจดบันทึกแบบ Bullet Journal หรือเรียกสั้นๆว่าบูโจมาสักพักนึง แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไรมากนักเพราะว่าส่วนตัวเป็นคนที่หมั่นจดบันทึกประจำวันอยู่แล้ว ก็เลยรู้สึกว่าอาจไม่จำเป็นเท่าไหร่
.
แต่พอมาอ่านก็ค้นพบเทคนิคดีๆหลายอย่างที่เป็นมากกว่า “การจดบันทึกประจำวัน” เพราะส่วนตัวรู้สึกว่าสิ่งที่บันทึกแบบบูโจเน้นย้ำที่สุดคือ การเชื่อมโยงสิ่งที่ทำในแต่ละวันเข้ากับเจตจำนง หรือเป้าหมายของตัวเอง ผมเลยอยากมารีวิวสั้นๆตามความเข้าใจของตัวเอง ว่า Bullet Journal จะเข้ามาช่วยอะไรได้บ้าง
.
ซึ่งแน่นอนว่าคนเรามีเป้าหมายมากมายนับไม่ถ้วน มีทั้งความอยากที่จะก้าวหน้าไปในทางการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ และเรื่องอื่นๆที่อยากทำและเคยลิสต์ไว้ เช่น บางคนอาจจะอยากไปเที่ยวฮาวาย บางคนอาจจะอยากลองไปโดดบันจีจัมป์ หรือเรื่องประจำวันมากมายที่เคยผุดขึ้นมาในหัวแล้วก็แวปหายไป เช่น อยากโทรหาเพื่อนเก่าสมัยประถม อยากไปซื้อไก่ย่างมาให้แฟนกิน
.
ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นความคิดที่มักวกวนอยู่ในหัวเรา ถ้าเราไม่เขียนมันออกมา มันก็จะยังคงวนเวียนอยู่แบบนั้นต่อไป ไม่เป็นระเบียบ และง่ายมากที่เราจะลืมมันไปอย่างรวดเร็ว
.
จุดนี้นี่เองที่บันทึกแบบบูโจอาจเข้ามามีบทบาทช่วยเราได้ นอกจากจะจัดระเบียบเรื่องราวต่างๆลงในกระดาษแล้ว ยังช่วยเป็นเหมือนเครื่องเตือนความจำเราให้ไม่หายไปไหน การบันทึกแบบบูโจคือวิธีบันทึกที่นับว่าเป็นระบบมากๆ เป็นระบบที่ใช้ทั้งสัญลักษณ์ การแบ่งสัดส่วน การแบ่งหัวข้อสำคัญๆไม่กี่หัวข้อ
.
ส่วนตัวผมมองว่าคนที่ยังไม่เคยจดบันทึก หรือคนที่อยากจะจัดระเบียบความคิดตัวเอง อยากทำแผนการในอนาคตให้เป็นระบบ สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะหยิบเล่มนี้มาอ่านครับ เพราะหนังสือเปรียบเหมือนเครื่องมือ howto อย่างแท้จริง ในการช่วยให้เราใชชีวิตได้เป็นระเบียบและมุ่งไปสู่เป้าหมายของเราได้มากขึ้น
.
.
สิ่งที่ผมรู้สึกค่อนไปในด้านลบจากหนังสือเล่มนี้ คือ เนื้อหาค่อนข้างยาวมาก แม้จะมีภาพประกอบสวยๆ และการออกแบบที่มีสีสัน มีองค์ประกอบต่างๆที่อ่านง่าย แต่เนื้อหาหลักของ Bullet Journal จริงๆมีเพียงแค่ประมาณ 100 หน้าเท่านั้น จากทั้งหมดเกือบ 400 หน้า
.
แล้วถ้าถามว่าที่เหลือหนังสือเล่าเรื่องอะไร ก็คงตอบว่าเป็นเรื่อง why คือการตามหาเจตจำนง และการค้นหาความหมายของชีวิตมากกว่า ซึ่งแน่นอนว่า bullet journal เป็นเพียงเครื่องมือๆนึงที่เข้ามาเป็นตัวช่วยในการเดินทางตามเจตจำนงของแต่ละคนเท่านั้น เหมือนเป็น software package สำเร็จรูปที่บริษัทซื้อเข้ามาเพื่อทำให้ข้อมูลในบริษัทจากแผนกต่างๆ เชื่อมต่อกัน และพร้อมที่จะให้นักวิเคราะห์ในองค์กรมาลงมือวิเคราะห์ หา insight
.
ส่วนคำถามว่าทำไมถึงควรเป็นสมุดกระดาษแทนที่จะเป็นการบันทึกแบบดิจิทัล อันนี้หนังสือไม่ได้บังคับอะไรนะครับ คือเราจะเขียนบันทึกของตัวเองออกมาในรูปแบบยังไงก็ได้ จะใช้ดิจิทัล จะเขียนลงในไฟล์ word ก็ได้ทั้งสิ้น ออกแบบได้ตามอิสระ เพียงแต่ตัวผู้เขียนเขาอยากปลีกตัวออกจากโลกดิจิทัลบางเป็นบางเวลา และอยากใช้มือตัวเองจดเพราะมันช่วยให้เขาจดจำได้ดีว่าการพิมพ์
.
.
รายละเอียดของการทำ bullet journal ค่อนข้างยาวมาก ไว้มาเวลายังไงผมจะมาเขียนอธิบายอีกทีนะครับ
อยากเล่าคร่าวๆแค่สองส่วนสำคัญคือ คำถามว่า bullet คืออะไร เราต้องบันทึกอะไรลงไปบ้าง และ ในสมุดบันทึกของเราควรจะมีกี่ส่วน
.
คำถามแรก เราต้องบันทึกอะไรลงไปบ้าง? Bullet ที่ว่านี้คืออะไร?
· สิ่งที่ต้องทำ - งาน (task)
· ประสบการณ์หรือเหตุการณ์ในชีวิต (event)
· ข้อมูลที่ต้องจดไว้กันลืม (note)
.
.
ในสมุดบันทึกของเราควรจะมีกี่ส่วน? ควรจะมีอะไรบ้าง?
หนังสือเล่มนี้เรียกการรวมรวมชุดข้อมูลเป็นหัวข้อๆว่า “คอลเล็กชั่น (collection)”
ทุก bullet journal ควรจะมี 4 คอลเล็กชั่นหลักคือ
1. ดัชนี (Index) – คอลเล็กชั่นรวมครอบจักรวาล ทุกอย่างที่อยู่ในสมุดจะถูกรวมให้อยู่ในคอลเล็กชั่นนี้ เหมือนหน้าสารบัญ
2. บันทึกประจำวัน (Daily Log) - บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น และน่าจดจำลงในบันทึกประจำวัน
3. บันทึกประจำเดือน (Monthly Log) - ถอยออกมามองภาพกว้างว่าเดือนนี้มีอะไรต้องบ้าง
4. บันทึกอนาคต (Future Log) - ภาพใหญ่ๆ ไกลๆ ว่าในอีกหลายเดือนข้างหน้า เรามีโปรเจคอะไรต้องส่งบ้าง หรือเรื่องอะไรที่เราแพลนอยากทำในอนาคตบ้าง
และแน่นอนว่าเราสามารถสร้างคอลเล็กชั่นอื่นๆขึ้นมาตามในชอบ เช่น รายการหนังสือที่อยากอ่าน รายการร้านอาหารที่อยากลอง คอลเล็กชั่นภาพวาดยามนั่งประชุมเบื่อๆ
.
และแน่นอนว่า ทั้งหมดทั้งมวลนี้ย้ายไปมาได้แน่นอนครับ เพราะเวลาผ่านไปเรื่อยๆ บันทึกประจำวัน ก็คงจะมีบางส่วนถูกย้ายมาเป็นบันทึกประจำเดือน และบันทึกประจำเดือนใหม่ๆก็มาจากบันทึกในอนาคต ส่วนพวกคอลเล็กชั่นพิเศษก็จะมีการอับเดทอยู่เรื่อยๆ และอาจถูกใส่ไปในบันทึกอนาคต บันทึกประจำเดือนได้เสมอ ซึ่งทุกอย่างจะถูกอับเดทในหน้าดัชนี
.
.
โดยรวมแล้วหนังสือเป็นประโยชน์แน่นอนครับ ยังไงลองหาอ่านกันดู
.
ไว้มีเวลาผมจะมาเล่าเพิ่มเติมนะครับ จริงๆหนังสือมีรายละเอียดที่น่าสนใจอยู่เยอะมาก
.
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่:
.
.
.
........................................................................................................................................
ผู้เขียน: ไรเดอร์ แคร์รอลล์
ผู้แปล: นรา สุภัคโรจน์
สำนักพิมพ์ : บุ๊คสเคป
จำนวน: 392 หน้า
เดือนปีที่พิมพ์ : 3/2020
........................................................................................................................................
.
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #100เล่มควรอ่านก่อน30 #TheBulletJournalMethod #วิถีบันทึกแบบบูโจ #ไรเดอร์แคร์รอลล์ #bookscape #บุ๊คสเคป
Comments