top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ: ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น แค่หยิบเรื่องมา ‘คุยเล่น’ เพียง 30 วินาที


รีวิวหนังสือ ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็น แค่หยิบเรื่องมา ‘คุยเล่น’ เพียง 30 วินาที .

.

. หนังสือเล่มเล็กๆ สั้นๆ เนื้อหาดี แปลมาจากญี่ปุ่น คนเขียนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น เนื้อหาสำคัญของหนังสือเน้นไปที่การเพิ่มทักษะการ ‘คุยเล่น’ หรือ การคุยเรื่องสัพเพเหระ เรื่องที่ไม่ใช่เรื่องงาน เรื่องครอบครัว เรื่องชีวิต เป็นเรื่องทั่วๆไป หรือเรื่องที่บางคนเรียกว่าเรื่องไร้สาระ .

. ส่วนตัวผมคิดว่า ชื่อหนังสืออาจจะเว่อวังไปนิด ในจุดที่บอกว่า ‘ชีวิตจะดีขึ้น’ จากการหยิบเรื่องมาคุยเล่น เพราะเอาเข้าจริงแล้วหนังสือเองก็ไม่ได้อธิบายถึง ‘ความสำคัญ’ และ ‘ผลกระทบ’ ต่อชีวิต ที่มาจากการคุยเล่นสักเท่าไหร่ หนังสือเน้นไปที่การเทคนิคการเพิ่มทักษะการคุยเล่นซะมากกว่า .

.

สิ่งหลักๆที่เห็นชัดจากหนังสือเลย คือ ทุกวันนี้สังคมญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่อการคุยเล่น หรือการพูดคุยสื่อสารอยู่พอสมควร โดยเฉพาะพวกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ อย่าง Tokyo ทุกคนใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ และพูดคุยเฉพาะเรื่องที่จำเป็นและมีสาระ ทำให้เรื่องการคุยเล่นต่างๆในชีวิตลดน้อยลง และอาจกลายเป็นว่า พวกเขาเหล่านั้นคุยเล่นไม่เป็นแล้วด้วยซ้ำไป อาจารย์ผู้เขียนหนังสือ จึงอยากที่จะช่วยให้คนญี่ปุ่นได้ตระหนักถึงปัญหาในจุดนี้ และช่วยให้คนญี่ปุ่นได้พัฒนาตัวเอง โดยการเพิ่มทักษะการคุยเล่นเข้าไปเป็นอีกทักษะหนึ่งในการใช้ชิวิตวัน อาจารย์เองถึงขนาดเคยพูดว่า อยากเปิดเป็น ‘วิชาการคุยเล่น’ ให้นักศึกษามหาลัยได้ลงเรียนซะด้วยซ้ำไป แต่ก็อาจดูเป็นเรื่องยากไปหน่อย การเขียนหนังสือ pocket book เล่มนี้ออกมาเลยดูจะตอบโจทย์มากกว่า . เทคนิคการเพิ่มทักษะการคุยเล่นในแต่ละข้อ ถูกแบ่งย่อยๆออกมาเป็น 40 ทักษะ ซึ่งผมเองก็คงเอามาเขียนสรุปไว้ได้ไม่หมด เพราะเนื้อหาคงจะยืดยาวเกินไป และผมเองก็รู้สึกว่า เทคนิคบางข้อก็น่าสนใจดี แต่บางคนก็ค่อนข้างเฉยๆมากเทคนิคบางข้อก็เป็นเทคนิคที่เราทำๆกันอยู่แล้ว แต่แค่เราไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง . ….. เนื้อหาสำคัญในเล่มนะครับ

.

. ..ความสำคัญของการคุยเล่น..

. 1) การคุยเล่นเพียง 30 วินาที เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจของอีกฝ่ายว่า ‘ควรจะเข้าหา’ อีกฝ่ายต่อดีหรือไม่ เพราะ การคุยเล่นเป็นสิ่งที่กลั่นกรองมาจากตัวตน นิสัย และพฤติกรรมการเข้าสังคมทั้งหมดของเรา

. 2) ช่วยให้คนอื่นหาย ‘อึดอัด’ ระหว่างที่พูดคุย เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดี และ ลดช่องว่างระหว่างกัน ทั้งสอนเรื่องนี้นำมาซึ่ง ความง่ายในการทำงาน ทำให้คนเข้าหาและยอมรับในตัวเรามากขึ้น รู้สึกสบายใจและไว้วางใจในตัวเรา เป็นการทำให้เราได้มีโอกาสพบปะผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น โอกาสอื่นๆก็จะตามมาด้วย .

.

. ..หลักสำคัญของการคุยเล่น..

. 1) เปลี่ยนมุมมองซะใหม่ว่า การคุยแบบไม่มีสาระนั้นมี ‘ความหมาย’

. 2) ประกอบด้วย ‘คำทักทาย’ + ‘ลูกเล่น’ (ที่ช่วยให้บทสนทนาลื่นขึ้น)

. 3) ไม่จำเป็นต้องมีข้อสรุป เพราะถ้ามีบทสรุปจบเรื่อง การคุยเล่นจะไปต่อไม่ได้ มันควรจะเปลี่ยนเรื่องคุยไปเรื่อยๆ

. 4) ต้องตัดจบได้ คือ แค่นี้นะ ขอตัวก่อน แบบเนียนๆ

. 5) แค่ฝึกฝน ใครก็คุยเล่นเก่งได้ ข้อนี้จะต่างจาก การพูดเก่ง เพราะการคุยเล่น เน้นการสร้างบรรยากาศ คบค้าสมาคมกับผู้อื่น การรู้จังหวะการเข้าหา การชวนคุย จึงสำคัญ ไม่ใช่เรื่องวาทศิลป์ .

.

. เทคนิคเพิ่มทักษะการคุยเล่น (ส่วนนี้ผมจะยกมาแค่บางข้อนะครับ)

. 1) เปิดบทสนทนาด้วยการพูดชม ‘สิ่งที่เรามองเห็นของอีกฝ่าย’ เช่น เสื้อ กางเกง ทรงผม เข็มขัด เป็นการชมแบบไม่มีเหตุผล

. 2) ให้เริ่มคล้อยตามด้วย ‘การเห็นด้วย’ อย่ากไปเริ่มประโยคด้วยคำว่า ‘ไม่’ หรือ ‘แต่’

. 3) ข้อนี้ดีคือ การเอา ‘สูตร 80-20’ มาใช้ คือ ให้คู่สนทนาพูด 80 ตัวเราเองพูดแค่ 20 แต่ต้องปรับเปลี่ยนอัตราส่วนทองคำนี้ให้เข้ากับบทสถานการณ์ด้วย สิ่งสำคัญคือ อย่าเป็นฝ่ายพูดอยู่ฝ่ายเดียว ให้พยายามยิงคำถาม ถามกลับคู่สนทนาอยู่เรื่อยๆ

. 4) เชื่อมโยงไปยังหัวข้ออื่นๆ เพราะการคุยเล่นเป็นการขยายวงกว้างไปเรื่อยๆ ประโยคที่ดีมากๆอีกประโยคหนึ่งจากการคุยเล่นคือ ‘นี่เราคุยเรื่องอะไรกันอยู่นะ’ ทักษะที่ช่วยขยายวงของหัวข้อการคุยเล่นได้คือ ทักษะ ‘การหาจุดแตกประเด็น’ ที่ซ่อนอยู่ในเรื่องๆหนึ่งแล้วสามารถพาเราไปยังเรื่องอื่นได้

. 5) เรื่องที่ควรเอามาคุยเล่น คือ เรื่อง common ที่ทั้งสองฝ่ายสนใจ เรื่องที่กำลังเป็นกระแส หรือ เรื่องปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายเผชิญอยู่เหมือนกัน เพราะคนที่อยู่ในสถาการณ์แบบเดียวกันจะเข้าใจความรู้สึกของกันและกันดี (หัวอกเดียวกัน)

. 6) ข้อนี้แปลก คือ การเอาโต๊ะกับกาแฟ มาช่วยให้การคุยเล่นไหลลื่นขึ้น

. 7) อย่าถามคำตอบคำ!!

. 8) เปลี่ยนเรื่องนินทาให้เป็นเรื่องตลก หรือ เรื่องบันเทิง อย่าไปนินทาคนใกล้ตัวแบบหัวหน้า หรือ คนในที่ทำงานให้นินทาบุคคลที่สามไกลๆ อย่าง คนดังหรือดารา (ผู้เขียนเชื่อว่า คนพวกนี้เกิดมาเพื่อถูกนินทาอยู่แล้ว)

. 9) คนที่เหมาะสำหรับฝึกการคุยเล่นด้วย คือ คุณป้าร้านขายของชำ, คุณแม่อุ้มเด็กทารก, คนจูงหมา และ รถแท็กซี่ (ที่อาจได้ข้อมูลดีๆมามากด้วย)

. 10) คนที่คุยเล่นเก่ง คือ ‘คนที่เป็นกลาง’ คนที่ไม่ได้เอนเอียงไปถามกลุ่มไหน และเข้ากับทุกคนได้ เพราะจะเป็นการสร้างความผ่อนคลายให้กับวงสนทนา

. 11) ประชุมให้เหมือนกำลังสังสรรค์ สังสรรค์ให้เหมือนกำลังประชุม ตรงไปตรงมา

. 12) งานบางงาน เหมาะที่จะให้คุยเล่นไปด้วยทำไปด้วยมากว่า ห้ามคุยกันเลย เช่นงานจัดแฟ้มเอกสาร งานซ่อมรถยนต์

. 13) ใช้วิธีการจำแบบ ‘ลืมหน้าแต่ไม่ลืมเรื่อง’ คือ จำเรื่องเด่นๆที่สนทนากับอีกฝ่ายในคราวที่แล้วไว้ พอมาเจอกันอีกรอบ ก็หยิบเรื่องที่จำได้นั้น เอามาเป็นจุดเชื่อม หาบทสนทนาต่อ

. 14) เทคนิคการตัดบทและเข้าประเด็น เช่นทำธุรกิจแล้วต้องเซ็นสัญญาแล้ว ให้เปลี่ยนเรื่องที่คุยแล้วเข้าเรื่องเซ็นสัญญาแบบเนียนๆ ไม่ควรใช้การเปลี่ยนเรื่องแบบตรงๆ โจ้งๆ

. 15) ปลูกลูกอ้อน ให้ได้รับความเอ็นดูจากคนอื่น อันนี้อาจเป็นปัญหาของคนญี่ปุ่นที่แข็งๆตรงไปตรงมา เช่นถ้ามีคนเอาขนมมาให้แล้วเราไม่อยากกิน ก็อย่าปฏิเสธแบบดื้อๆ รับไว้เป็นน้ำใจแล้วชวนคุยจะดีกว่า

. 16) ไม่ว่าใครก็อยากคุยเล่น แม้แต่คนสูงอายุก็อยากจะมาคุยเล่นกัน หรือคุยเล่นกับวัยรุ่นเพราะอยากจะรู้เรื่องไร้สาระของเด็กรุ่นใหม่กันทั้งนั้น

. 17) การคุยเล่นมีอิทธิพลต่อตัวเราโดยไม่รู้ตัว เช่น หัวข้อที่คุยกัน ตอนแรกๆเราอาจจะไม่สนใจ แต่พอได้ฟัง ได้คุยเล่นในวงสนทนาไปเรื่อยๆ เราอาจจะสนใจมันโดยไม่รู้ตัว (อันนี้ผมยืนยันว่าจริงครับ จากประสบการณ์ตรง 555)

. 18) การคุยเล่นเป็นการช่วยเพิ่มสมาธิและจดจ่อกับการลงมือทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้มากขึ้น อาจารย์ผู้เขียนทดสอบวิธีนี้กับนักเรียนในคลาสเรียนโดยตรง พอหลังจากที่เด็กๆได้คุยเล่น ก็จะมีสมาธิจดจ่อกับการบรรยายได้มากขึ้น

. 19) การคุยเล่น เป็นการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษททีดีวิธีหนึ่ง ผู้เขียนสรุปง่ายๆว่า ทักษะการคุยเล่น คือทักษะการเอาตัวรอดนั่นเองครับ . .

.

กล่าวโดยสรุปแล้ว เป็นหนังสือที่อ่านง่ายมาก เนื้อหาและภาษาที่แปลออกมา ค่อนข้างตรงไปตรงมา และตัวอย่างๆต่างในหนังสือก็เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนอยู่แล้ว แนะนำให้เอามาอ่านแก้เบื่อได้ครับ แต่ไม่ต้องอ่านครบทุกเทคนิคก็ได้ เลือกอ่านเฉพาะเทคนิคที่ตัวเองสนใจ แค่นี้ก็เพียงพอและได้ประโยชน์ละครับ . . . ผู้เขียน : ไซโต้ ทะคะชิ สำนักพิมพ์ : WeLearn แนวหนังสือ : การพัฒนาตัวเอง, จิตวิทยา, ศิลปะการพูด .

. .

#library #readingrecommendations #‎หลังอ่าน‬‬‬‬ ‪#‎รีวิวหนังสือ‬‬‬‬ ‪#‎reviewหนังสือ‬‬‬‬ #หนังสือจิตวิทยา #‎หนังสือพัฒนาตัวเอง‬‬‬‬ #ชีวิตดีขึ้นทันตาเห็นแค่หยิบเรื่องมาคุยเล่นเพียง30วินาที #ไซโต้ทะคะชิ #WeLearn #สำนักพิมพ์welearn


218 views0 comments

Kommentare


Post: Blog2_Post
bottom of page