สรุป 10 ข้อคิดสำคัญจาก หนังสือ อิคิไก: ความหมายของการมีชีวิตอยู่ (The Little Book of Ikigai) .
.
1. ในภาษาญี่ปุ่น ‘อิคิ’ แปลว่า ชีวิต และ ‘ไก’ แปลว่า เหตุผล
‘อิคิไก’ จึงเป็นคำสั้น ๆ แปลความหมายได้ว่าการใช้ชีวิตอย่างมีความหาย หรือเหตุผลในการใช้ชีวิตของคนเรา
.
2. คนเราทุกคนสามารถมีอิคิไกได้โดยไม่ต้องประสบความสำเร็จ
เราแค่ต้องควานหาความหมายของสิ่งที่เราทำอยู่จนเจอ
.
3. ความสำคัญของการมีอิคิไก
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งเกี่ยวกับอิคิไก ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ. 2008 ชื่องานวิจัยว่า ‘Sense of Life Worth Living (ikigai) and Mortality in Japan’: Ohsaki Study, Sone et al.’ จัดทำโดยนักวิจัยจากโรงเรียนแพทย์ในมหาวิทยาลัยโทโฮคุ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์คือ ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างอิคิไกและประโยชน์ต่อสุขภาพ
วิธีวิจัยคือส่งแบบสอบถาม 54,996 ชุดไปยังกลุ่มตัวอย่าง โดยในแต่ละชุดมี 93 ข้อ ถามเกี่ยวกับสุขภาพ ครอบครัว การศึกษา และปัจจัยอื่นๆ และอีกหนึ่งคำถามที่ถามว่าคุณมี ikigai ในชีวิตหรือไม่ ให้เลือกว่ามี ไม่แน่ใจ หรือไม่มี
.
ผลปรากฏว่า คนที่มีอิคิไกจะอยู่อย่างมีความสุขและกระฉับกระเฉงมากกว่าคนที่ตอบว่าไม่มี
.
4. นอกจากนี้ กลุ่มคนที่ตอบว่ามีอิคิไกมี ‘อัตราการเสียชีวิต’ ต่ำกว่ากลุ่มคนที่ตอบว่าไม่มีอย่างมีนัยสำคัญ นี่อาจเพราะว่าคนที่มีอิคิไกมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับกับหลอดเลือดและหัวใจน้อยกว่า การมีอายุยืนยาวของคนที่มีอิคิไกในญี่ปุ่นนั้นสามารถสะท้อนได้จากอายุเฉลี่ยของคนในประเทศญี่ปุ่นนั่นก็คือ ผู้ชายญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 80.79 ปี ในขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ 87.05 ปี
5. ลองพิจารณาการมีอิคิไกในการใช้ชีวิตของพ่อค้าซูชิ จิโร่ โอโนะ เจ้าของร้านซูชิที่ บารัค โอบามา เคยเอ่ยปากชมว่าซูชิร้านของจิโร่ เป็นซูชิที่อร่อยที่สุดตั้งแต่เขาเคยทานมา . จิโร่ ตื่นตั้งแต่ตีสองเพื่อไปเลือกซื้อปลาในตลาดสดทุกวัน (ถ้าตื่นสาย ปลาเนื้อดีจะถูกซื้อไปจนหมดแล้ว) เขาเลือกเนื้อปลาด้วยความละเมียดละไม เพื่อให้ซูชิที่ปั้นออกมาทุกคำมีคุณภาพและถูกเติมเต็มด้วยจิตวิญญาณของเขา แต่ละขั้นตอนในการหั่นปลา แล่เนื้อปลา และปั้นข้าวปั้นซูชิหน้าปลาต่างๆนั้น ต้องทำอย่างพิถีพิถัน จนแม้กระทั่งการนำไปเสิร์ฟลูกค้าที่มานั่งในร้านก็ต้องตั้งใจเสิร์ฟอย่างดีที่สุด สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ เขาทำอย่างนี้ทุกวัน และทำอย่างนี้มาหลายสิบปีแล้ว!! . 6. เราสามารถถอดบทเรียนออกมาเป็น เสาหลักของการมีอิคิไก 5 ประการได้ว่า ประการที่ 1: การเริ่มต้นเล็ก ๆ พ่อค้าซูชิคนนี้จะได้ ‘เริ่มต้นสิ่งเล็ก ๆ’ มาจากความชอบในการทำซูชิของเขา . 7. ประการที่ 2: การปลดปล่อยตัวเอง เขาได้ ‘ปลดปล่อยตัวเอง’ คือไม่ยึดติดว่าเขาเป็นใครมาก่อน เขาคิดแค่ว่าตอนนี้มีหน้าที่ในการทำซูชิก็ทำไป . 8. ประการที่ 3: ความสอดคล้องและยั่งยืน การปั้นซูชิของเขามี ‘ความสอดคล้องและยั่งยืน’ กับสังคมและสิ่งแวดล้อม ซูชิของเขามีคุณค่าทั้งในเชิงความอร่อยและเชิงสุขภาพ . 9. ประการที่ 4: ความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ พ่อค้าซูชิคนนี้มี ‘ความสุขกับสิ่งเล็ก ๆ’ นั่นคือการปั้นซูชิที่อยู่ตรงหน้าเขา . 10. ประการที่ 5: การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้ เขาอยู่กับปัจจุบัน ‘การอยู่ตรงนี้ ตอนนี้’ หรือที่หนังสือหลายๆเล่มเรียกมันว่า เขาอยู่ใน ‘สภาวะลื่นไหล หรือ Flow’ คือเขาจะถูกตัดขาดจากสิ่งรบกวนต่างๆของโลกภายนอก และใจจดใจจ่อมีสมาธิอยู่กับการปั้นซูชิตรงหน้าเพียงอย่างเดียว . ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนมาก พ่อค้าซูชิคนนี้ไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะมีคนดังระดับโลกมาเยี่ยมเยียนเขา เขาเพียงแต่รู้สึกแฮปปี้กับชีวิตทุก ๆ วันของเขา แต่แล้ววันหนึ่งอดีตประธนาธิปดีของสหรัฐอเมริกา บารัค โอบามา ก็มาเยี่ยมเยียนร้านซูชิแห่งนี้ และสิ่งที่เขาทำมันก็แค่การทำเหมือนที่เขาทำแบบเดิมที่เขาทำอยู่ทุกวัน ไปซื้อปลาในตลาด หั่นเนื้อปลา ปั้นข้าวปั้น แค่นั้นเอง . .
รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน
หนังสือเล่มนี้ไม่ได้เขียนอะไรเกี่ยวกับแผนภาพวงกลมสี่วงที่เป็นส่วนประกอบของ Ikigai: สิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เราถนัด สิ่งที่สามารถทำเงินได้ และสิ่งที่โลกต้องการ
แต่เป็นการอธิบายอิคิไกที่ผสมผสานกลิ่นไอของความเป็นญี่ปุ่นอย่างถ่องแท้ ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาภายในเล่ม คือวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นที่มีมาแต่เดิมหลายร้อย หลายพันปีที่ถูกผสมผสานกลมกลืนไปกับโลกที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา
.
ซึ่งยอมรับว่า หนังสือเล่มนี้ใช้การอธิบายที่เรียบง่าย แต่ลึกซึ้ง คือสามารถอ่านผ่านๆแบบหนังสืออ่านเล่นทั่วไปได้ แต่การตีความหมายนั้นเป็นอีกเรื่อง บางคนอาจรู้สึกว่าเรื่องมันช่างเรียบง่ายเหลือเกิน แต่บางคนอ่านแล้วอาจจะรู้สึกชอบในความลึกซึ้งของอิคิไก
.
ตลอดเล่มก็จะเจอตัวอย่างของคนมากหมายหลายอาชีพที่ผู้เขียนบอกว่าพวกเขาเหล่านั้นคือผู้ที่มีอิคิไกในการใช้ชีวิต พร้อมอธิบายเหตุผลประกอบมากมาย
บางคนก็เรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหรือในชีวิตระดับหนึ่งแล้ว บางคนกลายเป็น top10 ของสายอาชีพ
ในขณะที่บางคนก็ยังทำงานของตัวเองไปเรื่อย ๆ โดยเทียบแล้วดูช่างห่างไกลกับคำว่าสำเร็จที่พวกเขาตั้งเป้าไว้เหลือเกิน แต่พวกเขาก็ยังจัดว่ามีอิคิไกในการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์
.
โดยรวมแล้ว เล่มนี้เนื้อหาอ่านง่าย เป็นการบรรยายอิคิไกผ่านตัวอย่างจริงในญี่ปุ่น
ไม่มีทฤษฎีมาก
บางคนอ่านแล้วอาจไม่ชอบ
แต่เป็นหนังสือเล่มเล็ก เนื้อหาบางเบา อ่านง่าย จงแนะนำให้ผู้สนใจเรื่องอิคิไก ลองซื้ออ่านกันสักครั้งครับ
.
.
พิกัดสั่งซื้อ: https://shope.ee/4V2yP26hAO
. …………………………………………………………………………. ผู้เขียน: Ken Mogi (เคน โมงิ)
ผู้แปล: วุฒิชัย กฤษณะประกรกิจ จำนวนหน้า: 252 หน้า
สำนักพิมพ์: เชนจ์พลัส, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2022
ชื่อเรื่องต้นฉบับ: The Little Book of Ikigai
………………………………………………………………………….. . . #หลังอ่าน #อิคิไก #ความหมายของการมีชีวิตอยู่ #TheLittleBookofIkigai
Comments