top of page
Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว เรื่องนี้ดี รู้งี้อ่านนานแล้ว


7 ข้อคิดชีวิตในวันที่ท้อ

จากหนังสือ เรื่องนี้ดี รู้งี้อ่านนานแล้ว

.

.

1) ชีวิตใหม่เริ่มต้นได้ทุกวัน

ไม่จำเป็นว่าเราต้องอายุ 20 30 หรือ 40 ถึงจะเริ่มทำสิ่งต่างได้

เพราะมันเป็นการตัดสินใจของเราเอง ว่าเราตื่นขึ้นมาแล้ว อยากจะทำมันรึเปล่า

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขอให้เราเข้มแข็ง อดทน และตั้งใจ

ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ การเริ่มต้นใหม่เกิดขึ้นได้เสมอ

.

.

2) จงสนุกกับชีวิตอยู่เสมอ

แม้หลายคนอาจเคยคิดว่า เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว เราต้องวางมาด เราต้องนิ่ง เราต้องรู้สึกเฉย ๆ กับสิ่งต่าง ๆ

แต่ความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าเราจะโตขึ้นขนาดไหน เราก็ยังมีเรื่องสนุก ๆ ให้ทำได้อยู่เสมอ

แม้คนอายุ 50 หรือ 90 เราก็ยังมองหาความสนุกที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้

.

เพราะความจริงแล้วหัวใจเราทุกคนล้วนมีความเป็นเด็กน้อย

ลึก ๆ แล้วความอยากรู้อยากเห็นนั้นยังอยู่ในใจของทุกคน

และความจริงอีกอย่างก็คือ โลกของเรามีอะไรที่เราไม่รู้อีกเยอะ !!

.

.

3) ไม่ลงแข่ง เราจะยิ่งแพ้

หลายคนมีสนามที่อยากลองลงแข่ง แต่ก็ไม่ได้เริ่มทำสักทีเพราะ ‘กลัว’

กลัวว่าจะทำไม่ได้

กลัวว่าถ้าแพ้ขึ้นมาแล้วจะทำใจไม่ไหว

กลัวว่าตัวเองยังไม่พร้อม

.

แต่ความจริงแล้ว ถ้าเรายิ่งกลัว เราก็จะยิ่งไม่พร้อม และไม่ได้ลงแข่งเสียที

และการไม่แข่ง นั่นก็คือการแพ้ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น

.

ดังนั้นแล้ว ไม่ว่าตอนนี้เราจะเป็นใคร อายุเท่าไหร่

ทุกอย่างมีหนทางที่จะทำให้เกิดขึ้นได้

ภายใต้เงื่อนไขว่า เราต้องลงมือทำมัน

.

.

4) การทำงานจริงมีสูตร แต่ไม่มีสูตรสำเร็จ

เปรีนยเหมือนการปรุงอาหาร ที่ต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์ของเชฟ

เชฟต้องลองกะปริมาณวัตถุดิบที่จะใส่ลงในอาหารแต่ละจาน

ถ้าใส่น้ำตาลมากเกิน ก็หวานเกินไป ถ้าบีบมะนาวมากเกินก็เปรี้ยวเกินไป ถ้าใส่พริกเยอะเกิน คนกินก็คงแสบท้องกินไม่ไหว

แต่ประเด็นคือ การกะปริมาณสิ่งเหล่านี้มาจากความชำนาญ และประสบการณ์

.

เชฟที่เก่ง ๆ ต้องหมนั่สังเกต

และคอยปรับสูตรให้เหมาะกับลูกค้าที่จะเสิร์ฟ

ไม่มีสูตรตายตัวในการทำอาหาร

.

การทำงานก็ไม่ต่างกัน

เราต้องหมั่นสังเกต และปรับวิธีทำงานให้เหมาะสมกับตัวเอง

ไม่มีสูตรตายตัวในการทำงานให้สำเร็จ

สูตรสำเร็จของคนหนึ่งอาจเหมาะกับเขา แต่ไม่เหมาะกับเราก็เป็นได้

.

.

5) แบ่งประเภทงานเป็น 4 หมวดแล้วชีวิตจะสบาย

โดยแบ่งตามแกน ความเร็ว-ช้า (ความเร่งด่วน) และความหนัก-เบา (ความสำคัญ)

- ถ้างานที่หนัก และเร็ว คืองานที่สำคัญ และเดดไลน์กำลังจะมาถึง เราต้องรีบทำด่วน ๆ

- ถ้างานที่หนัก แต่ช้า คืองานสำคัญ แต่ยังไม่ต้องรีบส่ง

- ถ้างานที่เบา แต่เร็ว คืองานง่าย ๆ ที่มอบหมายให้คนอื่นทำแทนได้

- ถ้างานที่เบา และช้า ค่อยทำเวลาว่าง ๆ ก็ได้

.

สิ่งสำคัญของการแบ่งงาน คือ ถ้าเรามองงาน ๆ หนึ่งว่าไม่เร่งด่วน เราก็จะไม่ได้ลงมือทำมันเสียที

เช่น การออกกำลังกาย

ที่ใคร ๆ ก็ต่างรู้ว่าสำคัญ

แต่มีไม่กี่คนที่ลงมือทำจริง ๆ และคนเหล่านั้นมักจะมองงานนี้ว่าเป็นงานสำคัญ และเร่งด่วน !

.

ดังนั้นแล้วการจัดลำดับงานจึงสำคัญมาก

เวลาเป็นสิ่งที่มีจำกัด จงจัดความสำคัญดี ๆ

.

.

6) จงมองหาสิ่งที่สวยงาม แม้จะมีสิ่งเลวร้ายรายรอบมากแค่ไหนก็ตาม

ในสังคมโซเชียลมีเดีย คนเรามักมองหาแต่ข่าวร้าย

และกลายเป็นว่า มีสิ่งแย่ ๆ เรื่องลบ ๆ เต็มไปหมด

ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว ยังมีข่าวดีอีกมากมายให้เราได้เสพ

เพียงแต่เรามักมองข้ามมันไป

.

จงนึกถึงกำแพงวัดที่หนึ่งที่เกิดจากการเรียงกันของหิน 1,000 ก้อน

มีหินที่บิดเบี้ยวอยู่ 2 ก้อน และมีหินดีอยู่ 998 ก้อน

ประเด็นคือ คนเรามักจะโฟกัสกับหิน 2 ก้อนนั้น แทนที่จะมองว่ายังมีหินที่เรียงตัวสวยงามอีกมาก

.

ชีวิตเราก็เป็นแบบนี้ ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ

ทุกชีวิตมีรอยด่างพร้อย

ขึ้นกับว่าเราจะเลือกมองอะไร

.

.

……………………………………………………………………………………………………………………

ผู้เขียน: สรกล อดุลยานนท์, ยุทธนา บุญอ้อม, วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์, สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์, นที เอกวิจิตร, ภริษา ยาคอปเซ่น, วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

จำนวนหน้า: 208 หน้า

สำนักพิมพ์: I AM THE BEST

เดือนปีที่พิมพ์: 2020

……………………………………………………………………………………………………………………

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #เรื่องนี้ดีรู้งี้อ่านนานแล้ว




74 views0 comments

Comments


Post: Blog2_Post
bottom of page