รีวิว: Talk Like TED
9 เคล็ดลับการนำเสนอ ให้เปี่ยมพลัง ตรึงใจ และสร้างสรรค์
.
.
‘เทคนิคสะกดผู้ชม ด้วยการนำเสนอแบบมืออาชีพ จากเวทีชื่อก้องโลก’
.
หนังสือ Talk like TED เป็นหนังสือเล่าเคล็ดลับการนำเสนออย่างมืออาชีพที่ใช้สะกดใจผู้ชมได้อยู่หมัด จากการรวบรวมนักพูดระดับโลกบนเวที TED talk
.
จำได้ว่าเมื่อช่วงประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว ตอนที่หนังสือออกมาไม่นาน TED talk บูมมากทั้งในต่างประเทศ และในบ้านเราเองก็มีการจัด TED talk ขึ้นมาในหลายๆมหาลัย
.
แต่หนังสือเล่มนี้ไม่ได้มาอธิบายที่มาที่ไปของ TED talk หนังสือเล่าถึงเทคนิคที่ใช้ในการนำเสนอความคิด โดยใช้ TED talk เป็นตัวอย่างในการซัพพอร์ตเทคนิคเหล่านั้น หรือจะเรียกว่าเป็นเทคนิคที่ตกผลึกมาจากการนั่งฟัง TED talk ซะมากกว่า
.
นั่นเป็นเพราะว่า TED talk จัดเป็นรูปแบบการนำเสนอไอเดีย หรือความคิดของผู้พูดภายในเวลาจำกัด (18 นาที) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
.
เพราฉะนั้นแล้วอ่านหนังสือเล่มนี้ ก็เหมือนอ่านเทคนิคการพูดในที่สาธารณะ หรือการขายงานให้ลูกค้า ซึ่งไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร การพูดสาธารณะและการนำเสนองานก็เป็นทักษะที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
.
หนังสือหลายๆเล่มแนะนำ howto ฝึกทักษะการพูดให้เก่งขึ้นเป็นข้อๆ แต่เล่มนี้คือการเรียนรู้จากผู้พูดระดับโลกหลายๆคน ซึ่งในหลายตัวอย่างที่หนังสือยกมาจากเวที TED จัดเป็นการพูดหยุดโลกที่สะกดใจผู้ชมเอาไว้อย่างอยู่หมัด และทำให้ไอเดียจากการพูดครั้งนั้นเป็นที่จดจำ พร้อมถูกนำไปใช้สร้างสรรค์ผลงานอื่นๆต่อทั่วโลก
.
นึกถึงการกล่าวสุนทรพจน์ของ Steve Jobs ในงานจบพิธีการศึกษาของนักศึกษา Stanford ปี 2005 เรื่อง Connecting the dots แม้ว่าเรื่องนี้จะผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ไอเดียเรื่องการต่อจุดก็ยังถูกพูดถึงในปัจจุบัน และมีอีกหลายๆคนที่ได้รับแรงบันดาลใจจากไอเดียนี้ จนนำไปสร้างสรรค์ผลงานดีๆออกมาอีกมากมาย
.
หนังสือเล่มนี้เหมือนถอดรหัส สุนทรพจน์ดังกล่าว ว่าควรจะมีส่วนประกอบอะไรบ้างที่ทำให้การพูดหนึ่งครั้งประสบความสำเร็จมากมายขนาดนั้น
.
ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่า เรื่องการพูดสาธารณะ และการนำเสนองานเป็นทักษะจำเป็นในโลกปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะทำอาชีพอะไรเราต้องขายงานของเราให้เป็น เราต้องฝึกทักษะการสื่อสารความคิดของเราออกไปให้ได้
.
แม้เล่มนี้จะเน้นโต้งๆไปที่การขายความคิดในการพูดสาธารณะ แต่เทคนิคการนำเสนอต่างๆที่หนังสือแนะนำคือเอาไปใช้กับการนำเสนองานแบบอื่นๆได้ด้วย
.
เพราะฉะนั้นแล้ว ในวัยก่อน 30 ถ้าใครสนใจอยากพัฒนาทักษะการพูดและนำเสนองาน ลองหาเล่มนี้อ่านกันได้ครับ
.
.
.
ส่วนตัวไปผมขอสรุปใจความสำคัญจากหนังสือแบบคร่าวๆนะครับ
.
หนังสือเกริ่นนำสั้นๆเรื่องการพูด TED talk ก่อนจะเข้าสู่องค์ประกอบหลัก3 ข้ออันเป็นหัวใจของการนำเสนออันได้แก่
- เข้าถึงอารมณ์
- แปลกใหม่
- น่าจดจำ
.
โดยในแต่ละองค์ประกอบหลัก ยังสามารถแบ่งย่อยได้เป็นอีกองค์ประกอบละ 3 เทคนิคดังต่อไปนี้
.
I เข้าถึงอารมณ์
เคล็ดลับที่ 1: ปลดปล่อยผู้เชี่ยวชาญในตัวคุณ
.
ข้อแรกเน้นไปที่ความหลงใหลในตัวเราเอง เราต้องเริ่มจากการค้นหาความหลงใหลในตัวเราก่อนจะนำเสนอเรื่องเหล่านั้นให้คนอื่น
.
ลองถามตัวเองสั้นๆดูว่า ‘อะไรคือสิ่งที่ทำให้หัวใจของเราลิงโลด’ มันอาจจะเป็นอาชีพ มันอาจจะเป็นงานดิเรก หรืออาจเป็นแนวคิดหรือคอนเซ็ปต์ของบางสิ่งที่เราหลงใหลอย่างมากก็ได้
.
สิ่งน่าสนใจที่สุดของบทนี้คือ ความหลงใหลเป็นสิ่งที่ติดต่อกันได้ นั่นหมายความว่าเมื่อเรานำเสนอความหลงใหลของเราออกไปอย่างจริงใจ คนอื่นที่รับรู้ได้ถึงความรู้สึกเหล่านั้นก็จะได้รับอิทธิพลและการจูงใจทางอารมณ์ให้ไปสร้างสรรค์ผลงานจากความหลงใหลที่ได้รับต่อไป
.
.
เคล็ดลับที่ 2: ฝึกศิลปะการเล่าเรื่องให้เชี่ยวชาญ
.
การเล่าเรื่องเป็นอีกเทคนิคที่สำคัญมากในการนำเสนอ เพราะมันคือการเล่าข้อมูลในแบบที่ใส่จิวิญญาณลงไปด้วย
.
การใช้เรื่องเล่าช่วยให้เราเข้าถึงสมองและหัวใจของผู้ฟังได้มากขึ้น หรือพูดสั้นๆคือมันมีส่วนช่วยในการเชื่อมโยงผู้พูดกับผู้ฟัง
.
ตัวเปรียบเทียบหนึ่งที่สำคัญสำหรับเรื่องนี้คือ หลักการพูดให้จูงใจแบบอริสโตเติล นักปรัชญากรีกโบราณ
.
เขาแบ่งส่วนประกอบของการพูดจูงใจออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ความน่าเชื่อถือ (อีธอส) หลักฐานและข้อมูล (โลกอส) และการจูงใจด้านอารมณ์ (พาธอส) โดยทั้ง 3 ส่วนควรจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 10:25:65 ตามลำดับ
.
ซึ่งหมายความว่าการจูงใจด้านอารมณ์เป็นส่วนที่มีน้ำหนักมากที่สุด มันเหมือนการปลูกฝังความเชื่อเข้าไปในสมองคนฟัง
.
โดยเราอาจลองเล่าเรื่องส่วนตัว เรื่องราวของคนอื่น หรือเรื่องราวความสำเร็จของแบรนด์ที่ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงและช่วยจูงใจผู้ฟังทั้งสิ้น
.
.
เคล็ดลับที่ 3: .พูดให้เหมือนบทสนทนา
.
เรื่องนี้คือการฝึกพูดให้เหมือนเราคุยกับเพื่อนในชีวิตประจำวัน อย่ายืนแข็งทื่อ พยายามเอามือไม้ออกมาช่วยในการบรรยาย เพราะจากสถิติการวิจัยแล้วพบว่าการใช้มือไม้ช่วยให้เข้าถึงอารมณ์ของคนฟังได้มากกว่าจริงๆ
.
ทั้งเรื่องของนำเสียง อัตราเร็ว ระดับเสียง การเว้นจังหวะ รวมถึงภาษากายต่างๆมีส่วนสำคัญมากในการช่วยเน้นย้ำสาส์นสำคัญที่เราต้องการจะสื่อ
.
แน่นอนว่าเรื่องเหล่านี้ต้องอาศัยการฝึกฝน และเราควรฝึกบ่อยๆจนเป็นธรรมชาติ
.
.
2. แปลกใหม่
เคล็ดลับที่ 4: สอนเรื่องใหม่ให้ฉันได้รู้
.
คนเรามักสนใจเรื่องใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน เพราะกลไกสมองของเรามีการหลั่งโดพามีนออกมาเวลาเราเจอชุดข้อมูลใหม่และรู้สึกตื่นเต้น
.
การนำเสนอที่ดีจึงควรนำเสนอโดยใช้ข้อมูลที่น่าสนใจ หรือเรื่องราวที่ทำให้ประหลาดใจ และไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ตัวอย่างเช่น การนำเสนอการพัฒนาการในด้านดีของสถิติความยากจนและอดอยากในประเทศทั่วโลกเมื่อเทียบช่วงเวลาปัจจุบันกับเมื่อ 40 ปีที่แล้ว
.
การใช้สไลด์การนำเสนอข้อมูลให้ดึงดูดมีส่วนช่วยอย่างมาก
.
จำไว้ว่าเราต้องมองหาความโดดเด่นในเรื่องที่เรานำเสนออยู่เสมอ เหมือนเทคนิคเรื่อง ‘วัวสีม่วง’ ซึ่งหมายถึงว่าถ้ามีวัวสีน้ำตาลหรือสีเทาเดินผ่านมา เราก็คงจะไม่เห็นมัน แต่ถ้าเป็นวัวสีม่วงแล้วละก็ ทุกคนคงจะสังเกตเห็น
.
.
เคล็ดลับที่ 5: สร้างช่วงเวลาอ้าปากค้าง
.
สมองเรามักจำเหตุการณ์ที่เราอ้าปากค้าง หรือที่หนังสือใช้คำว่า ‘ช่วงเวลา แม่เจ้าโว้ย’ ได้ดีที่สุด เพราะมันเป็นเวลาที่เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ต่างๆ ที่พลุ่งพล่าน
.
ในช่วงเวลาแบบนี้ เป็นไปได้มากว่า คนฟังจะจำสาส์นที่เรานำเสนอได้ดี และมีโอกาสนำไปปฏิบัติต่อ
.
ตัวอย่างหนึ่งในหนังสือคือ เรื่องของ Bill Gates ที่ต้องการสร้างความตระหนักถึงความร้ายแรงของเรื่องโรคมาเลเรียในแอฟริกา อยู่ๆเขาก็ปล่อยขวดโหลดที่บรรจุยุงอยู่ 3-4 ตัวพร้อมบอกคนดูว่า นี่คือยุงที่เป็นพาหะของเชื้อมาเลเรีย ซึ่งแน่นอนว่าทุกคนในห้องที่ฟังอยู่ตกใจมาก มันเป็นช่วงเวลาที่สร้างความตกใจพร้อมกับความประหลาดใจและอารมณ์ขันแบบเบาๆ ก่อนที่ Bill Gates จะออกมาเฉลยว่าเขาล้อเล่น ยุงที่ปล่อยออกมาไม่ได้มีเชื้อมาเลเรีย คนก็จดจำช่วงเวลาน่าตกใจนั้นไปแล้ว
.
อีกตัวอย่างหนึ่งที่คลาสสิคไม่แพ้กัน คือการนำเสนอของ Steve Jobs ที่หยิบไอโฟนออกมาจากซองใส่เอกสารเล็กๆบนโต๊ะเพื่อนำเสนอว่า ทั้งไอพอดที่บรรจุเพลงกว่า 1000 เพลง โทรศัพท์ และเครื่องมือสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตถูกรวมอยู่ใน ‘ไอโฟน’ เครื่องที่เขาถืออยู่แล้ว
.
แน่นอนว่าคนจดจำวิธีการนำเสนอแบบนี้ได้เป็นพิเศษ
.
บทเรียนที่เราได้จากบทนี้คือ การหาช่วงจังหวะให้คนอ้าปากค้าง และจัดจำสาส์นสำคัญที่เราต้องการนำเสนอ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวอาจจะมาจากวิธีการนำเสนอที่แปลกใหม่ ข้อมูลสถิติ หรือเรื่องเล่าของเราเองก็เป็นได้หมด
.
.
.
เคล็ดลับที่ 6: ผ่อนคลาย.
.
การพูดสร้างแรงบันดาลใจจำเป็นอย่างิย่งที่ต้องอาศัยอารมร์ขันของผู้พูด ในหลายๆครั้งที่การพูดที่เป็นวิชาการเกินไปก็ดูจืดชืด แต่หนังสือเขียนไว้ชัดเจนว่าเราต้องระวังเรื่องมุกตลกที่ไม่สมควรเล่น เราต้องไม่ปล่อยตลกฝืด แต่ต้องทำให้การนำเสนอของเราดูสนุก ดูเป็นกันเอง และดูผ่อนคลาย
.
อารมรณ์ขันเอาชนะใจคนฟังได้ แต่เราต้องแสดงมันออกมาในแบบที่เป็นตัวของเราเอง เมื่อเราหัวเราะ คนอื่นก็มักจะหัวเราะตามกันไป เป็นโรคติดต่อ
.
ต้องบอกว่า เคล็ดลับหนึ่งที่หนังสือแนะนำในการสร้างอารมณ์ขันคือ การหาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ข้อสังเกต หรือเรื่องส่วนตัวเล็กๆมาสร้างเป็นอารมณ์ขันเพื่อให้เกิดความสนใจ ผมว่าวิธีนี้ใช้ได้ผลจริง และถ้าคนฟังคนไหนสมาธิหลุดไป ก็อาจใช้วิธีนี้ตบคนฟังดังกล่าวกลับมาให้อยู่กับร่องกับรอยได้มากขึ้น
.
.
3. น่าจดจำ
เคล็ดลับที่ 7: ยึดมั่นในกฎ 18 นาที
.
ช่วงเวลา 15-18 นาที แทบจะเป็นตัวเลขมหัศจรรย์ในการนำเสนอข้อมูลให้คนฟังจดจำได้และนำไปใช้ให้เกิดความคดสร้างสรรค์
.
เพราะถ้าสั้นเกินไป เช่น 5 นาที คนฟังก็ยังไม่เข้าใจรายะลเอีดยทั้งหมดของไอเดียที่คนเล่าอยากเล่า และอาจยังไม่เกิดความสนใจ
.
แต่แน่นอนว่าถ้ายาวกว่านี้ คนฟังก็เบื่อ และหมดความสนใจไปง่ายๆ
.
นอกจากนี้แล้ว หนังสือยังนำเสนอถึงกฎเลข 3 ที่เราควรนำมาใช้เป็นโครงสร้างในการเล่าเรื่องเพื่อให้คนจดจำได้
.
โดยโครงเรื่องในการนำเสนอของเราควรประกอบไปด้วย ประเด็นหลักของเรื่อง 3 ประเด็น และประกอบไปด้วยประเด็นย่อยๆ หรือข้อมูลสนับสนุนไอเดียหลักอีกไอเดียละ 3 ประเด็นย่อย
.
ลองนึกถึงสุนทรพจน์อมตะของ Steve Jobs ที่ประกอบไปด้วยโครงเรื่องหลัก 3 เรื่องเช่นเดียวกัน และถ้าลองมาไล่ดูประเด็นย่อยก็จะพบว่า ในแต่ละประเด็นหลักก็ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อยเช่นเดียวกัน
.
.
เคล็ดลับที่ 8: วาดภาพในใจด้วยประสบการณ์หลากผัสสะ
.
ลองหาวิธีการนำเสนอที่มีองค์ประกอบทั้ง ภาพ เสียง รส สัมผัส กลิ่น เพื่อให้คนฟังได้ลิ้มลองประสบการณ์จากหลากผัสสะ และจดจำการนำเสนอของเราได้ดียิ่งขึ้น
.
ลองนึกถึงตัวอย่างการนำเสนอเรื่องน้ำเน่า นอกจากภาพน้ำเน่าในสไลด์แล้ว ถ้าคนพูดมีการสาธิตการตักน้ำเน่าๆจริงๆขึ้นมาให้คนฟังได้เห็นก็คงจะทำให้เกิดอารมณ์ร่วมได้มากขึ้น จากทั้งกลิ่น และรสที่เกิดจากจินตนาการของผู้ฟังตอนเห็นน้ำเน่านั้น
.
นอกจากนี้แล้วการใช้ภาพต่างๆในการนำเสนอย่อมให้ผลลัพธ์ที่ทำให้คนจดจำได้ดีกว่าการนำเสนอที่มีแต่ตัวอีกษร เพราะคนเรามีสองโหมดในระบบความจำ ระบบความจำด้วยภาพ และระบบความจำด้วยตัวอักษร ถ้าเรานำเสนอแต่ตัวอักษร พอเวลาผ่านไปเราก็มีแนวโน้มที่จะลืมเรื่องราวนั้น แตกต่างจากการจำด้วยภาพที่ช่วยให้ความจำคงทนได้นานกว่า
.
.
เคล็ดลับที่ 9: เดินในทางของตน
.
เคล็ดลับข้อสุดท้ายตรงไปตรงมามากที่สุด คือเราต้องนำเสนอในแบบที่เป็นตัวของตัวเอง
.
เพราะถ้าเรา fake ไม่นานคนก็จะจับได้ และพลอยไม่ชอบไอเดียที่เรานำเสนอไปด้วย
.
เราต้องเล่าเรื่องแบบที่เราเป็น โดยอมอาจมีการใส่เรื่องราวของตัวเองเข้าไปในเรื่องเพื่อทำให้เรื่องน่าสนใจ แต่สิ่งสำคัญคืออย่าหลอกคนฟังในสิ่งที่เราไม่ได้เป็น!
.
.
.
.
.
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่:
.
.
…………………………………………………………………………………………….
ผู้เขียน: Carmine Gallo
ผู้แปล: พลอยแสง เอกญาติ
จำนวนหน้า: 320 หน้า
สำนักพิมพ์: Bookscape
เดือนปีที่พิมพ์ครั้งแรก: 2015
…………………………………………………………………………………………….
.
.
#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #100เล่มควรอ่านก่อนอายุ30 #TalkLikeTED #CarmineGallo #Bookscape
Comments