top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว Digital Transformation Canvas


รีวิวหนังสือ Digital Transformation Canvas

โมเดลทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่

.

.

‘หนังสือที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือ สำหรับองค์กรที่อยากทำ Digital Transformation และอยู่รอดในโลกแห่ง Distuption’

.

ขอขอบคุณหนังสือดีๆจาก สำนักพิมพ์ Make a wish นะครับ

.

หนังสือ Digital Transformation Canvas เป็นหนังสือคู่มือการคิดกลยุทธ์ และการทำ Digital Transformation ของแต่ละองค์กร ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับองค์กรยุคใหม่ ที่ต้องปรับตัวเองให้อยู่รอดในโลกที่มีการแข่งขันกันสูงมาก

.

Digital Transformation ไม่ใช่เพียงแค่การเอาเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ หรือการเปลี่ยนจากการทำทุกอย่างจากที่เคยทำบนกระดาษเป็นทำบนระบบดิจิทัล แต่ยังหมายรวมไปถึงการปรับองค์กรจากรากลึก เปลี่ยนกันทั้งโครงสร้าง ทั้งระบบการทำงาน การบริหารงาน ขั้นตอนและกระบวนการต่างๆ รวมไปถึงวัฒนธรรมในการทำงาน

.

จึงเรียกได้ว่าการทำ Digital Transformation เป็นโจทย์ใหญ่ขององค์กรยุคใหม่ ที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกๆภาคส่วนในองค์กร และเนื่องด้วยความหมายที่จะปรับองค์กรในระดับโครงสร้าง การมี framework หรือโมเดลรูปแบบที่จะช่วยสร้างกรอบในการคิด การลงมือปฏิบัติจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งผมคิดว่าหนังสือเล่มนี้เข้ามาตอบโจทย์จุดนี้ได้ดีมาก

.

หนังสือแบ่งออกเป็น 3 part หลัก part แรกเป็นที่มาและความสำคัญของการทำ Digital Transformation ซึ่งผมว่าอาจจะเป็นจุดสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะถ้าองค์กรที่เราทำงานอยู่ตระหนักถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยน การปรับตัวเพื่ออยู่รอดในระยะยาว องค์กรถึงจะเริ่มเสาะหาวิธีที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ นอกจากนี้แล้วหนังสือยังอธิบายนิยาม (definition) ของคำว่า Digital Transformation ไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะความแตกต่างกับคำว่า Digitization และ Digitalization

.

Part ที่ 2 เป็นเครื่องมือที่ชื่อว่า Canvas ซึ่งถ้าใครเคยเรียนวิชาเกี่ยวกับ business มาก่อน ก็คงจะพอคุ้นๆกับ business canvas ที่เป็นกรอบแสดงภาพใหญ่ในการrun ธุรกิจๆหนึ่ง เรื่อง Digital Transformation Canvas ก็ไม่ต่างกัน ตัวโมเดลเหมือนเป็นภาพใหญ่ของการทรานฟอร์มองค์กรเพื่อเติบโตไปกับโลกยุคดิจิทัล แน่นอนว่าการปรับระดับใหญ่แบบนี้มันไม่ได้เกี่ยวข้องแค่บางภาคส่วน แต่เป็นการคิดเชิงองค์รวมซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญๆอย่าง การกำหนด New Core Business และ New Value Proposition, การออกแบบ New Business Model ซึ่งตอบรับกับโจทย์ธุรกิจที่ต้องการ, การประเมิน Existing Capabilities และการตามหา New Digital Capabilities ที่จะนำมาใช้กับ Business Model ที่กำหนดขึ้นมาใหม่, การทำ Road Map ขององค์กร และการออกแบบการทรานฟอร์มองค์กร, และการทำองค์กรให้ยั่งยืนด้วย Agile Strategy และ Collaborative Ecosystem ซึ่งใน part นี้นั้นผมบอกได้เลยว่าหนังสืออธิบายได้ละเอียดและเห็นภาพมาก

. Part สุดท้ายจะเป็นการนำ Canvas ที่หนังสือนำเสนอไปใช้กับบริษัทชั้นนำของโลกมากมาย Netflix, Adobe, Amazon, Ping An, Nestle ซึ่งบริษัทเหล่านี้เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทรานฟอร์มองค์รให้เป็นผู้นำด้านดิจิทัล และใช้ความสามารถด้านดิจิทัลในการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมที่ตัวเองเข้าไปเล่น หนังสือยังเกริ่นเพิ่มเติมถึงกรณีศึกษาของบริษัทในไทย ซึ่งต้องไปตามอ่านเพิ่มในช่องทางที่หนังสือแนะนำไว้

.

สุดท้ายนี้ผมว่าหนังสือเหมาะมากๆสำหรับองค์กรที่อยากทรานฟอร์มตัวเอง หรือแม้แต่คนที่อยากเปิดธุรกิจ อยากเข้ามาเล่นในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพราะเรียกว่าดิจิทัลนั้นสำคัญสำหรับทุกๆองค์กรในโลกยุคปัจจุบัน เราหลีกหนีมันไม่ได้อีกต่อไป หรือใครจะอ่านประดับความรู้ไว้ก็ไม่เสียหายครับ เครื่องมือที่หนังสือนำเสนอยังไงก็นำมาใขเป็นกรอบความคิดกว้างๆสำหรับการปรับองค์กรแบบองค์รวมได้

.



สุดท้ายผมอยากจะฝาก key takeaways สำคัญๆ 4 ข้อที่ได้จากหนังสือไว้ แล้วอยากแนะนำให้ทุกคนไปลองซื้อหนังสือมาอ่านกันต่อนะครับ

.



1) เราทำ Digital Transformation ไปเพื่ออะไร

.

คำถามแรกและอาจเป็นคำถามที่สำคัญที่สุดก่อนจะลงมือทำการทรานฟอร์มองค์กร คือเราต้องรู้ให้แน่ชัดก่อนว่าเราทำไปเพื่ออะไร

.

ซึ่งหนังสือมีการนำสถิติต่างๆมาแสดงมากมายว่า การทรานฟอร์มองค์กรไปสู่ความเป็นดิจิทัลนั้น สามารถให้ผลลัพธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่องทั้ง การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการ การช่วยให้องค์กรเข้าสู่ตลาดได้ดีขึ้น เพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อลูกค้า แลผลลัพธ์เชิงบวกด้านอื่นๆซึ่งสุดท้ายจะนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร และช่วยให้องค์กรอยู่รอดได้ในระยะยาว

.

.

.



2) Digitization vs Digitalization vs Digital Transformation

.

3 คำที่คนมักสับสน โดยจริงๆแล้วหนังสืออธิบายไว้ชัดเจนว่า ความหมายมันต่างกันที่ความครอบคลุม ซึ่ง Digitization จะครอบคลุมแค่การเปลี่ยนจากระบบแอนะล็อก (Analog) เป็นระบบดิจิทัล (Digital) ซึ่งก็คือการใช้คอมพิวเตอร์ในการเก็บ ประมวลผลข้อมูล และส่งต่อข้อมูลนั้นๆ แทนที่จะใช้การเขียนลงกระดาษ

.

ส่วนคำว่า Digitalization หนังสือให้นิยามถึงสองความหมาย อย่างแรกครอบคลุมถึงการเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันของคนในสังคม เช่น จากการใช้จดหมาย มาเป็นการคุยกันผ่านโปรแกรม chat และอีกความหมายคือการนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการทำงานและทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ (Automation) มากยิ่งขึ้น

.

ส่วนคำสุดท้ายคือคำว่า Digital Transformation คือการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ทั่วทั้งองค์กร เปลี่ยนวิธีคิดในการทำธุรกิจอย่างถึงรากฐาน และเปลี่ยนความสามารถหลักของธุรกิจให้เป็นธุรกิจดิจิทัลด้วย โดย Digital Transformation นั้นอาจรวมถึงโปรเจคการ Digitalization หลายโปรเจคเข้าด้วยกัน และก่อให้เกิดผลลัพธ์ในระดับองค์กร

.

.


3) องค์ประกอบทั้ง 9 อย่างของ Digital Transformation Canvas

.

รายละเอียดของแต่ละอันต้องตามอ่านกันในหนังสืออีกทีนะครับ เพราะว่าหนังสืออธิบายไว้ละเอียดมาก ในที่นี้ผมขออธิบายโดยสรุปว่าแต่ละองค์ประกอบในโมเดล Canvas นี้มีอะไรบ้าง

.

ส่วนที่ 1: ตั้งหลัก Transform - เริ่มด้วยการประเมินธุรกิจหลักใหม่ (Define New Core Business) ที่เน้นให้เป็นธุรกิจดิจิทัล, นำเสนอข้อเสนอคุณค่าใหม่ของธุรกิจ (New Value Proposition), ออกแบบโมเดลธุรกิจใหม่ (New Business Model)

.

ส่วนที่ 2: สร้างความสามารถใหม่ด้านดิจิทัล ซึ่งอาจเป็นด้านการบริการลูกค้า การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการ การบริหารข้อมูล เป็นต้น – ส่วนนี้ก็จะประกอบไปด้วย การประเมินขีดความสามารถด้านดิจิทัลในปัจจุบัน (Existing Digital Capabilities), การกำหนดขีดความสามารถดิจิทัลใหม่ (New Digital Capabilities) และการวางแผนที่จะนำไปสู่ขีดความสามารถด้านดิจิทัลใหม่ที่กหนดขึ้น (Digital Initiatives and Roadmap)

.

ส่วนที่ 3: Transformation in Action – หรือการลงมือปฏิบัติว่าจะต้องทรานฟอร์มองค์กรยังไงบ้าง ซึ่งจะต้องเริ่มจากการทรานฟอร์มองค์กรให้เป็นองค์กรยุคดิจิทัล (Oraganisational Transformation) เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ อาจต้องมีการนำเครื่องมือต่างๆมาช่วย เช่นการนำกรอบคิดเรื่อง Learn, Unlearn และ Relearn มาใช้, นอกจากนั้นยังต้องปรับองค์กรให้มีความ Agile หรือมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายนอก ซึ่งจะต้องปรับทั้งกลยุทธ์และวิธีในการปฏิบัติงาน, ส่วนสุดท้ายคือ สร้างระบบนิเวศน์ที่มีส่วนช่วยกันระหว่างในและนอกองค์กร (Build Collaborative Ecosystem) เรื่องนี้อาจต้องมีปรับทั้งโครงสร้างและระเบียบการทำงานซึ่งจะต้องเน้นที่ผลลัพธ์ของธุรกิจโดยรวมและความพอใจของลูกค้า การคิดแบบ Collaborative นี้เชื่อว่าจะช่วยสร้างความยั่งยืนในระยะยาว

.

.


4) โมเดล 5D’s – Define, Discover, Develop, Deliver และ Data

.

เป็น framework ของขั้นตอนแบบคร่าวๆในการนำการทรานฟอร์มองค์กรไปสู่องค์กรดิจิทัลที่ตั้งเป้าไว้นะครับ โดยในแต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ต้องหาอ่านรายละเอียดกันต่อในหนังสือนะครับ

.

คร่าวๆก็คือ เริ่มจากการตั้งโจทย์ หรือคิดต่อยอดจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ (Define) แล้วจึงค้นหา ตรวจสอบและทดลองแนวคิดธุรกิจใหม่ที่จะหาองค์กรไป (Discover) ซึ่งในขั้นตอนนี้นั้นอาจอาศัยการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ Design Sprint มาช่วยต่อได้

.

หลังจากนั้นจึงเริ่มพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ โดยมีการนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มต่างๆเข้ามาใช้ (Develop) แล้วสุดท้ายก็คือการนำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ให้ลูกค้า (Deliver) โดยจะต้องมีการเก็บ feedback และวัดผลอยู่ตลอดเวลา

.

และตัวสุดท้ายที่จขาดไม่ได้เลยคือ ข้อมูล (Data) ที่ต้องมีการใช้ต่อเนื่องทั้งกระบวนการในทุกๆขั้นตอน

.

.

.

.

.

………………………………………………………………………….

✍ผู้เขียน: ธนพงศ์พรรณ ธัญญรัตตกุล (พจ)

🏬สำนักพิมพ์: วิช กรุ๊ป (ไทยแลนด์), บจก.

📚แนวหนังสือ: บริหารธุรกิจ, เทคโนโลยี

…………………………………………………………………………..

.

.

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

.

‪#‎หลังอ่าน‪#‎รีวิวหนังสือ‪#หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #‎reviewหนังสือ#DigitalTransformationCanvas #โมเดลทรานส์ฟอร์มธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโตครั้งใหม่ #ธนพงศ์พรรณธัญญรัตตกุล #พจธนพงศ#สำนักพิมพ์วิช #หนังสือบริหารธุรกิจ #หนังสือเทคโนโลยี







286 views0 comments

Recent Posts

See All
Post: Blog2_Post
bottom of page