top of page
  • Writer's pictureหลังอ่าน: รีวิวหนังสือ

รีวิว พ่อรวยสอนลูก #2 เงินสี่ด้าน




สรุป 7 เรื่องต้องรู้ถ้าอยากมีอสิรภาพทางการเงิน

จากหนังสือ พ่อรวยสอนลูก #2 เงินสี่ด้าน

.

.

1. ทำความรู้จักกับเงิน 4 ด้าน ใน Cashflow Quadrant

1) ลูกจ้าง - Employee (E)

ลูกจ้างคือ คนที่มีรายรับมาจาก การทำงานประจำ พวกเขาจึงมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ อาจนิยามได้ว่าเป็นกลุ่มที่ ‘มีงานทำ’ อยู่เสมอ

โดยลูกจ้างส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ ความมั่นคง หรือ ผลประโยชน์ จากการมีรายได้เข้ามาเป็นประจำ

อาชีพนี้มีได้ตั้งแต่ CEO ผู้บริหาร ผู้จัดการ พนักงานทั่งไป จนถึง ภารโรง

ลักษณะเด่นของลูกจ้างคือ เป็นกลุ่มคนที่ไม่ชอบความเสี่ยง และไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

.

2) คนทำธุรกิจส่วนตัว - Self-employed (S)

คนทำธุรกิจส่วนตัวคือ คนที่ชอบทำงานทั้งหมดด้วยตัวเอง จึงอาจนิยามงานของคนกลุ่มนี้ว่า 'ฉันทำเอง'

คนทำธุรกิจส่วนตัว ชอบควบคุมสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตัวเอง

รายได้ของคนในกลุ่มนี้จึงขึ้นกับความสามารถและชื่อเสียงที่เป็นที่รู้จักกันในวงการ

อาชีพในกลุ่มนี้เป็นได้ตั้งแต่ หมอ ทนาย ช่างประปา นักธุรกิจ SME ขนาดเล็ก

คนทำธุรกิจส่วนตัวมีข้อเสียหลักคือ ถ้าหยุดทำงานก็จะไม่มีรายได้เข้ามา เพราะโดยส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้มักจะชอบทำงานคนเดียว เพราะไม่ไว้วางใจผู้อื่นให้มาทำงานแทน

.

3) เจ้าของกิจการ - Business Owner (B)

เจ้าของกิจการคือคนที่สร้างระบบขึ้นมาและให้ระบบทำงานแทนตัวเอง จึงมีนิยามว่า 'เจ้าของระบบ และคนงาน'

เจ้าของกิจการชอบหาคนเก่ง ๆ หลายคนมาร่วมงานกัน และทำหน้าที่เป็นตัวการในการออกแบบระบบงาน

ตัวอย่างเช่น การออกแบบระบบแฟรนไชส์ของร้านแมคโดนัลด์ ที่มีสาขาหลากหลายในทั่วทุกมุมโลก

.

สิ่งที่แตกต่างกันชัดเจนระหว่าง คนทำธุรกิจส่วนตัว (S) และ เจ้าของกิจการ (B) คือ คนทำธุรกิจส่วนตัวชอบทำงานด้วยตัวเอง ในขณะที่ เจ้าของกิจการสร้างระบบที่มั่นคง และสรรหาคนเก่งมาบริหารระบบดังกล่าว

.

4) นักลงทุน Investor (I)

นักลงทุนคือ คนที่นำเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างเงิน จึงมักถูกนิยามว่า เป็นกลุ่มคนที่ 'เงินทำงานแทน'

นักลงทุนจะนำเงินไปลงทุนเพื่อให้เงินต่อยอดสร้างเงินขึ้นมาใหม่

.

.

2. เราอาจมีรายได้มาจากมากกว่า 1 ช่องทาง

เราไม่จำเป็นต้องมีรายได้มาจากทางเดียว ทุกคนสามารถมีรายได้มากกว่า 1 ทาง หรืออาจมีรายได้จากทั้ง 4 ช่องทางพร้อม ๆ กันก็เป็นได้

เช่น เราอาจประกอบอาชีพเป็นแพทย์ทั่วไป มีรายได้ช่องทางหนึ่งมาจากการทำงานประจำให้โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง โดยต้องทำงานวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ตั้งแต่ 9.00-17.00 น. แต่หลังเลิกงานเรายังไปทำงานในคลินิกของตัวเองต่อ

จึงนับว่าเรามีรายได้จากการเป็น ลูกจ้าง (E) และ การทำธุรกิจส่วนตัว (S)

.

มากไปกว่านั้น ถ้าเราเริ่มสะสมสินทรัพย์ขึ้นมาได้ระดับหนึ่ง เราก็อาจเปิดโรงพยาบาลขนาดเล็กของตัวเองขึ้นมา แล้วจ้างหมอและพยาบาลเก่ง ๆ มาบริหาร ซึ่งตัวเรามีหน้าเพียงทำงานเป็นที่ปรึกษา วางระบบและคอยจัดระเบียบต่าง ๆ ให้โรงพยาบาลดำเนินการด้วยตัวเองได้ และในเวลาว่างสุดสัปดาห์เราก็ยังนำเงินที่มีมาลงทุน ซื้อหุ้น ซื้ออสังหาริมทรัพย์

จึงนับว่าเรามีรายได้จากการเป็น เจ้าของธุรกิจ (B) และ การเป็นนักลงทุน (I)

.

.

3. เราควรลองย้ายจากการเป็น ลูกจ้าง (E) และ คนทำธุรกิจส่วนตัว (S) มาเป็น เจ้าของธุรกิจ (B) และ นักลงทุน (I)

แม้ช่องที่มาของรายได้ทั้ง 4 แบบ จะมีข้อเสียที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน

แต่สำหรับคนที่อยากมีอิสรภาพทางการเงิน เราอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนฝั่งจากการเป็นลูกจ้าง (E) และ การทำธุรกิจส่วนตัว (S) มาเป็นเจ้าของธุรกิจ (B) และ นักลงทุน (I)

.

โดยหนังสือแนะนำว่าให้ลูกจ้าง (E) และ คนทำธุรกิจส่วนตัว (S) ลองย้ายมาสร้างระบบเป็นเจ้าของธุรกิจ (B) ก่อน

เพราะจะได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และความรู้ความสามารถที่มีประโยชน์ในการลงทุน จนสามารถเป็นนักลงทุน (I) แบบเต็มตัวได้

แต่อย่าลืมว่าการจะข้ามฝั่งได้ เราจำเป็นต้องปรับความคิดให้เหมาะสมด้วย

.

ตัวผู้เขียนเองก็ทำในแบบเดียวกัน คือเริ่มสร้างเงินจากการทำธุรกิจโรงเรียนสอนเรื่องการเงินขึ้นมา แล้วเปิดเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ ขยายไปหลายสาขาในหลายประเทศ ทำให้เขาได้แนวคิดการทำธุรกิจอย่างถูกต้อง และต่อยอดเป็นนักลงทุนในอสังหาริมทรัพย์อีกทีหนึ่ง

การประสบความสำเร็จจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ (B) และการเป็นนักลงทุน (I) ทำให้เป็นเศรษฐีได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี

.

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป้าหมายของเราเป็นเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องเงิน ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ หรือความชอบในการทำงานเป็นลูกจ้างและทำธุรกิจส่วนตัว ก็คงไม่มีความจำเป็นในการข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง

.

.

4. ประเภทของเจ้าของกิจการ (B)

เจ้าของกิจการ (B) สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

1) สร้างระบบขึ้นมาเอง นับเป็นกลุ่มที่มีความสามารถสูง

2) ใช้ระบบที่เขาสร้างเอาไว้แล้ว หรือการซื้อแฟรนไชส์

3) ทำธุรกิจเครือข่าย

.

เราอาจลองซื้อธุรกิจแฟรนไชส์หรือลองลองไปศึกษาเรื่องการสร้างระบบจากธุรกิจเครือข่าย เพื่อให้มีความรู้มากขึ้นในระบบธุรกิจ ก่อนจะลองสร้างระบบธุรกิจขึ้นมาเองจากศูนย์

.

.

5. ประเภทของนักลงทุน (I)

นักลงทุน (I) สามารถแบ่งออกเป็น 7 ระดับ

ระดับ 0: ไม่มีการลงทุน

ไม่สนใจเรื่องการลงทุนเลย

ระดับ 1: ลูกหนี้

ไม่มีเงินเก็บ แล้วยังติดหนี้

ระดับ 2: นักออม

มีเงินเก็บบัญชีสะสมทรัพย์ แต่ไม่ลงทุน

ระดับ 3: นักลงทุนที่ฉลาด

ซึ่งมีทั้งคนที่จ้างคนอื่นจัดการเรื่องลงทุน หรือไปลงทุนในกองทุน

พวกที่ฉลาดแต่คิดลบจนไม่กล้าเสี่ยง

และพวกนักพนันที่ชอบเสี่ยงลงทุนโดยไม่คิดให้ถี่ถ้วน

.

ระดับ 4: นักลงทุนระยะยาว

มีความรู้มากพอในการเลือกลงทุนระยะยาว จนสร้างสินทรัพย์ให้ตัวเองพอตัว และสามารถนำเงินมาต่อเงินได้

ระดับ 5: นักลงทุนมืออาชีพ

มีความรู้ด้านการลงทุนเพียงพอจนทำเป็นอาชีพหลักได้

ระดับ 6: นายทุน

ปรมาจารย์ด้านการลงทุน รอบรู้เรื่องการลงทุนในทุก ๆ เรื่อง

.

ถ้าเราอยากทำอาชีพหลักเป็นนักลงทุน (I) เราควรพัฒนาให้ตัวเองเป็นอย่างน้อย นักลงทุนระดับ 4

.

.

รีวิวสั้น ๆ หลังอ่าน

ไม่ต้องอธิบายมาก เพราะเป็นหนังสือที่นำเสนอแนวคิดที่ควรต้องรู้กันทุกคนในโลกปัจจุบันนี้ครับ

เพราะการหารายได้มาจากช่องทางทั้ง 4 จะช่วยให้เราวางแผนการบริหารเงินและ การบริหารชีวิตการทำงานได้ดียิ่งขึ้น

.

ถ้าใครเคยได้ยินแนวคิดนี้มาก่อน แต่ยังไม่เคยอ่านเล่มเต็ม

แนะนำว่าน่าจะลองอ่านกันดูสักครั้งนะครับ

ตอนนี้ SEED นำมาตีพิมพ์ใหม่ และออกปกใหม่มา สวยงามากครับ

.

.

--------------------------------------------------------

ผู้เขียน: Robert T. Kiyosaki

ผู้แปล: จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โอฬาร ภัทรกอบกิตติ์,ชัชวนันท์ สันธิเดช,สุภศักดิ์ จุลละศร

จำนวนหน้า: 376 หน้า

สำนักพิมพ์: ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.

เดือนปีที่พิมพ์ (ปกใหม่): 2022

ชื่อเรื่องต้นฉบับ: Rich Dad's Cashflow Quadrant

--------------------------------------------------------

.

.

สนใจสั่งซื้อหนังสือได้ที่

https://bit.ly/3AcX9wa

.

.

#หลังอ่าน #หนังสือควรอ่านก่อนอายุ30 #พ่อรวยสอนลูก #เงินสี่ด้าน



850 views0 comments
Post: Blog2_Post
bottom of page