top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว ภาระที่อมไว้คายออกมาเถอะนะ



รีวิว สรุป 20 เทคนิคเลิกกังวลกับเรื่องเล็ก ๆ

จากหนังสือ ภาระที่อมไว้คายออกมาเถอะนะ

.

.

1. หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีทางเลือกมากเกินไป

เพราะทางเลือกที่มากเกินไป อาจสร้างความกังวลได้

.

เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เรื่องการเลือกเสื้อผ้า แต่ยังรวมถึงการเลือกงานและเลือกแฟน

ที่ถ้ามีทางเลือกมากเกิน ก็คงจะเกิดความลังเลใจ และกลัว “ตัดสินใจผิดพลาด”

ดังนั้นให้โฟกัสไปที่สิ่งที่ต้องการ และลดปัจจัยที่ทำให้เกิดทางเลือกมาเกินไปเถอะนะ

.

.

2. เลิกค้นหาข้อมูลให้มากเกินไป ก่อนตัดสินใต

ค้นหาพอประมาณก็พอ

บางคนติดนิสัยต้องหาข้อมูลให้ได้มาก ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อของ

หรือลองค้นรีวิวมาก ๆ ก่อนไปลองร้านอาหารร้านใหม่

พอค้นข้อมูลเยอะ แล้วพอลองไปกิน ดันไม่ถูกปากซะนิ

.

เรื่องนี้เกิดจากความคาดหวัง พอเราใช้เวลาค้นข้อมูลมาก ก็คาดหวังมาก

ดังนั้นรอบหน้าลองค้นข้อมูลให้น้อยลง คาดหวังน้อยลง และสนุกไปกับประสบการณ์ที่เกิดตรงหน้าดีกว่า

.

.

3. ทำหลายสิ่งให้เป็นกิจวัตรเพื่อรักษาพลังใจ

ความคิดคนรุ่นใหม่ที่ว่า “ต้องลองทำอะไรใหม่ ๆ” อยู่ตลอดเวลาอาจทำให้ใจล้าได้

เพราะมันเหมือนต้องแบกภาระไว้ในใจ

ดังนั้นลองเปลี่ยนกิจกรรมที่ทำซ้ำ ๆ ให้กลายเป็นกิจวัตร ทำโดยอัตโนมัติ

เพื่อรักษาพลังใจไว้ใช้กับเรื่องสำคัญจะดีกว่า

.

.

4. ตั้งกฎไว้กับตัวเอง จะได้คิดให้น้อยลง

เช่น ถ้าตั้งกฎกับตัวเองว่าจะทักคนรู้จักทุกครั้งที่เจอ

พอได้เจอคนรู้จักแล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งลังเลใจว่าจะเข้าไปทักดีรึเปล่า

ลดการใช้พลังในการคิดลงอย่างมาก

.

.

5. เปลี่ยนอารมณ์ต่าง ๆ ให้เป็นคะแนน

เช่นถ้าโกรธ ก็ลงอให้คะแนนอารมณ์ตัวเองดู 0 คือจิตใจสงบ

10 คือใจว้าวุ่นมาก โกรธมาก

ถ้าเราลองให้คะแนนตัวเองดู เราอาจค้นพบว่า แท้จริงแล้วมันอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรก็ได้

พอเทียบกับเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น

โดยเฉพาะถ้าเราให้คะแนนความโกรธเรื่องนั้น แค่ 6/10

.

.

6. เถรตรงเกินไป ก็เหนื่อยเปล่า ๆ

ลองปล่อยเรื่องเล็กน้อยให้ผ่านไปบ้าง

เช่น ถ้าเจอลูกน้องมาสาย 10 นาที ก็ใช่ว่าต้องเข้าไปตำหนิทุกครั้งไป

.

.

7. ดับวงจรความโกรธภายใน 90 วินาที

มีงานวิจัยที่บอกมาว่าอารมณ์โกรธจะอยู่กับเราเพียงแค่ 90 วินาที

หลังจากนั้นเราจะสงบลง

ดังนั้นถ้าเราโกรธจนอยากระบาย อย่าด่าคนตรงหน้า อยากเข้าไปต่อย

ให้รอ 90 วินาที

คิดเรื่องอื่นไปก่อน เช่น “เย็นนี้จะไปกินอะไรดีนะ”

หรือ “จะซื้อบิตคอยน์ตอนไหนดีนะ”

อย่าเพิ่งไปคิดเรื่องที่โกรธ เพราะจะเป็นการราดน้ำมันลงบนกองไฟ

.

.

8. ทำตัวซุ่มซ่ามบ้าง ไม่ต้องทำตัวเป็นคนเก่งตลอดเวลา

เพราะมันเหนื่อย

และยังมีงานวิจัยยืนยันอีกว่า คนที่ทำผิดพลาดเล็ก ๆ น้อย ๆ จะดึงดูดความสนใจของคนอื่นได้มากกว่า

เพราะคนอื่นรู้สึกเข้าถึงคนแบบนี้ มากกว่าคนที่ไม่เคยทำผิดพลาดอะไรเลย

.

.

9. ลองทำตัวเป็นตัวตลกในที่ทำงานดู ก็ลดบรรยากาศอึมครึมได้เหมือนกัน

เพราะบรรยากาศจะผ่อนคลายขึ้น และจะเริ่มมีเสียงหัวเราะเกิดขึ้น เพื่อนร่วมงานก็จะทำงานกันอย่างสนุกสนานมากขึ้น

.

.

10. ทดสอบตัวเองว่าเป็นคนใจเย็นแค่ไหน

ด้วยวิธีการหลับตาให้ได้ 1 นาที โดยห้ามลืมตาขึ้นมาก่อน

ถ้าเป็นคนที่รีบเร่งกับชีวิตมาก ไม่กี่วินาทีก็คงลืมตาแล้ว

ดังนั้นผ่อนคันเร่งชีวิตลงบ้างก็ได้

.

.

11. มีสติ และลองเพลิดเพลินไปกับอาหารกลางวันของตัวเองบ้าง

ไม่ต้องกินข้าวไป ทำงานไปทุกวัน

การมีสตืและลองใช้ชีวิตให้ช้าลงอาจทำให้เราได้เห็นความสวยงามในชีวิตมากขึ้นก็เป็นได้

.

.

12. ก่อนถึงบ้าน จงรีเซ็ตความรู้สึกของตัวเองก่อน

เราจะได้ไม่เอาความรู้สึกอันหนักอึ้งจากที่ทำงานกลับบ้านไปด้วย

.

.

13. หาวิธีทำสิ่งที่ชอบอย่างมีสมาธิ เพื่อรีเฟรชตัวเอง

สิ่งที่ชอบ x สมาธิ = รีเฟรช

เบี่ยงเบนตัวเองจากเรื่องงานชวนปวดหัวบ้าง เพื่อให้ตัวเองได้รีเฟรช

โดยทำสิ่งที่ชอบอย่างใจจดใจจ่อ

มันอาจจะเป็นอะไรก็ได้ อย่างการต่อจิ๊กซอว์ การเล่นไวโอลิน หรือการคุยกับคนพิเศษ

.

.

14. เขียนข้อดีของตัวเองออกมา เพื่อสร้างความมั่นใจ

เวลาต้องทำงานใหญ่ อย่างเช่นการพรีเซ้นต์งาน เรามักตื่นเต้น

วิธีหนึ่งที่จะลดความตื่นเต้นได้ คือการลิสต์จุดแข็งของตัวเองลงกระดาษ

อาจจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ ก็ได้

แต่มันเอาไว้เพิ่มความมั่นใจให้ตัวเราเองได้ก็เกินพอ

.

.

15. เลือกรูปหน้าจอโทรศัพท์ เป็นรูปช่วงเวลาที่เราภูมิใจในอดีต

เพื่อทำให้เรารู้สึกดีกับตัวเองทุกครั้งที่เปิดมือถือ

.

.

16. ใช้การนึกภาพแย่ ๆ หยุดพฤติกรรมไม่พึงประสงค์

เช่น ให้เรานึกถึงภาพมะเร็งปอด ตอนที่จะหยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ เพื่อทำให้ตัวเองกลัวจนไม่กล้าสูบ

.

.

17. ไม่ต้องอ่านข้อมูลแย่ ๆ เกี่ยวกับตัวเองทุกครั้งไป

เปิดดูผ่าน ๆ บ้างก็ได้

.

.

18. เล่นเกมลับสมอง เพื่อให้สมองได้ใช้ความคิด และไม่วิตกกังวล

เพราะสมองเราได้ทำงานเต็มที่จนไม่มีเวลาให้วิตกแล้ว

.

.

19. ไม่ต้องเล่าประสบกาณ์แย่ ๆ ให้ทุกคนฟังก็ได้

บางคนชอบขอคำปรึกษาเพื่อน

เลยกลายเป็นต้องเล่าเรื่องแย่ ๆ ของตัวเองให้เพื่อนฟังหลายรอบ

บางเรื่อง ปิดฝาไว้ก็ได้ เราจะได้ไม่ต้องไปจำมัน

.

.

20. ใช้เวลา 8 วินาทีเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเองไปที่เรื่องอื่น

เวลามีเรื่องที่เราไม่อยากคิดเข้ามาในหัว

หรือแม้กระทั่งความหิว ที่เข้ามารบกวนจิตใจเรา

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

เป็นหนังสือรวมเทคนิคสั้น ๆ ที่ทำให้เรากังวลน้อยลง ใจเย็นมากขึ้น ใช้ชีวิตให้ช้าลง

ตามแบบฉบับการเขียนสไตล์ญี่ปุ่นที่เน้นรวบรัด แต่ได้เนื้อหาไปแบบเน้น ๆ

.

โดยจุดขายก็คือการเปรียบเทียบกับตัวหนูแฮมสเตอร์ที่ถ้าใครเห็นก็คงอยากเข้าไปหยิกแก้มตุ่ย ๆ ของน้อง

แต่ถ้าหนูกินเมล็ดถั่วเยอะเกินไป ก็อาจกลายเป็น “น้องแก้มตุ่ย” ที่กักตุนอาหารไว้เยอะจนไม่สบายตัว

.

คนเราก็ไม่ต่างกัน ถ้าเราเอาภาระมากักตุนในตัวมากไป ก็คงรู้สึกไม่สบายตัว

เราเลยต้องหาวิธีกำจัดภาระต่าง ๆ ที่ถือไว้บ้าง

ลองเอาเทคนิคที่หนังสือเล่าไปทำให้ตัวเองผ่อนคลาย สบายตัวมากขึ้นดู

.

ต้องบอกว่าแม้เล่มนี้จะเป็นหนังสือ howto จากญี่ปุ่น

แต่ก็ไม่ได้เน้นไปที่ประสบการณ์ของผู้เขียนเพียงอย่างเดียว เหมือนเล่มอื่น ๆ

แต่เล่มนี้เน้นไปที่งานวิจัยเชิงจิตวิทยาที่ได้รับการตีพิมพ์จริง

ทำให้เทคนิคต่าง ๆ ที่หนังสือยกมา ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

และยังทำให้จำเทคนิคเหล่านี้ง่าน ถ้าจำตัวอย่างการทดลองที่หนังสือเล่าได้

.

ต้องบอกว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่กลมกล่อม

และผสานความเป็นหนังสือพัฒนาตัวเอง และฮีลใจได้ลงตัวมาก

เป็นอีกเล่มที่เหมาะกับยุคสมัย แนะนำครับ

.

.

พิกัดการสั่งซื้อ: https://shope.ee/7zc04PX83U

.

.

………………………………………………………………………………………………………..

ผู้เขียน: ไนโต โยะชิฮิโตะ

ผู้แปล: อทิตยา ทรงศิริ

จำนวนหน้า: 216 หน้า

สำนักพิมพ์: Bloom

เดือนปีที่พิมพ์: 10/2022

………………………………………………………………………………………………………..

.

.

#หลังอ่าน #ภาระที่อมไว้คายออกมาเถอะนะ




903 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page