.
หนังสือเล่มล่าสุดของอาจารย์ นภดล ร่มโพธิ์ เจ้าของพอดแคสต์ Nopadol’s Story ที่เรียกว่าผมติดตามมาเป็นเวลานานพอสมควรแล้วครับ แล้วก็ชอบเนื้อหาที่อาจารย์นำเสนอมาตลอด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการรีวิวหนังสือแนวพัฒนาตัวเอง วันนี้เลยได้มีโอกาสอ่านหนังสือที่อาจารย์เขียนเองบ้าง
.
เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ ถ้าใครเป็นแฟนคลับพอดแคสต์ของอาจารย์นภดลก็อาจจะรู้สึกได้ถึงความซ้ำอยู่บ้าง แต่ต้องบอกว่าอ่านอีกก็ชอบอีกครับ เนื้อหาดีจริง เป็นข้อคิดดีๆในการใช้ชีวิตและการพัฒนาตัวเองที่มีประโยชน์ ไม่ว่าคนอ่านจะเป็นใคร ทำอะไรอยู่ที่ไหนก็ตาม
.
ชื่อ Future Mindset ก้ล้อกับเนื้อหาที่อาจารย์เขียนคือ กับหลายๆเรื่องเราต้องรู้จักการปรับมุมคิด การเปลี่ยนความคิดแบบเดิมๆที่เรามี เพราะเดี๋ยวนี้วิธีคิดแบบเดิมๆล้าสมัยเร็วมาก โดยเฉพาะทุกวันนี้ที่โลกหมุนเร็วมาก ผมชอบประโยคหนึ่งที่อาจารย์เขียนไว้คือ แม้อาจารย์จะสอนในมหาวิทยาลัยและให้ความรู้ต่างๆกับนักศึกษา แต่ความรู้ในโลกปัจจุบันไม่ได้จบอยู่แค่ตอนรับปริญญา เราควรหมั่นออกหาความรู้ในทุกๆวัน พูดอีกนัยหนึ่งคือ ‘ชีวิตไม่มีการจบการศึกษา’
.
เนื้อหาในหนังสือแบ่งออกเป็นบทสั้นๆ บทละ3-4 หน้า อ่านไม่เกิน 5 นาทีก็จบ 1 บทละครับ ในหนังสือมีทั้งหมด 35 บท อ่านประมาณชั่วโมงเดียวก็น่าจะจบได้ แต่ future mindset หลายอย่างที่อาจารย์เขียนไว้น่าจะพอจำได้และหยิบเอามาใช้กันต่อไปได้ครับ
.
สไตล์การเขียนของอาจารย์ คือเรียกว่า ผมอ่านไปเป็นเสียงอาจารย์ในพอดแคสต์เลยทีเดียว เพราะว่าสำนวนการพูดกับการเขียนของอาจารย์เหมือนกันมาก ถอดแบบกันมาเลย แต่อ่านเพลินดีนะครับ ไม่ว่าจะฟังหรืออ่านก็เพลินคนละแบบ
.
สุดท้ายขอเลือก future mindset ที่ผมชอบ 5 ข้อมานำเสนอในเพจหลังอ่านนะครับ
.
.
.
1) สำเร็จ หรือล้มเหลว ขึ้นกับคำว่า ‘จะ’
.
เป็นเรื่องง่ายๆ ดูไม่มีอะไร แต่มีสำคัญมากๆในการที่เราจะทำอะไรประสบความสำเร็จสักอย่าง
.
คืออาจารย์เล่าว่า อาจารย์ได้พบเจอกับลูกศิษย์มากมาย เวลาที่ลูกศิษย์มาเล่าไอเดียใหม่ๆให้ฟัง อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำและกระตุ้นให้ลูกศิษย์เหล่านั้นลองลงมือทำดู แล้วพอเวลาผ่านไป อาจารย์มาเจอกับลูกศิษย์เหล่านั้นอีกครั้ง
.
บางคนก็เล่าถึงความคืบหน้า ว่าลองลงมือทำแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้เป็นยังไงบ้าง ซึ่งหลายๆครั้งก็คือผลลพัธ์ที่ได้ออกมาดีเหมือนที่คาด หรือดีเกินคาด แต่ก็จะมีลูกศิษย์อีกกลุ่มหนึ่งที่กลับมาเล่าไอเดียใหม่ๆอีกครั้ง หรือพูดเรื่องอื่นๆ โดยพออาจารย์ถามถึงไอเดียเก่าว่าไปถึงไหนแล้ว เขาก็จะตอบเพียงแต่ว่า ‘กำลังจะทำ’ ‘เดี๋ยวจะทำ’
.
และนี่เองคือสิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนของคนสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งลงมือทำจริง เห็นผลลัพธ์ มุ่งหน้าไปหาความสำเร็จ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งยังวนเวียนอยู่แต่กับคำว่า ‘จะ’ และไม่ได้เคลื่อนที่ไปไหน
.
เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การลงมือทำสำคัญมากๆ ทิ่งคำว่า ‘จะ’ ไปซะ
.
.
2) เลิกวัฒนธรรมการทำงานดึก
.
.
‘work smart, don’t work hard.’
.
อาจเป็นคำเกร่อๆที่หลายๆคนคงเคยได้ยินกันแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมกรทำงานดึกยังมีอยู่ในหลายๆองค์กร รวมถึงอาจเป็นความชอบส่วนบุคคลที่ชอบทำงานเลิกดึกๆด้วย และที่อาจารย์เล่าแบบเห็นภาพมากๆคือ พวกที่ชอบมาขิงใส่กันว่าตัวเองอยู่ดึกกว่า เมือคืนกลับตั้งตีหนึ่ง ตีสอง เพื่อให้คนอื่นชมว่าตัวเองเก่ง ตัวเองขยัน
.
เมื่อเห็นครั้งแรกเราอาจนึกว่าคนพวกนี้ขยันเหลือเกิน ทำงานในเวลางานเหนื่อยๆแล้ว ยังมาทำงานต่อตอนกลางคืนอีก แต่ถ้าเราคิดดีๆก็จะพอนึกได้ว่า บางคนก็คงขยันจริงๆ แต่อีกหลายคนไม่รู้จักแบ่งเวลาให้ดีต่างหาก
.
เพราะความจริงแล้วทำงานดีๆไม่ดี สุดท้ายวัดกันที่ผลงาน ถ้าทำงานดึกแล้วผลงานได้เท่าๆกับคนที่ทำงานเสร็จในเวลา ก็คงจะไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ดึก เรื่องนี้คือเรื่องของ productivity
.
บางคนทำงานแบบไม่ productive เลยกลายเป็นต้องใช้เวลาในการทำงานนาน แต่ถ้าคนที่รู้จักเวลาในการทำงานของตัวเอง มีสมาธิจดจ่อกับงาน ตั้งใจทำสิ่งที่อยู่ตรงหน้า งานพวกนี้อาจไม่ได้ใช้เวลานานอย่างที่คิด และเราก็มีเวลาไปพักผ่อนมากขึ้นอีกด้วย
.
3) รู้จักการบริหารโอกาส
.
.
เรื่องนี้อาจารย์เขียนเลียนกับเรื่องการบริหารความเสี่ยง เพราะมีหลายคนมากที่รู้จักการบริหารความเสี่ยง แต่ไม่รู้จักการบริหารโอกาส
.
แน่นอนว่าโอกาสก็เหมือนความเสี่ยงมีสองแกนเหมือนกัน แต่เป็นคนละด้าน ความเสี่ยงคือเรื่องในแง่ลบ โอกาสคือเรื่องในแง่บวก ซึ่งสองแกนที่ว่าคือ ความน่าจะเป็นในการเกิดโอกาสนั้น กับผลกระทบที่จะทำให้ชีวิตเราดีขึ่นถ้าได้รับโอกาสนั้นมา
.
ซึ่งแน่นอนว่าถ้าทั้งสองแกนนี้สูงทั้งคู่ เราควรรีบคว้าโอกาสไว้อย่างแน่นอน แต่ถ้าต่ำทั้งคู่ก็จัดว่าเป็นโอกาสที่ไม่ได้น่าสนใจเท่าไหร่ แต่ถ้ามันสูงแค่แกนเดียว อีกด้านไม่สูงเท่าไหร่ อันนี้ต้องคิดเป็นกรณีๆไป และอาจลองมองหาโอกาสสอื่นๆที่น่าสนใจกว่าควบคู่ไปด้วย
.
สิ่งสำคัญก็คือ เราต้องพิจารณาถึงทุกโอกาสที่เข้ามาในชิวิตของเราครับ
.
4) อดทนในสิ่งที่ตัวเองรัก
.
.
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะหลายๆคนคิดว่าแค่ได้เจอในสิ่งที่เรารักก็น่าจะพอแล้ว เราน่าจะอยู่กับมันได้ทุกวัน ไม่น่าจะเจอปัญหาอะไร
.
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม มันก็อาจจะมีวันที่เราเบื่อ วันที่เราไม่เอนจอยกับสิ่งที่เราอยู่ เราจึงต้องพึงระลึกไว้เสมอว่า แม้จะเป็นสิ่งที่เรารักมากๆ แต่ก็อาจจะได้พบเจอกับความน่าเบื่อ ความท้อ หรือแม่แต่จุดวัดใจว่ามันไม่ไหวจนอยากจะเลิกทำด้วยซ้ำ
.
อาจารย์จึงอยากเตือนว่า เราต้องรู้จักอดทน แม้จะได้ทำในสิ่งที่เรารักแล้วก็ตาม เราต้องพยายามผ่านพ้นวันที่น่าเบื่อ วันที่ท้อ วันที่เหนื่อยไปให้ได้ เพราะคงไม่มีสิ่งไหนในโลกที่ปราศจากเรื่องเหล่านี้
.
สุดท้ายอาจารย์แนะนำว่า เหมือนหนังสือเรื่อง Grit เราต้องมีทั้ง passion และ perseverance ความชอบและความมุมานะในการทำสิ่งหนึ่งๆให้ประสบความเร็จครับ
.
5) โลกสองใบในการทำงาน
.
.
คนเรามีแรงจูงใจที่นำมาใช้ขับเคลื่อนการทำงานอยู่สองประเภทคือ แรงจูงใจภายนอก และแรงจูงใจภายใน ซึ่งแรงจูงใจทั้งสองแตกต่างกันและอาจอยู่ในโลกคนละใบ
.
ถ้าเป็นแรงจูงใจภายนอก เราก็อาจถูกจูงใจได้ด้วยเงิน เรียกได้ว่าเราอยู่ในโลกทางตลาด หรือใช้สิ่งหนึ่งแลกเปลี่ยนกับอีกสิ่งหนึ่ง ทำงานแลกเงิน เอาเงินไปซื้อความสุขต่อ
.
แต่แรงจูงใจภายใน อาจเกิดจากตอนที่เราอยู่ในโลกทางสังคม หรือโลกที่เกิดจากความอยากช่วยเหลือผู้อื่น เหมือนตอนเราเข้าไปช่วยเพื่อนเราโดยไม่ได้รับอะไรตอบแทนในรูปแบบเงิน แต่อาจได้รับการตอบแทนเป็นการช่วยเหลือของเพื่อนกลับมา ซึ่งถ้าวัดออกมาเป็นมูลค่า การช่วยเหลือทั้งสองครั้งอาจมีไม่เท่ากันก็ได้
.
แต่การช่วยเหลือเหล่านี้คือแรงจูงใจภายในที่ขับเคลื่อนเรา ให้อยากออกไปทำงาน ให้อยากออกไปช่วยเหลือคนอื่น ในหลายๆครั้งถ้าเราอยากจะจูงใจใคร ต้องพยายามทำความเข้าใจดีๆว่า เราจะจูงใจเขาด้วยอะไร เขากำลังอยู่ในโลกทางตลาด หรือโลกทางสังคม
.
.
.
.
………………………………………………………………………….
✍ผู้เขียน: ศ.ดร. นภดล ร่มโพธิ์
🏢สำนักพิมพ์: Welearn
📚แนวหนังสือ: จิตวิทยา, พัฒนาตัวเอง
…………………………………………………………………………..
.
.
สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
.
.
.
#หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #reviewหนังสือ #เมื่อวิธีคิดที่คุณมีใช้กับงานในวันพรุ่งนี้ไม่ได้ #FutureMindset #นภดลร่มโพธิ์ #Welearn #สำนักพิมพ์Welearn #หนังสือพัฒนาตัวเอง #หนังสือจิตวิทยา
Comments