top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว แปลกพิกลคนรักหนังสือ



3 ข้อคิดสั้น ๆ หลังอ่านแปลกพิกลคนรักหนังสือ

Seven kinds of people you find in bookshops

.

.

1. คนเราอาจล้วนมีความแปลกซ่อนอยู่ทั้งนั้น

ในแปลกพิกลคนรักหนังสือ ผู้เขียนเจ้าของร้านหนังสือจะพยายามจัดกลุ่มหนอนหนังสือที่มาแวะเยี่ยมเยียนร้านเขา ด้วยลักษณะเด่นที่อาจดู “แปลก” จากคนปกติทั่วไป

แม้การเติมแต่งให้ลักษณะเหล่านั้นดูโดดเด่น อาจเป็นการเพิ่มอรรถรสในการอ่านนิยาย

แต่ข้อคิดที่สังเกตได้คือ เราทุกคนอาจเคยทำพฤติกรรมแปลก ๆ ในสายตาคนอื่นด้วยกันทั้งนั้น

ไม่ต่างอะไรจากลูกค้าของเจ้าของร้าน

.

ลูกค้าเหล่านั้นอาจไม่รู้ตัว หรือไม่แคร์

เพราะสุดท้าย ถ้าไม่ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อน ก็อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร

.

เรื่องนี้นำมาปรับใช้ได้กับหลาย ๆ เรื่อง

บางครั้ง พฤติกรรมเราในหลาย ๆ เรื่องแม้จะดูแปลกสำหรับคนอื่น แต่ถ้ามันไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน ก็ทำไปเถอะ

เพระาทุกคนก็ล้วนมีเรื่องแปลกด้วยกันทั้งนั้น

.

.

2. ถ้าเราช่างสังเกต เราอาจเจออะไรได้มากกว่าที่คิด

เหมือนที่เจ้าของร้านหนังสือมีความช่างสังเกต และมักสังเกตเห็นพฤติกรรมที่ตัวเองว่าแปลกของลูกค้า

จนกระทั่งจัดหมวดหมู่และเขียนออกมาเป็นนิยาย 1 เล่มได้

.

ถ้าจะเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในด้านการทำงาน ถ้าเราหมั่นสังเกตพฤติกรรมลูกค้าดี ๆ

เราก็อาจเจอจุดที่นำไปปรับปรุงบริการของเรา หรือต่อยอดผลิตภัณฑ์ของเราได้

.

ถ้าในมุมความสัมพันธ์ ถ้าเราหมั่นสังเกตพฤติกรรมคนรักเราดี ๆ

เราก็อาจเข้าใจเข้ามากขึ้น และยังอาจสร้างความประทับใจได้เพิ่มมากขึ้นด้วย

.

.

3. ในวันที่เรามีลูกค้า เราอาจชินชา แต่พอวันที่เราขาดพวกเขาไป เราจะคิดถึงเขาอย่างมาก

หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นตอนช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ร้านหนังสือของผู้เขียนต้องปิดตัวลงชั่วคราว

เขาจึงคิดถึงลูกค้าของเขามาก จนกระทั่งเรียบเรียงเรื่องราวของลูกค้าเขาออกมาได้เป็นเล่ม

.

แท้จริงแล้วพวกเราอาจเคยเจอเรื่องแบบนี้กันทุกคนก็เป็นได้

วันที่เรามีงานทำ เราก็ทำเหมือนว่ามันเป็นความเคยชิน

แต่พอวันไหนเราขาดงานไป เราอาจรู้สึกเคว้ง และคิดถึงงานขึ้นมาก็เป็นได้

.

ถ้านับเรื่องความสัมพันธ์เข้าไปด้วยแล้วจะยิ่งชัดเจนขึ้นไปอีก

ดังนั้นเราไม่ควรมองข้ามความธรรมดาในทุกวันที่เราเจอ

.

รีวิวหลังอ่านสั้น ๆ

แปลกพิกลคนรักหนังสือ เป็นหนังสือเรื่องเล่ากึ่งนิยายเขียนขึ้นโดยฌอน ไบเทลล์ เจ้าของร้านหนังสือมือสองที่ใหญ่ที่สุดใน สกอตแลนด์

ตลอดเล่ม ฌอน แบ่งลูกค้าของเขาออกเป็นสกุลและสปีชีส์ต่าง ๆ ตามพฤติกรรมและลักษณะเด่นของลูกค้าแต่ละกลุ่มในแบบจิกกัด

เช่น สกุลผู้เชี่ยวชาญ สกุลพ่อแม่ที่ลูกเล็ก สกุลมนุษย์บำนาญเคราครึ้ม

.

โดยรวมแล้ว นักอ่านชาวไทยอย่างเรา ๆ อาจไม่อินกับหนังสือเล่มนี้เท่าไหร่

เพราะบริบทของหนังสือค่อนข้างแตกต่างจากที่ไทย ทั้งในเรื่องร้านหนังสือมือสองที่มีน้อยมากในไทย จำนวนนักอ่านคนไทยที่น้อยกว่าคนที่นู่นมาก และลักษณะหลายอย่างที่แฝงวัฒนธรรมของสกอตแลนด์ โดยถ้าคนไทยไม่เคยไปอยู่ที่นู่นอาจไม่เข้าใจ หรือไม่อินเท่าไหร่

.

ผมเป็นหนึ่งในคนที่ไม่อินกับเล่มนี้

และพบว่าภาษาอ่านยาก ซึ่งอาจเกิดจากบริบทมากกว่า

แต่ก็ทำให้ความสนุกลดน้อยลงไป

.

แต่ถ้าใครเป็นสายนิยาย หรือเป็นหนอนหนังสือที่ชอบไปยืนอ่านในร้าน ก็อาจอินกับเล่มนี้ได้มากขึ้น

.

.

........................................................................................

ผู้เขียน: Shaun Bythell

จำนวนหน้า: 168 หน้า

สำนักพิมพ์: Be(ing) (บีอิ้ง)

เดือนปีที่พิมพ์: 10/2021

........................................................................................

.

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.




134 views0 comments

Comentarios


Post: Blog2_Post
bottom of page