top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ: ทำไมคุยกับคนนี้ แล้ว รู้สึกดีจัง

Updated: Aug 18, 2020




รีวิวหนังสือ ทำไมคุยกับคนนี้ แล้ว รู้สึกดีจัง

.

.

สารภาพเลยครับว่า เห็นหนังสือเล่มนี้ครั้งแรกแล้วชอบชื่อหนังสือ กับ การออกแบบปกมาก เลยเผลอหยิบมาก่อนเลย พอมาอ่านถึงได้รู้ว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับ ‘เทคนิคการพูด’ อีกเล่มหนึ่ง แต่เล่มนี้เขียนโดย นักจัดรายการวิทยุชื่อดังจากประเทศญี่ปุ่น จะต่างจากเล่มที่แล้วเรื่องเกี่ยวกับการ ‘คุยเล่น’ ที่เขียนโดยอาจารย์มหาลัย

.

.

จุดประสงค์ของหนังสือคือการนำเสนอ เทคนิคในการพูด หรือการสนทนากับผู้อื่นให้เกิดไหลลื่น และสร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนา เหมือนกับตัวชื่อหนังสือภาษาไทยที่ตั้งไว้ว่า ‘รู้สึกดี’ ที่ได้คุยกับคนนี้

.

หนังสือตั้งใจหยิบเทคนิคต่างๆมาช่วยคนที่ ‘มีปัญหาบกพร่องด้านการสื่อสาร’ หรือเป็นคนพูดไม่เก่ง ซึ่งประเด็นหลักสุดเลยของหนังสือที่นำเสนอออกมาคือ ‘เราไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง แต่ก็ทำให้คนอื่นรู้สึกดีที่ได้คุยกับเราได้’

.

.

เนื้อหาเป็นการรวบรวมจาก content จากรายการวิทยุที่ผู้เขียนจัด ซึ่งตามความเห็นผม พวกหนังสือที่เป็นการรวมเล่มจากcontent ย่อยๆนั้น อาจทำให้เนื้อหาในเล่มไม่ต่อกันมาก เหมือนจะเป็นการจบในตอนซะมากกว่า

.

.

.

…. [เนื้อหาในหนังสือ]…..

.แบ่งออกเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ภาคทฤษฎี กับ ภาคปฏิบัติ

.

โดยในส่วนของ [ภาคทฤษฎี] จะเหมือนเป็นการอธิบายให้เข้าใจว่า อะไรคือ rationale (หลักเหตุผล) ที่อธิบายถึง ‘การพูดคุยที่ประสบความสำเร็จ’

.

- เป้าหมายในการสื่อสาร บทนี้เน้นอธิบายว่า การสื่อสารไม่ใช่เพียงแค่การถ่ายทอดข้อมูล แต่ทุกครั้งที่ได้พูดคุย เราควรได้รับ 'ความรู้สึกผ่อนคลาย' หรือ 'ความสบายใจ' ด้วย

.

- แนวคิดที่ผมชอบมากจากบทนี้คือ ให้เราระลึกไว้เสมอว่า ‘เราต่างก็เคยเป็นคนแปลกหน้าของกันและกันมาก่อนทั้งนั้น’ เพราะฉะนั้นเวลาเจอคนแปลกหน้าในสถานที่สุดอึดอัดแบบลิฟต์ ก็อย่าไปกลัวที่จะเริ่มทักทาย เพราะครั้งแรกที่เจอแฟนเราก็ต้องทำในแบบเดียวกัน

.

- การมองว่าการพูดคุย คือ ‘เกม’ โดยทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือกันเพื่อที่จะเอาชนะ ‘ความรู้สึกอึดอัด’ ให้ได้ โดยทั้งสองฝ่าย ‘จำเป็นต้อง’ เล่นเกมนี้ และเกมการพูดคุยนั้น มีลักษณะที่ยืดหยุ่น ไม่ได้มีกฏเกณฑ์ตายตัว เราจะชนะเกมนี้ได้ก็ต่อเมื่อเรารู้สึกดีต่อการพูดคุยนั้น มีหลักพื้นฐานที่สำคัญสำหรับเกมการพูดคุยคือ 'เราต้องพยายามทำให้คู่สนทนาเป็นฝ่ายพูด’

.

- การเตรียมตัวลงสนามเล่มเกมการคุย คือ ปรับเปลี่ยนทัศนคติให้เอื้อต่อการสนทนาให้มากขึ้น เช่น อย่ารู้สึกไม่ชอบเวลาที่โดนล้อ เพราะ การโดนล้อไม่ได้แปลว่าการเล่มเกมแพ้ แต่เป็นการแสดงให้เห็นว่า คู้สนทนาลังร่วมมือในการสร้างบรรยากาศการพูดคุยและเอาชนะเกมการพูดคุยไปด้วยกัน และเชื่อมั่นว่าไม่มีใครเกลียด ตราบใดที่เรายังคุยกับคนอื่นด้วยความปราถนาดี

.

- อ่านบรรยากาศและปรับอารมณ์ให้กลมกลืนกับบรรยากาศการพูดคุย ณ ขณะนั้นๆ หรือ ไม่ก็สร้างบรรยากาศการพูดคุยขึ้นมาเองซะเลย ‘ความเงียบ’ เองก็เป็นบรรยากาศแบบหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดของความสัมพันธ์ เพราะความเงียบคือการส่งต่อความรู้สึกดีๆ จากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยไม่ต้องพูดอะไร

.

.

ส่วนใน [ภาคปฏิบัติ] นั้น จะเป็นการเอาเทคนิคที่ผู้อ่านสามารถเอาไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

.

- สนใจในตัวคู่สนทนา โดยตั้งคำถามที่แสดงออกว่าเราสนในตัวเขาจริงๆ

.

- ‘ไม่พยายามอยู่เหนือคู่สนทนา’ คือรู้จักปล่อยวาง ไม่ไปยึดติดว่า การพูดของเราต้องดูฉลาด ต้องดูโดดเด่นกว่าคนอื่น ซึ่งจริงๆแล้วทำได้ยากเพราะว่า การพยายามอยูเหนือกว่าคนอื่นถือเป้ฯสัญชาตญาณติดตัวมนุษย์เรามาตั้งแต่กำเนิดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นต้องฝึกฝน โดยมีเทคนิคช่วยง่ายๆอยู่สามข้อคือ ชื่นชมคู่สนทนา, แสดงความรู้สึกทึ่งบ่อยๆ, รู้สึกสนุกเข้าไว้

.

- เทคนิคการ ‘รับลูก’, ‘เลี้ยงลูก’ และ ส่งลูก คือ ตั้งใจฟังสิ่งที่คู่สนทนาเล่าแบบ 100% เอออห่อหมกไปกับคู่สนทนา ปรุงแต่งเล็กน้อยให้เป็นการรับฟังที่เยี่ยมขึ้น และ ตั้งคำถามที่น่าสนใจกลับไปให้คู่สนทนา เสร็จแล้วก็แค่ปล่อยให้คู่สนทนา ‘เลี้ยงลูก’ ของเขาอย่างมีความสุข ก็คือเล่าเรื่องของเขาอย่างสนุกในขณะที่เราตั้งใจฟังนั่นเอง

.

- ในเรื่องของการตั้งคำถามเอง ก็มีเทคนิคการตั้งคำถามย่อยลงไปอีก นั่นคือ ตั้งคำถามที่ ‘ตอบง่าย’, ตั้งคำถามที่คู่สนทนา ‘สนใจ’ และ ตั้งคำถามที่ ‘แคบ’ ระดับหนึ่ง หลีกเลี่ยงคำถามประเภท ‘เป็นไงบ้าง’

.

- การใช้กลยุทธ์คาแรกเตอร์ของ ‘ตัวตลก’ คือ การยอมให้คนอื่นหยิบข้อด้อยของตัวเองมา ‘แซว’ โดยไม่รู้สึกโกรธ หรือ รู้สึกไม่ดีกับคนๆนั้น เพราะกลยุทธ์นี้อาจเพิ่มความสนิทสนมให้กับเราและคู่สนทนาได้เร็ว และทำให้บรรยากาสการพูดคุยสนุกสนานยิ่งขึ้น

.

.

.

โดยสรุปแล้ว ผมรู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้ เป็นการเขียนแบบแชร์ประสบการณ์จากผู้เขียน มากกว่าที่จะเป็นหนังสือ how to สูตรสำเร็จแบบข้อๆ ดังนั้นอาจจะมีผู้อ่านที่อ่านไปแล้วรู้สึกว่า เทคนิคเหล่านี้ไม่ค่อยเหมาะกับตัวเองเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผมแนะนำว่าก่อนจะตัดสินใจซื้อ ก็อาจจะลองพลิกดูเนื้อหาบางส่วนก่อนคร่าวๆก็ดีครับ ส่วนตัวผมเองก็อ่านแค่ผ่านๆครับ เนื้อหายังไม่ได้ลงลึกและอัดแน่นมาก เหมาะกับการอ่านฆ่าเวลามากกว่า

.

.

............................................

✍ผู้เขียน : โยะชิดะ ฮิซะโนะริ

🏬สำนักพิมพ์ : WeLearn

📚แนวหนังสือ : การพัฒนาตัวเอง, จิตวิทยา, ศิลปะการพูด

............................................

.

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

.

‪#‎หลังอ่าน‬‬‬‬ ‪#‎รีวิวหนังสือ‬‬‬‬ ‪#‎reviewหนังสือ‬‬‬‬ #หนังสือ2020 #‪หนังสือจิตวิทยา #‎หนังสือพัฒนาตัวเอง #Welearn #สำนักพิมพ์welearn #โยะชิดะฮิซะโนะริ #ศิลปะการพูด #ทำไมคุยกับคนนี้แล้วรู้สึกดีจัง


195 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page