
15 ข้อคิดสำคัญต้องจด จากหนังสือ Wink: มั่งคั่งมากกว่าที่ตาเห็น
.
.
1) คิดไว้ จดไว้ ลงมือทำ ทบทวน
เราต้องหมั่นคิดวิเคราะห์สถานการณ์
ถ้าเกิดได้รับข้อมูลดี ๆ หรือมีไอเดียใหม่ ๆ ก็หาสมุดจดไว้จะได้ไม่ลืม
และที่สำคัญเราต้องลงมือทำในสิ่งที่เราจดไว้ด้วย
เพราะการไม่ลงมือทำ ก็เท่ากับการไม่ได้คิดอะไรเลยนั่นเอง
.
.
2) จงเริ่มจากการมีวิสัยทัศน์
ถ้าเราเป็นในสิ่งที่เราเป็นให้ดีขึ้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
เช่น ถ้าเราเป็นวิศวกร เราก็อาจกำหนดวิสัยทัศน์ของเราให้เป็นวิศวกรที่ดีขึ้น
แล้วสิ่งเหล่านั้นจะนำมาซึ่ง จุดมุ่งหมาย และความชัดเจน ในสิ่งที่เราต้องทำ
.
.
3) เลือกระดับที่ต้องการเล่นให้เหมาะสม
ระดับการสื่อสารมีแตกต่างกันอยู่ 4 ระดับ
ระดับที่ 1: แลกเปลี่ยน
เป็นการบ่นและการพูดคุยสัพเพเหระ ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไร
.
ระดับที่ 2: ติดต่อ
เป็นการพูดคุยที่สร้างคุณค่า และทำให้เกิดสายสัมพันธ์อันดีต่อกันและกัน
.
ระดับที่ 3: กระตุ้นให้ลงมือทำ
เป็นการดึงคนอื่นมามีส่วนร่วมในการสร้างจุดมุ่งหมายของตัวเองด้วย ถ้าสื่อสารระดับนี้จะทำให้เกิดแรงขับเคลื่อนไปข้างหน้า
.
ระดับที่ 4: สร้างแรงบันดาลใจ
เป็นระดับของผู้นำ ที่สื่อสารจนเกิดแรงบันดาลใจให้คนอื่นเลือกเดินไปสู่ความมั่งคั่งด้วยกันทั้งหมด
.
ถ้าเราอยากเป็นผู้นำและประสบความสำเร็จ เราต้องเลือกระดับการสื่อสารของเราให้เหมาะสม
.
.
4) จงถาม แล้วเราจะได้รับ
หลายสิ่งหลายอย่างจะได้มาก็ต่อเมื่อ เราเอ่ยปากถาม
ถ้าเราไม่พูด ไม่ปริปากในสถานการณ์ที่จำเป็น เราก็อาจพลาดสิ่งสำคัญไปได้
.
.
5) ลงทุน “เงิน” และ “เวลา” ให้มากขึ้น ใช้มันให้น้อยลง
สิ่งที่แตกต่างกันคือ เมื่อเรา “ลงทุน” เงินและเวลาไปกับสิ่งใดก็ตาม เราจะได้สร้างอะไรสักอย่างขึ้นมา
แต่ถ้าเราเอาแต่ “ใช้” เงินและเวลาไปกับสิ่งไม่มีประโยชน์ สุดท้ายผ่านไปทั้งสัปดาห์ เราก็อาจไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาเลย
.
.
6) บ่อน้ำแห่งความมั่งคั่งอาจอยู่ที่ “คำพูด” ของเราเอง
ถ้าเราเลือกถาม “คำถาม” ที่ดีขึ้น เราก็อาจเปิดตัวเองไปสู่โอกาสแห่งความมั่งคั่งที่มากขึ้น
.
.
7) ความปรารถนาอันแรงกล้า จะเป็นเข็มทิศนำทางชีวิตเรา
จงมองหาความปรารถนาอันแรงกล้าของตัวเองให้เจอ
.
.
8) รู้แต่ไม่ทำ มีค่าเท่ากับไม่รู้
ถ้าเราเอาแต่อ่านตำรา ท่องหนังสือ แต่ไม่เคยลงมือทำจริง ก็คงไม่เกิดผลอะไรขึ้นมา
แม้เราจะรู้กลยุทธ์การทำธุรกิจมากแค่ไหน แต่ถ้าไม่เคยลองนำมาใช้ เราก็ไม่มีทางจะทำธุรกิจสำเร็จได้
.
.
9) จงสร้าง “คุณค่า” เพราะมันเปรียบเหมือนแม่น้ำพัดพาความมั่งคั่งให้หลั่งไหลเข้ามา
คุณค่าที่ว่านี้รวมถึงคุณค่าในผลิตภัณฑ์ที่ขาย คุณค่าในบริการ คุณค่าที่เราสร้างให้กับลูกน้อง เป็นต้น
.
.
10) จงมองให้เห็นไม้จากต้นไม้
ซึ่งหมายความถึงการพยายามมองให้เห็นโอกาสที่มักมีอยู่ทุกที่
.
.
11) ความมั่งคั่งที่ยั่งยืนเป็นไปตามจังหวะ ทำเต็มที่ พักเต็มที่
ตอนที่โอกาสกำลังเข้ามากำลังมา นับเป็นจังหวะเวลาของเรา เราก็ต้องอุทิศตัวเราอย่างเต็มที่
แต่พอถึงเวลาที่เราควรพัก เราก็ควรพักผ่อนให้เต็มที่เช่นกัน
.
เช่น อย่าลงมือทำแค่สเกล 6 แล้วพักที่สเกล 6
แต่ให้ลงมือทำที่สเกล 20 แล้วพักผ่อนให้เต็มที่ที่สเกล 20
.
.
12) สิ่งสำคัญคือการรู้ว่าควรลงมือทำเมื่อไหร่
นั่นหมายถึงเราต้องรู้จักรอให้ถึงจังหวะเวลาของเรา
อาจมีหลายครั้งที่ไอเดียธุรกิจของเราดีมาก แต่ก็ไม่มีใครสนใจ เพียงเพราะยังไม่ใช่จังหวะเวลาที่ถูกต้อง
.
13) เมื่อเราเริ่มสั่นพ้องไปตามจังหวะและโอกาสที่เข้ามา ความมั่งคั่งจะเริ่มพอกพูล
เพราะตัวเราจะเริ่มดึงดูดสิ่งต่าง ๆ ที่สำคัญเข้าหาตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ
.
.
14) สิ่งแวดล้อมรอบตัวคือสนามเด็กเล่น
ที่จะกำหนดระดับความมั่งคั่งของเรา
การเลือกคนที่จะอยู่ด้วย รวมถึงสถานที่ในการเบิกบานจึงสำคัญมาก
.
.
15) ตัวเราคือผลลัพธ์จากการเลือกของเราเอง
.
.
รีวิวสั้น ๆ
หนังสือนิทานสอนการเงินคลาสสิคจาก โรเจอร์ แฮมิลตัน
ดำเนินเรื่องโดยเด็กชายคนหนึ่งอายุ 9 ขวบ เป็นลูกช่างไม้ และอยู่กับพ่อ 2 คน
พ่อเด็กชายเป็นคนทำงานหนักมาก แต่ไม่เคยมีเงินเก็บเลย สุดท้ายสุขภาพเขาก็เสีย
แล้วนอนซมอยู่ที่บ้าน ทำงานหนักแบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป
เด็กชายจึงเริ่มออกตามหาวิธีที่จะทำให้เขาและพ่อมีความมั่งคั่ง
.
ตลอดเล่ม เด็กชายเดินทางไปเจอผู้คนจากหลากหลายอาชีพ
ตั้งแต่ช่างตัดแว่น ช่างประปา คนจัดสวน คนหาปลา คนพายเรือ จนไปถึง ผู้จัดการรีสอร์ท
ทุกคนล้วนมีความมั่งคั่งในด้านการเงิน และต่างให้บทเรียนแก่เด็กน้อยตลอดการเดินทาง
.
เมื่ออ่านจบอาจรู้สึกว่า เนื้อหาในแบบนิทานนั้นอ่านง่าย สนุก แปป ๆ ก็จบ
แต่ความจริงแล้ว เนื้อหาอาจต้องอาศัยการตีความที่ลึกไปกว่านั้น
เล่มนี้จึงอาจต้องหยิบมาอ่านหลายรอบ ถึงจะเข้าใจแก่นแท้ที่หนังสืออยากจะสื่อสาร
.
ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30
และได้มีอิสรภาพทางการเงินตอนอายุ 30
ปัจจุบันเขาเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่หลายธุรกิจ
และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำสิ่งที่เขาปรารถนาอย่างแรงกล้า คือการให้คำปรึกษาและสร้างแรงกระตุ้นให้ผู้คน
.
ส่วนตัวคิดว่า เป็นเล่มที่สามารถอ่านเพลิน ๆ เพื่อกระตุกแนวคิดทางการเงินได้
แต่จะให้ดีกว่านั้น อาจต้องอ่านหลาย ๆ รอบ
เพราะเมื่อเราออกไปเจอสถานการณ์ในชีวิตที่แตกต่างกัน มุมมองต่อเรื่องราวในหนังสือก็อาจเปลี่ยนไป
.
.
...................................................................................................
ผู้เขียน: โรเจอร์ แฮมิลตัน
ผู้แปล: จักรพงษ์ เมษพันธุ์
จำนวนหน้า: 136 หน้า
สำนักพิมพ์ : ลีฟ ริช ฟอร์เอฟเวอร์, บจก.
เดือนปีที่พิมพ์: 2018
...................................................................................................
.
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
https://bit.ly/3FNQp9e
.
.

Comments