top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิวหนังสือ: รู้ทันอนาคตที่ (อาจจะ) ไม่มีคุณ (The Industries of the Future)

Updated: Apr 25, 2020




รีวิวหนังสือ รู้ทันอนาคตที่ (อาจจะ) ไม่มีคุณ ( The Industries of the Future) .

.

. ลองจินตนาการภาพโลกอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้า

. - หุ่นยนต์เดินเพ่นพ่านอยู่ในบ้านของเรา สถานที่ทำงาน และโรงพยาบาล คนในตอนนั้นจะไม่เป็นโรคมะเร็งอีกต่อไปแล้วเพราะหุ่นยนต์ที่ติดอยู่กับตัวเราคอยตรวจจับแล้วบอกความปกติที่เกิดขึ้นได้ทัน

. - ความก้าวหน้าทางจีโนมิกส์ทำให้แพทย์สามารถหาวิธีในการรักษาโรคมะเร็งได้ รวมไปถึงทำให้เราสามารถเลือกยีนในตัวลูกของเราได้

. - ธนาคารของแต่ละประเทศหายไปแล้ว ระบบของการบัญชีเงินฝาก และการทำธุรกรรมต่างๆถูกทำผ่านเทคโนโลยี blockchain

. - สกุลเงินบนโลกเหลือเพียงแค่ ดอลล่าร์สหรัฐ เยน ยูโร หยวน และบิทคอยน์

. - ข้อมูลส่วนตัวแทบจะทุกอย่างของเราถูกเก็บไว้กับรัฐบาล บริษัทสามารถตรวจดูข้อมูลประวัติการศึกษาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาล รู้ว่าเราเคยมีเรื่องชกต่อยกับใคร รู้ว่าเราจีบหญิงมาแล้วกี่คน

. - เหล่าแฮกเกอร์พยายามแฮกเข้าไปในระบบ cloud ของฟาร์มขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง เพื่อแก้ไขราคาสินค้าเกษตรชนิดหนึ่ง สร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดสินค้าเกษตรชนิดนั้นทั้งตลาด

. - พอลูกๆของเราเข้ามาถามเราว่าควรจะเลือกเรียนสายอาชีพอะไรดี เพื่อจะสร้างรายได้เยอะๆ เราคงจะตอบว่า ‘เรียนสาขาวิทยาศาสตร์และนโยบายสาธารณะสิลูก’ ส่วนภาษาที่สองและสามก็อย่าลืมเลือก ‘ภาษาจีน และภาษาไพทอนนะ’ ทุกอย่างในโลกกำลังเปลี่ยนไป .

. ...... สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคือ สิ่งที่ผมเล่าไปในย่อหน้าแรกอาจไม่ใช่เพียงจินตนาการ แต่ว่ามันเป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้จริงๆบนโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีป่วนโลก หรือที่เรารู้จักกันในนาม ‘Disruptive Technology’ อาทิเช่น หุ่นยนต์ที่มีความก้าวหน้าจนมีความใกล้เคียงกับหุ่นยนต์ใน star war, Internet of Things ที่แทบจะทำให้ทุกอย่างบนโลกเชื่อมต่อกันได้, Blockchain ที่ทำให้ระบบเก่าแก่บนโลกอย่างธนาคารต้องปรับตัวใหม่ หรือ AI และ Big Data ที่ทำให้เครื่องจักรมีความฉลาดเหนือมนุษย์ .

. ........ แท้จริงแล้วสิ่งเหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเรามาก ใกล้จนน่าตกใจ ใกล้จนชนิดที่เรียกว่าถ้าเราไม่เตรียมรับมือให้ดีๆ ชนิดที่ว่าถ้าเราไม่เตรียมรับมือดีๆ เราก็อาจจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หรือที่ในหนังสือภาษาไทยหยิบเรื่องนี้มาตั้งเป็นชื่อหนังสือว่า ‘อนาคตที่อาจไม่มีคุณ’ และนี่คือสิ่งที่หนังสือเล่มนี้พยายามเข้ามาเตือนผู้อ่านทุกคน .

. … ต้องพูดกันตามตรงว่า หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้จบแล้ว ชื่อภาษาไทยของหนังสือเล่มนี้ออกจะรุนแรงไปพอหน่อย แต่ Alec Ross ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ก็ได้ออกตระเวนคุยกับผู้คนทั่วสารทิศถึงการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีเหล่านี้ในขณะที่เขาทำงานในกระทรวงต่างประเทศของอเมริกา .

. .... Alec Ross ได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรมมือหนึ่งของอเมริกา เขาเคยเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรมให้บารัค โอบามา สมัยที่โอบามาเป็นประธานาธิบดี นั่นทำให้ Alec รู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในรัฐบาลและกองทัพสหรัฐเป็นอย่างมาก แต่เขาไม่ได้รู้เพียงเรื่องราวในสหรัฐ เนื่องด้วยหน้าที่การงานและชื่อเสียงของเขา Alec จึงได้รับเชิญให้ไปเป็นคณะกรรมการและที่ปรึกษาให้กับบริษัทและรัฐบาลต่างๆทั่วโลก ทำให้เขามีข้อมูลมากมายจากทั่วโลก ว่าทุกวันนี้โลกของเราหมุนไปยังไงบ้าง มีนวัตกรรมเจ๋งๆอะไรบ้างที่กำลังจะเกิด และสถานที่แห่งใดบนโลกที่น่าจะเป็นถิ่นกำเนิดของนวัตกรรมเหล่านั้น .

. ..... นี่คือสิ่งที่ Alec รวบรวมและเรียบเรียงมาเขียนไว้ในหนังสือเล่มนี้ มันไม่ใช่หนังสือเชิง technical เรื่องการทำงานของเทคโนโลยีแต่ละชนิด แต่มันเป็นหนังสือที่วิเคราะห์การก้าวผ่านความเปลี่ยนแปลงในแต่ละประเทศ ในแต่ละซีกโลกจากการมาถึงของ Disruptive technology ว่าประเทศไหนที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หรือประเทศไหนที่ด้วยนโยบายของภาครัฐจะกีดกันไม่ให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ทั้งที่มีโอกาสอยู่ในมือเหมือนๆกัน .

. .... สิ่งที่ผมชอบมากอย่างหนึ่งของหนังสือเล่มนี้คือ Alec วิเคราะห์เรื่องราวทั้งหมดด้วยความเป็นกลาง เขาพูดถึงข้อดีข้อเสียของระบบเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ นโยบายที่เอื้อต่อความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตของ GDP จนไปถึงโอกาสในการก้าวเข้ามาเป็นผู้นำในโลกยุคนวัตกรรม Alec ยังวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ในแต่ละเทคโนโลยีว่ามันมีแนวโน้มจะพัฒนาไปถึงจุดไหน และจะก่อให้เกิดผลกระทบอะไรบ้าง ซึ่งไอตัวผลกระทบนี่แหละที่มันอาจจะเป็นได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ แล้วแต่คนจะมอง .

. ….. เป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ ถ้าอ่านจากชื่อหนังสือแล้วจะคิดไปว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่ประเด็นเรื่องการแย่งงานกันของคนและหุ่นยนต์เพียงอย่างเดียว ต่ำคถามน่าจะเป็นการนำหุ่นยนต์ใช้งานที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศมากกว่า ประเทศที่เป็นเจ้าแห่งหุ่นยนต์อย่าง ญี่ปุ่น ก็ได้มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างรัฐบาลกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Honda และ Toyota ในการเร่งพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องเอามาใช้รองรับตลาดแรงงานที่กำลังจะขาดแคลนเนื่องจาก ประเทศญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้าสู่สังคมของคนสูงอายุ นอกจากนี้หุ่นยนต์ที่เอามาช่วยเหลือผู้สูงอายุเองก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมากในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ช่วยพยุงตัว หุ่นยนต์ชวนคุยแก้เหงา หุ่นยนต์ชวนออกกำลังกาย รวมไปถึงหุ่นยนต์สัตว์เลี้ยง หุ่นยนต์เหล่านี้จริงๆแล้วเริ่มมีการนำมาใช้ในบ้านพักคนชราของญี่ปุ่นแล้ว .

. ..... เทคโนโลยีทางด้านจีโนมิกส์เป็นอีกเรื่องที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีนี้กำลังรุดหน้าไปอย่างมาก เรากำลังจะทำความเข้าใจกับ DNA และการเรียงลำดับของมันภายในตัวมนุษย์ ซึ่งนี่คือกุญแจที่จะนำไปสู่การหาสาเหตุของการเป็นโรคมะเร็ง และทำให้เรารีบรักษาเจ้าโรคร้ายนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น (โอกาสรอดจากการรักษาโรคมะเร็งในระยะแรกนั้นสูงกว่าการรักษาในระยะที่ 4 หลายเท่าตัว) .

. .....เทคโนโลยีนี้อาจรุดหน้าไปจนถึงเรื่องของการเลือกสร้างเด็กคนหนึ่งๆขึ้นมา ผมอ่านตรนงนี้แล้วนึกถึงเกม The Sims ที่เราสามารถเลือกสร้างตัวละคร ไม่เพียงแต่หน้าตา สีผม สีผิว แต่รวมไปถึงทักษะที่ sims เหล่านี้มีติดตัวมาแต่กำเนิด เช่น มีทักษะการทำอาหารอยู่ในระดับที่ 3 และทักษะด้านไหวพริบปฏิภาณอยู่ในระดับที่ 5 ตั้งแต่กำเนิด ด้วยพลังของจีโนมิกส์ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ได้อยู่แค่ในเกม sims แต่อาจเกิดขึ้นบนโลกได้จริงๆ พ่อแม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์แค่ไหน หารือจะให้ลูกถนัดเช่นกีฬาชนิดใด ไม่ต้องพูดถึงว่าเด็กที่เกิดมาเป็นออธิสติกส์จะถูกลดเปอร์เซ็นลงจนเข้าใกล้ศูนย์ .

. ..... นอกจากนี้ Alec ยังโยงเทคโนโลยีจีโนมิกส์ไปถึง การคืนชีพของสัตว์โบราณที่สูญพันธุ์ไปแล้วอย่างช้างแมมมอธ หรือ Tasmanian Tiger ด้วยพลังของเทคโนโลยีจีโนมิกส์นี้เอง สัตว์พวกนี้อาจถูกทำให้คืนชีพขึ้นมาได้ แต่ถึงตอนนั้นคงเกิดคำถามขึ้นมากมายเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เช่น พวกสัตว์เหล่านี้สมควรแล้วจริงๆหรือที่จะถูกทำให้คืนชีพขึ้นมา ธรรมชาติไม่ได้เลือกแล้วเหรอให้พวกมันสูญพันธุ์ไป (อย่างกับดู Jurassic Park) หรือว่าการที่พ่อแม่ตัดต่อยีนส์ของเด็กให้มีความสามารถนั้นมันเป็นการละเมิดสิทธิ์ของเด็กรึเปล่า แล้วมันจะไม่สร้างปัญหาหาความเหลื่อมล้ำในสังคมให้ยิ่งสูงขึ้นไปอีกเหรอในเมื่อคนที่ตัดต่อพันธุกรรมของเด็กได้มีแต่คนที่มีทุนเท่านั้น .

. ...... ว่ากันด้วยเรื่องของเทคโนโลยี blockchain และ bitcoin เงินดิจิทัล (Digital Currency) หรือเงินเข้ารหัส (Crypto Currency) มันจะเข้ามาสั่นสะเทือนวงการการเงินแค่ไหน คนจะหันไปใช้สกุลเงินนี้กันหมด แล้วเลิกใช้สกุลเงินที่เคยน่าเชื่อถือของรัฐบาลตัวเองรึเปล่า เพราะ bitcoin เป็นสกุลเงินสากลที่สามารถทำธุรกรรมข้ามประเทศได้ ง่ายกว่าการที่ต้องลำบกายุ่งยากไปแลกเปลี่ยนเงินตราเมื่อเดินทางข้ามประเทศและเสียค่าธรรมเนียมอีกด้วย .

. ....นอกจากนี้แล้วโลกทุกวันนี้ยังก้าวเข้าใกล้ความเป็น ‘Cashless Society’ มากขึ้นเรื่อยๆ โอกาสในทางธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมการเงินนั้นมีอยู่มาก เนื่องด้วยยังมีอีกหลายประเทศที่มีปัญหาด้านการทำธุรกรรมด้วยเงินสด อันเนื่องมากจากความยุ่งยากต่างๆ Alec ยกตัวอย่างประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีความยากลำบากในการเดินทาง เนื่องจากความขาดแคลนทางโครงสร้างพื้นฐานและปัญหาความยากจน แต่ประเทศในทวีปนี้กลับมีโทรศัพท์และเสาสัญญาณอินเทอร์เน็ตใช้กันอย่างแพร่หลาย การโอนเงินและการทำธุรกรรมทางการเงิน รวมไปถึงการสร้างบัญชีธนาคารผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือจึงนับว่าเป็นดอกาสที่ดีมากสำหรับคนในประเทศนี้ ผู้ที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจและเข้ามาเล่นในตลาดแอฟริกานี้จึงเป็นผู้ที่มองเกมขาด สร้างความได้เปรียบเชิงธุรกิจอย่างมาก .

. ..... ประเด็นนี้โยงมาถึงเรื่องของโอกาสในการเกิด Silicon Valley ที่ถัดไปบนโลก ว่าเทคโนโลยีและวิวัฒนาการทางด้านไอทีจะยังกระจุกตัวอยู่ใน Silicon Valley หรือมันจะมีพื้นที่ใหม่ๆบนโลกที่สามารถพัฒนาจนกลายเป็น Silicon Valley ที่ใหม่ๆบนโลกได้ Alec มองว่าที่ไหนก็ตามบนโลกที่จะเป็นแบบนั้นจะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในนวัตกรรมใหม่ๆบนโลกที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่นนวัตกรรมเกี่ยวกับจีโนมิกส์ที่จีนกำลังพยายามสร้างระบบและพัฒนาพื้นที่ในประเทศส่วนหนึ่งให้กลายเป็นระบบนิเวศน์แบบเดียวกับ Silicon Valley ในอเมริกา แต่ที่น่าสนใจคือ สถานที่ประเภทนี้ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ประเทศจีน แต่ประเทศที่มีความพร้อมในด้านนวัตกรรมว่าจะเป็นพื้นที่ใดในโลกก็ตามสารถพัฒนาจนเกิดเป็น Silicon Valley ของตัวเองได้ ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจะได้เห็นประเทศใดประเทศหนึ่งในแอฟริกาสร้างอาณาจักร ‘Wakanda’ แบบในหนัง Black Panther ที่มีความเจริญทางเทคโนโลยีเข้าสู่จุดสูงสุดของโลกก็เป็นได้ .

. ….. อีกเรื่องที่นับเป็นประเด็นใหญ่มากที่คนทั่วๆไปมักจะมองข้ามคือเรื่องของ ความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ (Cyber Security) เพราะถ้าไม่โดนกับตัวก็คงมีน้อยคนมากที่ให้ความสำคัญกับมัน แต่ในโลกอนาคตนั้น เทคโนโลยีประเภท Internet of Things และการใช้ Big Data จะเข้ามามีบทบาทอย่างมาก ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของประชาขนทุกคนให้ ตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐานอย่าง ที่อยู่ อาชีพ จนไปถึงประวัติการทำธุรกรรม พฤติกรรมต่างๆทั้งในที่ทำงานและบนถนนทั่วๆไป การที่บริษัทหรือรัฐบาลมีข้อมูลเหล่านี้อยู่ในมือนี่เองที่เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการ hack เข้ามาในระบบ เพื่อเข้ามาขโมย เข้ามาปลอมแปลงข้อมูล หรือแม้แต่กระทั่งทำลายระบบทิ้งไปเสีย ตัวอย่างการเข้ามา hack ที่เคยเกิดขึ้นในโลกมาแล้วก็เช่นเรื่ออของบัตรเครดิต ที่เป็นข่าวใหญ่ทำให้ผู้ถูกกระทำต้องสูญเสียเงินโดยใช่เหตุ นี่ทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องตื่นตัวกับเรื่องความปลอดภัยบนโลก cyber มากๆ ทางด้านของประชาชนเองก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลของตัวเองรั่วไหลไปง่ายๆ เพราะนับว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมาก ส่วนอีกเรื่องที่เรารู้กันชัดๆแน่ๆคือ อาชีพที่เกี่ยวกับ cybersecurity จะบูมมากแน่ๆในโลกอนาคต ใครมีลูกมีหลายก็เตรียมส่งเรียนศาสตร์ด้านนี้ได้เลย .

. ..... บทสุดท้ายที่ Alec เขียนถึงคือ เราได้เรียนรู้อะไรจากนโยบาย และการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมของประเทศต่างๆทั่วโลก ประเทศไหนที่เปิดเสรีทางด้านนวัตกรรมมักจะได้เปรียบประเทศที่มีนโยบายในการปิดประเทศ ตัวอย่างเช่น เอสโตเนียกับเบลลารุส สองประเทศที่แยกตัวออกมากจากสหาภาพโซเวียตเมื่อคราวที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย มีนโยบายการเปิดปิดประเทศที่แตกต่างกันทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันมาก การให้ความสำคัญกับผู้หญิงก็เป็นอีกเรื่อหนึ่งที่สำคัญ เพราะผู้หญิงเองก็เปรียบเสมือนแรงงานอีกครึ่งหนึ่งของประเทศ บทเรียนนี้จะเห็นได้จากความแตกต่างที่เกิดในจีนและญี่ปุ่น ด้วยวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่น อย่างการสังสรรค์หลังเลิกงาน และการที่ผู้หญิงญี่ปุ่นมักจะออกมาอยู่บ้านเลี้ยงลูกนั้นทำให้ผู้หญิงญี่ปุ่นเข้าจมามีบทบาทในการบริษทัหรือองค์กรต่างๆน้อยเกิดไป ญี่ปุ่นเองก็พยายามแก้ไขในจุดนี้อยู่ .

. .... ส่วนคำถามที่ว่าถ้ามีลูกมีหลาน เราควรจะให้ลูกหลานเรียนอะไรดี โลกยุคต่อไปนั้น จะต่างจากโลกยุคของเราที่ว่าคนที่ประสบคสวามสำเร็จทางด้านนวัตกรรมได้จะต้องมีความรู้ทั้งในเชิงของศาสตร์และศิลป์ หรือในเชิงของวิทยาษศาสตร์และสังคมศาสตร์ การส่งลูกเรียนหลักสูตรจำพวก Multi-disciplinary หรือ Trans-disciplinary จึงอาจกลายเป็น option ที่น่าสนใจเช่น หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและนโยบายสาธารณะ เป็นต้น ส่วนภาษาก็เป็นอีกเรื่องที่เด็กต้องให้ความสนใจกับภาษาคอมพิวเตอร์มากขึ้น นอกเหนือไปจากภาษาที่สองที่สามที่เด็กควรจะเรียนอยู่แล้ว เพราะการรู้ไว้ซึ่งภาษาคอมพิวเตอร์จัดว่าเป็นข้อได้เปรียบของการทำงานในโลกอนาคต .

. ..... กล่าวโดยสรุปคือ the industries of future เป็นหนังสือที่ให้ภาพกว้างๆของโลกอนาคตได้ครอบคลุมมากที่สุดเล่มหนึ่ง และผู้เขียนเขียนเล่าเรื่องต่างๆได้สนุก เป็นการผสมความคิดเห็นลงไปบน fact ต่างๆ ที่อ่านแล้วไม่น่าเบื่อ และมีความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่ง ใครชอบอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีพลาดไม่ได้จริงๆครับเรื่องนี้ จัดว่าเป็น a must เลย ส่วนใครอยากรู้จักโลกอนาคตก็พลาดไม่ได้เช่นกันครับ555 . . . …………………………………………………………………………. ผู้เขียน : Alec J. Ross ผู้แปล : บดินทร์ พรพิลาวัณย์ สำนักพิมพ์ : Bingo แนวหนังสือ : เทคโนโลยี, การบริหารจัดการ, เศรษฐศาสตร์ ………………………………………………………………………….. . . . ‪#‎หลังอ่าน‬‬‬‬ ‪#‎รีวิวหนังสือ‬‬‬‬ ‪#หนังสือ2019 #หนังสือ2562 #‎reviewหนังสือ‬‬‬‬ #รู้ทันอนาคตที่อาจจะไม่มีคุณ #TheIndustriesoftheFuture #ซีเอ็ด #สำหนักพิมพ์บิงโก #bingo #AlecJ.Ross #บดินทร์พรพิลาวัณย์ #หนังสือเทคโนโลยี #หนังสือการบริหารจัดการ #หนังสือเศรษฐศาสตร์ #เทคโนโลยีป่วน #disruptivetechnology #iot #โลกอนาคต


33 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page