top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว กัมบัตเตะ! ล้มเจ็ดครั้ง ลุกแปดครั้ง



10 บทเรียนให้ชีวิตสู้ ๆ จากวิธีคิดแบบกัมบัตเตะ

จากหนังสือ กัมบัตเตะ! ล้มเจ็ดครั้ง ลุกแปดครั้ง

.

.

1. กัมบัตเตะ หมายถึง “ทำให้ดีที่สุด” “อย่ายอมแพ้” “ยืนหยัดเข้าไว้” “พยายามปรับปรุงแก้ไข” “บากบั่นอดทน”

ปกติคนญี่ปุ่นจะใช้เป็นคำอวยพรให้อีกคนที่เราพูดด้วย โชคดีในการสอบ โชคดีในการเดินทาง หรือโชคดีกับชีวิตใหม่

หรือแม้แต่ใช้เวลาบอกลาครอบครัวไปทำงาน หรือไปโรงเรียน

และยังใช้เป็นคำให้กำลังใจอีกฝ่ายให้สู้ ๆ เวลาเพื่อนจะไปแข่งกีฬา หรือประสบภัยพิบัติต่าง ๆ

.

.

2. กรอบความคิดแบบกัมบัตเตะ

กรอบความคิดแบบกัมบัตเตะเป็นเหมือนการผสมให้เราลงมือทำ อดทน และอย่ายอมแพ้

ตรงกันข้ามกับกรอบความคิดแบบเฉื่อยชาและผัดวันประกันพุ่ง

เช่น “ฉันจะเริ่มลงมือทำ แม้ไม่ค่อยอยากทำ”

“ถ้าฉันยังไม่ได้ลองพยายามดู ก็จะไม่รู้ว่าคุ้มค่าหรือไม่”

“ฉันจะเปลี่ยนวิธีจากสิ่งที่ได้เรียนรู้ และลองพยายามใหม่อีกครั้ง”

“ฉันจะทำให้ดีที่สุด เทพเจ้าแห่งความโชคดีจะอยู่ข้างฉัน”

“ความสำเร็จไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่เป็นการได้เรียนรู้ระหว่างการเดินทาง”

.

.

3. ชีวิตมักมอบรางวัลให้ผู้อดทนรอคอย และลงโทษผู้ที่รีบร้อน

หลายครั้งในชีวิต เมื่อเราเจอปัญหา เรามักพยายามหาวิธีแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด

จนเป็นการบุ่มบ่ามทำไปให้เสร็จ ๆ และต้องมาหงุดหงิดท้อใจเมื่อเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา

บางครั้งนั่นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

หากแต่เราต้องอดทน แล้วค่อย ๆ พิจารณาสถานการณ์ เราอาจแก้ปัญหาได้ดีกว่านี้

เหมือนที่ อาจารย์มักสอนศิษย์เสมอว่า ให้ใจเย็น และอดทน คอยฟังสิ่งรอบตัวดี ๆ ก่อนตัดสินใจแก้ปัญหา

.

.

4. บางครั้งทางเลือกที่ดีที่สุดคือ การยอมแพ้ ไม่ใช่ดิ้นรนเอาชนะ

แพ้ คือ ชนะในหลายครั้ง

หากเพียงเรามองให้ไกลไปกว่าผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นในทันที

เช่น ถ้าเราเถียงแพ้ลูกบ้าง ลูกก็อาจมีความภูมิใจในตัวเองมากขึ้น

ถ้าเรายอมเสียผลประโยชน์ทางธุรกิจบ้าง เราก็อาจได้คู่ค้าที่สร้างสัมพันธ์กันในระยะยาว

ถ้าเรายอมให้คนรักเราชนะบ้าง เราก็อาจได้ความสัมพันธ์อันดีในระยะยาว

ถ้าเรายอมทิ้งไอเดียตัวเองบ้าง เราก็อาจได้พันธมิตรมาช่วยงานเพิ่มขึ้น

.

ดังนั้นจงลดอัตตา และการอยากเอาชนะของตัวเองลง

.

.

5. กฎกัมบัตเตะ 10 ข้อของนักธุรกิจ

1) ลงมือทำเดี๋ยวนี้ อย่ารอพรุ่งนี้ !

2) แม้ไม่มีประสบการณ์ก็จงลงมือทำ ค่อย ๆ เรียนรู้ไป

3) มองความผิดพลาดให้เป็นการเรียนรู้

4) จงแน่วแน่ แต่ยืดหยุ่น ถ้าทำแล้วไม่เวิร์ค ก็ต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์

5) ตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ดีที่สุด

6) แวดล้อมด้วยคนที่มีวิสัยทัศน์แบบเดียวกัน

7) แม้ประสบความสำเร็จแล้ว ก็จงอย่าหยุดเรียนรู้

8) อดทนรอคอย

9) ให้โลกเห็นผลงาน อย่าอาย แต่จงโอบรับคำติชม

10) หมั่นฟังเสียงหัวใจตัวเอง เราย่อมรู้จักงานของเราดีกว่าใคร

.

.

6. กัมบัตเตะ กับ วะบิ ซะบิ

แนวคิด วะบิ ซะบิ คือแนวคิดที่เลียนธรรมชาติในระดับที่ว่า

ไม่มีสิ่งใดสมบูรณ์แบบ

ไม่มีสิ่งใดครบถ้วน

ไม่มีสิ่งใดคงทนถาวร

เมื่อนำไปรวมกับแนวคิดกัมบัตเตะจึงหมายถึง การที่เราต้องเคลื่อนที่ไปข้างหน้า และโอบรับความเปลี่ยนแปลง

อย่าอยู่เฉยๆ และนิ่งนอนใจไปกับความขี้เกียจ เพราะเราทุกคนล้วนต้องเปลี่ยนแปลง

เราจะค่อยเติบโตไปเรื่อย ๆ และเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ ๆ ตามแนวคิดกัมบัตเตะ

ไม่มีวันที่เราจะสมบูรณ์แบบและหยุดเติบโต ทั้งแนวคิด วะบิ ซะบิ และกัมบัตเตะจึงใช้ได้ตลอดชีวิต

.

.

7. กัมบัตเตะ กับกฎแรงดึงดูด

กฎแรงดึงดูดฉบับญี่ปุ่น ปรากฎขึ้นในเรื่องราวของ มาเนกิ เนโกะ (แมวกวัก)

ที่พ่อค้าแม่ค้ามักจะนำมาตั้งอยู่หน้าร้านเพื่อเรียกลูกค้า

กฎนี้มีจะทำงานตาม 4 ขั้นตอนสำคัญคือ

1) ค้นให้พบว่าตัวเองต้องการอะไร และขอสิ่งนั้นจากจักรวาล

2) จดจ่อความคิดไปกับสิ่งที่ปราถนา

3) ประพฤติราวกับเราได้รับสิ่งนั้นแล้ว

4) เปิดใจเพื่อรับสิ่งนั้น

.

ตามหลักการของมาเนกิ เนโกะแล้ว เราต้องเริ่มจากการเปิดใจที่จะรับก่อน

จากนั้นก็ต้องทำซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะได้รับสิ่งนั้น ซึ่งเรื่องนี้เองที่สอดคล้องกับ กัมบัตเตะ

เพราะถ้าเรากล้าขอ และร้องเรียกซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่อง สุดท้าย เราก็จะได้รับสิ่งนั้นเอง

.

.

8. หลักการ “ชูฮาริ” เพื่อเป็นสุดยอดผู้ชำนาญการ

หลักการชุฮาริ มาจากการฝึกศิลปะป้องกันตัว พิธีชงชา และการเรียนรู้ศิลปะอื่น ๆ

เป็นหลักสำคัญตามแนวคิดกัมบัตเตะที่ศิษย์จะเรียนรู้ได้จากอาจารย์ และสร้างตัวเองขึ้นเป็นผู้ชำนาญการ

หลักสำคัญของชูฮาริคือ

1) ชู: เข้าใจพื้นฐานของศาสตร์และศิลป์ เราต้องเริ่มจากการเชื่อฟังอาจารย์ เพื่อรู้ถึงธรรมเนียมแบบแผนและนำไปต่อยอดทีหลัง

2) ฮา: เริ่มออกสำรวจว่าเราจะเบี่ยงเบนออกจากพื้นฐานที่เราเรียนรู้มาได้อย่างไรบ้าง

พยายามตั้งคำถามกับพื้นฐานเหล่านั้น

3) ริ: คือการก้าวขึ้นไปให้เหนือกว่าเดิม เริ่มเป็นตัวของตัวเองและทำในแบบที่คนอื่นไม่เคยทำมาก่อน ซึ่งจะต้องอาศัยการหลอมรวมของศาสตร์และศิลป์ขั้นสูง

.

การเรียนรู้ศาสตร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปะหรือดนตรี เราต้องเริ่มมาจาก การทำพื้นฐานให้แน่นก่อน ถึงจะต่อยอดได้

ศิษย์หลายคนมักอยากข้ามขั้นไปเป็นผู้เชี่ยวชาญเร็ว ๆ

ซึ่งตรงนี้ต้องนำแนวคิด กัมบัตเตะ หรือการอดทนรอคอย และการต้านไม่ให้ตัวเองก้าวเร็วเกินไปเข้ามาใช้

เพราะเราจะเรียนรู้และก้าวขึ้นมาเป็นผู้เชี่ยวชาญได้เมื่ออยู่ในสภาวะไหลลื่น (Flow)

ซึ่งถ้าเราก้าวเร็วเกินไป โดยพื้นฐานไม่แน่น เราจะไม่สามารถเข้าไปในสภาวะไหลลื่นได้

.

.

9. ปรัชญาสโตอิกและกัมบัตเตะ

พื้นฐานสำคัญของปรัชญาสโตอิกคือ การยอมรับสิ่งต่าง ๆ ตามแบบที่มันเป็น โดยไม่ปล่อยให้ตัวเองเอนเอียงไปตามอารมณ์ และความปราถนา

ปรัชญาสโตอิกและแนวคิดกัมบัตเตะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เราก้าวข้ามสิ่งกีดขวางและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เจอได้ดังนี้

1) สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น และรู้สึกถึงหัวใจของตัวเองในแต่ละช่วงเวลา

ระวังอย่าให้อารมณ์ด้านลบมาควบคุมการตัดสินใจ

2) หากเจอโชคร้าย หรืออุปสรรค ให้เอาหลักกัมบัตเตะมาใช้

อย่ายอมแพ้ต่ออุปสรรค แต่จงหาวิธีก้าวเดินต่อไป

3) ถ้าปัญหานั้นควบคุมได้ ก็ให้ กัมบัตเตะ ! ต่อไป

แต่ถ้าเป็นปัญหาที่ควบคุมไม่ได้ เราก็ควรเลิกกังวลได้แล้ว

.

.

10. กฎกัมบัตเตะ 10 ข้อเพื่อความรักที่ยืนยาว

1) ไตร่ตรองให้ดี ๆ ก่อนจะเลือกคู่ และผูกมัดชีวิตกับใคร

2) รักด้วยวิถีไคเซ็น ค่อย ๆ รัก แต่มั่นคงและยั่งยืนเหมือนการวิ่งมาราธอน

3) อย่าชะล้าใจ แม้จะเป็นแฟนกันแล้ว แต่เราต้องพยายามเหมือนเดิมในทุก ๆ วัน

4) ระวังคำพูดของตัวเอง เพราะอาจทำให้เรื่องบานปลายได้

5) ระลึกไว้เสมอว่าอะไรนำพาเรา 2 คนมาคู่กัน

6) ยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบของอีกฝ่าย

7) สร้างแผนการใหม่ ๆ อยู่เสมอ

8) เคารพพื้นที่ส่วนตัวของอีกฝ่าย

9) ชื่นชมอีกฝ่ายอยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าจะเรื่องความสำเร็จ หรือเรื่องเล็ก ๆ ใด ๆ ก็ตาม

10) หมั่นหัวเราะด้วยกัน แม้จะเป็นเรื่องชวนเศร้า แต่เมื่อผ่านกาลเวลาไป ก็มักจะทำให้ขำได้เสมอ

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

หนังสือเสนอแนวคิดญี่ปุ่นที่อ่านสนุกมาก

กัมบัตเตะสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกเรื่องจริง ๆ

และเป็นหลักสำคัญที่ทำให้เราสร้างชีวิตตามใจปรารถนาได้ในระยะยาว

ใครชอบอ่านแนวคิดญี่ปุ่น เล่มนี้พลาดไม่ได้ครับ

.

.

…………………………………………………………………………….

ผู้เขียน: โนบูโอะ ซูซูกิ

ผู้แปล: เขมลักษณ์ ดีประวัติ

จำนวนหน้า: 184 หน้า

สำนักพิมพ์: อมรินทร์ How To, สนพ.

เดือนปีที่พิมพ์: 3/2022

ชื่อเรื่องต้นฉบับ: Ganbatte!

…………………………………………………………………………….

.

.

สั่งซื้อหนังสือได้ที่

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #กัมบัตเตะ #ล้มเจ็ดครั้งลุกแปดครั้ง




54 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page