top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว เศรษฐีชี้ทางรวย





รีวิว เศรษฐีชี้ทางรวย

The Richest Man in Babylon

.

.

‘ความลับของความมั่งคั่งที่ถูกค้นพบตั้งแต่สมัยนครบาบิโลนเมื่อ 4000 ที่แล้ว’

.

หนังสือว่ากันด้วยเรื่องเส้นทางสู่ความมั่งคั่งร่ำรวยที่เชื่อกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยนครบาบิโลนโบราณแล้ว

.

นิยายกึ่ง howto เล่มนี้เขียนขึ้นโดยจอร์จ เอส. เคลสัน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1926 เกือบ 100 ปีที่แล้ว โดยเล่าเคล็ดลับไปสู่ความมั่งคั่งผ่านเรื่องราวของผู้คนชาวบาบิโลน ที่ก็ต้องทำมาหากิน ประดังชีวิตด้วยการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแลกกับค่าตอบแทน ไม่ต่างจากคนสมัยนี้

.

น่าทึ่งมากที่ ด้วยโลกที่หมุนด้วยระบบทุนนิยม คนในระบบไม่ว่าจะเป็นคนยุคก่อนหรือยุคนี้ก็ต่างต้องทำงานหนัก เก็บหอมรอมริบ และรู้จักการลงทุน เพื่อให้ตัวเองมีเงินใช้เพียงพอได้ตลอดชีวิต

.

เรื่องราวในหนังสือ ถ้าถอดเป็นบทเรียนการเงินเป็นข้อๆ ก็มีความคล้ายคลึงกับหนังสือการเงินสมัยใหม่มาก เช่นหนังสือของโค้ชหนุ่ม Money 1010 หรือ หนังสือของลงทุนศาสตร์ the money lecture

.

แต่ถ้าจะพูดให้ถูกต้องน่าจะบอกว่าหนังสือใหม่ๆพวกนั้นได้รับแรงบันดาลใจมาจากหนังสือ The Richest Man in Babylon มากกว่า

.

แม้จะมีบริบทการเล่าที่ต่างกันมาก แต่แก่นแท้สู่ความมั่งคั่งเป็นเรื่องที่คลาสสิคและสามารถนำมาประยุกต์ได้ทุกสมัยจริงๆ เช่น แม้คนในบาบิโลนจะใช้ทองแดงเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยนแทนเงินตราที่ใช้ในปัจจุบัน ใช้ถุงเงินแทนที่ฝาก/ออมเงินแทนธนาคาร หรือซื้อทองคำเพื่อการลงทุน แต่หลักการแลกเปลี่ยน ออมเงิน และลงทุนในสินทรัพย์ไม่มีอะไรต่างจากโลกปัจจุบันเลย

.

สิ่งที่ต่างคือ โลกปัจจุบันมีตัวเลือกเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ทั้งการใช้ธนบัตร ใช้เหรียญ ใช้การโอนเงิน ใช้การฝากเงินไว้ในตัวกลางอย่างธนาคาร ใช้การลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย ทั้งทองคำ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือ เหรียญคริปโต

.

เพราะฉะนั้นแล้ว การอ่านหนังสือเล่มนี้จะได้หลักการสู่อิสรภาพทางการเงินที่นำไปปฏิบัติได้จริง โดยอย่างๆน้อยๆก็จะมีเงินเก็บพอใช้ และรักษาสภาพคล่องทางการเงินได้ไม่ขัดสน

.

การใช้การเปรียบเทียบกับนิยายผู้มั่งคั่งแห่งบาบิโลนก็ยังช่วยให้คนอ่านจำเรื่องราวได้มากขึ้น และสนุกไปกับการดำเนินไปของตัวละคร แต่ตัวละครในเรื่องนี้ชื่อจะแปลกๆนิดหน่อย

.

เรื่องย่อ สามารถกล่าวโดยสังเขปได้ว่า อาร์คัด ชายผู้ร่ำรวยที่สุดแห่งบาบิโลน ผู้ผ่านประสบการณ์การยากจน และเคยเป็นคนถังแตกมาก่อน ได้มาเปิดคอร์สสอนวิชาการเงินกับเพื่อนๆของเขาที่มาจากต่างสาขาอาชีพ เช่น พ่อค้าเนื้อแพะ ช่างจารึกบนแผ่นดินเหนียว ช่างทำรองเท้า ช่างเจียระไนเพชร คนเลี้ยงอูฐ ซึ่งทุกคนมีสิ่งที่เหมือนกันคือทำงานหนัก แต่ไม่เคยเก็บเงินได้เลย

.

อาร์คัด จึงอยากแชร์ความลับของความมั่งคั่งที่ล้วนมาจากการเริ่มเก็บหอมรอมริบแต่เล็กน้อย จนไปถึงการลงทุนซื้อทองคำ

.

นอกจากนี้เขายังจารึกเคล็ดลับการเงินเหล่านี้ลงบนแผ่นดินเหนียว ซึ่งต่อมาถูกค้นพบในภายหลัง (มีการค้นพบแผ่นดินเหนียวพวกนี้จริงๆ)

.

.

สำหรับข้อคิดทางการเงินที่อยากนำมาแชร์ต่อมีอยู่ 4 ส่วนหลักๆ

(1) 7 วิธีเยียวยาถุงเงินที่ว่างเปล่า

.

ในคอร์สสอนการเงินของ อาร์คัด นักเรียนของเขาซึ่งก็คือเพื่อนของเขาที่ประกอบอาชีพต่างๆ ล้วนเจอปัญหากับถุงเงินที่ว่างเปล่า แม้จะทำงานหนักไหนก็ตาม ซึ่งอาร์คัดก็เคยเป็นมาก่อน จนกระทั่งได้ค้นพบ howto 7 ข้อที่ทำให้เขาเติมเต็มถุงเงินที่ว่างเปล่าของเขาได้

.

ข้อที่ 1: เริ่มพอกพูนเงินในทุกเงินด้วยการหัก 10% จากรายได้มาเก็บออม ก่อนนำไปใช้จ่าย

ฟังดูพื้นฐานมาก แต่ถ้าเราไม่เคยหักเงินส่วนหนึ่งมาเก็บออมเลย หรือใช้วิธีใช้จ่ายก่อน เก็บออมทีหลัง สุดท้ายเราก็มักจะใช้เงินไปกับสิ่งของล่อตาล่อใจจนไม่เหลือเก็บ

.

ข้อที่ 2: ควบคุมการใช้จ่าย

ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น โดยการจดบันทึกไว้ว่า ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเราหมดไปกับอะไรบ้าง ส่วนไหนที่อยู่ในค่าใช้จ่ายไม่จำเป็น เราก็ต้องพยายามลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลง

.

ข้อที่ 3: ทำให้ทองทวีคูณ

เมื่อมีเงินเก็บแล้ว ลดค่าใช้จ่ายแล้ว ก็ถึงเวลาลงทุน เพื่อให้เงินทำงาน อย่าเก็บเงินไว้ในถุงเงินเฉยๆ แต่เราต้องศึกษาวิธีการลงทุนเพื่อให้เงินทำเงินต่อ

.

ข้อที่ 4: ปกป้องทรัพย์สินจากการสูญเสีย

เมื่อเริ่มมีเงินเก็บที่พอกพูนขึ้นแล้ว เราต้องรู้จักการประเมินความเสี่ยง เมื่อเรากำลังจะลงทุนอะไรก็ตาม เราต้องพิจารณาให้รอบคอบว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหน ที่การลงทุนนี้จะกระทบเงินต้นของเรา วิธีหนึ่งที่หนังสือแนะนำคือการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน

.

ข้อที่ 5: ทำให้เคหสถานเป็นการลงทุนที่ปลอดภัย

บ้านคือวิมานของเรา เมื่อเราลงทุนจนถึงจุดหนึ่งแล้ว น่าจะเป็นการดีที่เราลองหาบ้านเป็นของตัวเอง มองให้บ้านเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง และเป็นสถานที่พักใจเมื่อยามเหนื่อยล้า

.

อย่าให้บ้านเป็นการลงทุนที่ขูดรีดขูดเนื้อ และทำให้เราหมดกำลังใจ การมีบ้านเป็นของตัวเอง เหมือนเป็นการลงทุนระยะยาว ที่จะช่วยสร้างความรับผิดชอบในการจัดการดูแล และบริหารเงินอีกด้วย

.

ข้อที่ 6: รู้จักประกันรายได้สำหรับอนาคต ในยามชรา

เตรียมเงินไว้ใช้เมื่อถึงวันที่เราเกษียณ การซื้อประกันก็เป็นวิธีหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ หรือประกันชีวิต เพื่อให้เราและครอบครัวยังสามารถเดินต่อไปได้ แม้จะเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้นก็ตาม

.

ข้อที่ 7: เพิ่มพูนความสามารถในการหาเงิน

อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเอง จงมองหาทักษะใหม่ๆที่จะทำเงินได้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการทำงานหรือการบริหารเงินก็ตาม

.

.

(2) เทพแห่งโชคลาภ

.

เมื่อเราเห็นคนที่ประสบความสำเร็จ เรามักจะอ้างว่าคนเหล่านั้นโชคดี มีเทพแห่งโชคลาภเข้าข้าง

.

แต่เราไม่ทางรู้เลยว่าเบื้องหลังนั้น เขาต้องพบเจออะไรมาบ้างกว่าจะมาถึงความสำเร็จได้

.

แน่นอนว่าบางครั้งโชคก็ไม่ได้เข้ามาหาทุกคนในแบบเดียวกัน บางคนอาจเจอโชคที่ดีกว่าคนอื่น

.

แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นไม่มีเหตุผลที่เราควรไปโฟกัสที่เรื่องนั้น

.

สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ‘การลงมือทำไปเรื่อยๆ’ ไม่นั่งรอให้โชคเข้ามา การลงมือทำหมายถึงการทำตัวเองให้พร้อมสำหรับเปิดรับโอกาสใหม่ๆ และเมื่อวันที่โอกาสสอยมาหาเรา เราก็ต้องไม่ลืมคว้าไว้ให้แน่น

.

.

(3) กฎ 5 ข้อของทองคำ

.

1. ทองคำย่อมหลั่งไหลมามากขึ้นเรื่อยๆ สู่ทุกคนที่เก็บออมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของรายได้ทั้งหมด เพื่อสร้างหลักฐานสำหรับอนาคตของตนเองและครอบครัว

.

ข้อนี้เป็นการเน้นย้ำอีกครั้งให้เรารู้จักเก็บออม อย่างๆน้อยก่อนจะนำเงินไปใช้จ่าย เราต้องเก็บเงินให้ได้อย่างน้อย 10% ของรายได้ทั้งหมด

.

2. ทองคำย่อมเต็มใจทำงานอย่างขยันขันแข็ง ให้กับเจ้าของผู้ชาญฉลาดที่รู้จักนำมันไปใช้ให้เกิดดอกออกผล มันจะทวีคูณขึ้นประหนึ่งฝูงปศุสัตว์ในท้องทุ่ง

.

ข้อนี้เน้นย้ำถึงความสม่ำเสมอในการลงทุน และเรียนรู้ที่จะพัฒนาความรู้ด้านการลงทุน

.

3. ทองคำย่อมภักดีเหนียวแน่นต่อเจ้าของผู้รอบคอบ ที่นำมันไปลงทุนภายใต้คำแนะนำของคนที่ฉลาดในการจัดการ

.

ข้อนี้บ่งบอกให้เรามองหากูรูด้านการลงทุนมาช่วยสอนและชี้แนะแนวทางการลงทุน แต่เราต้องเลือกคนเป็น เพราะถ้าเราเลือกคนผิด เหมือนการเชื่อพ่อค้าอูฐว่าจะไปหาเพชรพลอยมาให้ สุดท้ายการลงทุนของเราก็สูญเปล่า และเงินต้นก็อาจหายไปด้วย

.

4. ทองคำย่อมหลุดลอยจากมือของคนที่นำมันไปลงทุนในธุรกิจ หรือจุดประสงค์ที่เขาไม่คุ้นเคย

.

ข้อนี้บ่งบอกชัดเจนว่า เราควรลงทุนในสิ่งที่เรารู้ อย่าหลงกลไปลงทุนตามความเชื่อคนอื่นโดยขาดความรู้

.

5. ทองคำย่อมหลบหนีจากคนที่บังคับให้มันหารายได้แบบเป็นไปไม่ได้ หรือจากคนที่ทำตามคำแนะนำล่อใจของคนเจ้าเล่ห์เจ้าอุบาย หรือจากคนที่นำมันไปลงทุนด้วยความอ่อนประสบการณ์ และด้วยความปรารถนาอันเพ้อฝันของตน

.

ข้อนี้บอกให้เราระวังมิจฉาชีพ และระวังความโลภของตัวเอง อย่าไปลงทุนในพวกแชร์ลูกโซ่ที่ให้ผลตอบแทนชนิดที่เป็นไปไม่ได้ในโลกความเป็นจริง

.

.

.

(4) จิตวิญญาณแห่งเสรีชน และการปลดหนี้

.

บทสุดท้ายที่อยากแชร์คือ เรื่องราวเมื่อเราต้องเจอกับสภาวะการเป็นหนี้

.

ตัวละครในเรื่องการติดเงินคนนู้นคนนี้ไปเรื่อยเมื่อเป็นหนี้ และสุดท้ายก็ต้องกลายไปเป็นทาส เมื่อไม่สามารถหมุนเงินทันอีกต่อไป

.

แต่ด้วยจิตวิญญาณแห่งเสรีชน ในที่สุดเขาก็ใช้ความรู้ความสามารถที่มีในการปลดหนี้ และกลับมาทำตัวเป็นคนที่น่าเคารพนับถือได้

.

สิ่งที่เขาเรียนรู้จากบทเรียนการติดหนี้ และต้องใช้ชีวิตเป็นทาสคนอื่นคือ การไม่ยอมแพ้

.

ถ้าใจไม่ยอมแพ้ เราก็จะหาหนทางในการแก้ปัญหา ด้วยศักยภาพที่มีจนได้ แม้ชีวิตตอนนั้นจะติดลบยังไงก็ตาม จงมองดูว่าเรามีอะไรบ้างที่นำออมาใช้ได้ และไขว่ขว้าหาโอกาสในการปลดตัวเองออกจากพันธนการของการเป็นหนี้

.

แต่แน่นอนว่าสิ่งที่ดีกว่าคือ การไม่ใช้จ่ายเนตัวจนทำให้ตัวเองเป็นหนี้ใคร

.

.

เล่ม The Richest Man in Babylon ผมฟังมาจากแอบพลิเคชันหนังสือเสียง Storytel ครับ ขอขอบคุณทางแอบพลิเคชันมากๆ

.

สุดท้ายนี้ผมขอแนะนำแอบพลิเคชันหนังสือเสียง @Storytel ที่มีหนังสือเสียงให้เลือกฟังหลากหลายทั้ง หนังสือการเงิน หนังสือบริหารธุรกิต หนังสือพัฒนาตัวเอง นิยาย และยังมี Podcast น่าสนใจให้เลือกฟังได้อีกมากจนไม่รู้จักเบื่อ

.

.

...................................................................................................

ผู้เขียน: George S. Clason (จอร์จ เอส. เคลสัน)

ผู้แปล: วรรธนา วงษ์ฉัตร

จำนวนหน้า: 160 หน้า

สำนักพิมพ์: ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.

เดือนปีที่พิมพ์ครั้งแรก : 2013

...................................................................................................

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #100เล่มควรอ่านก่อน30 #เศรษฐีชี้ทางรวย #TheRichestManinBabylon




200 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page