รีวิวหนังสือ ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล Stuffocation .
.
เป็นอีกเล่มที่อยากให้อ่านกันก่อนอายุ 30 เพราะชอบแนวคิดเรื่องความเป็นมินิมอล และการสะสมประสบการณ์มาก
.
ในวัย20กว่าๆ เป็นวัยที่เหมาะที่จะออกไปเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ มากกว่าสะสมสิ่งของ
.
เงินอาจจะยังมีไม่มาก แต่พลังกายและพลังใจยังมีเหลือเฝือ
.
เพราะฉะนั้นแล้วรีบๆออกไปเก็บประสบการณ์กันตั้งแต่ก่อน 30 เถอะครับ สะสมไว้เยอะๆ
.
และผมเชื่ออย่างสนิทใจว่า สุดท้ายแล้วความทรงจำของเราจะยั่งยืนกว่าความฝันจริงๆ
.
. 🗝ยอมรับว่าเป็นหนังสืออีกเล่มที่ผมอ่านแล้วชอบมากๆ นี่เป็นหนังสือที่นำเสนอแนวคิดการใช้ชีวิตในแบบ ‘มินิมอล’ รูปแบบหนึ่ง ที่ผมว่ามันตอบโจทย์คนวัยทำงานยุคนี้กันมาก . 🧑🏻👩🏻🦱เพราะคนทำงานจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มมิลเลเนียลนั้นพวกเขาออกเดินทางตามหา ‘ประสบการณ์ที่น่าจดจำ’ กันมากกว่าการ ‘สะสมวัตถุสิ่งของ’ ซึ่งเรื่องการตามล่าประสบการณ์อันล้ำค่านี้เองคือปรัชญาการดำเนินชีวิตที่หนังสือเล่มนี้นำเสนอ . 📚ต้นฉบับหนังสือเล่มนี้เขียนขั่นตั้งแต่ปี 2013 แต่เนื้อเรื่องนั้นดูเข้ากับยุคสมัยมาก โดยเฉพาะในยุคที่คนทำงานจำนวนมากมักจะมีคำถามกับตัวเองว่า เราทำงานไปเพื่ออะไร เราทำงานไปเพื่อหาเงิน เก็บเงิน ละก็เอามาซื้อของโน่นนี่นั่นในวันหยุดแค่นั้นเองหรอ แล้วเราจะสะสมของเหล่านั้นไปทำไม ถ้าเราไม่ได้ใช้มัน ไม่ได้อยากได้ของเหล่านั้นละ เราจะยังทำงานอยู่มั้ย . 🏝จริงๆ แล้วคนทำงานจำนวนมาก ไม่ใช่เฉพาะคนในยุคนี้ก็ล้วนมีแต่มีคนที่เคยรู้สึกแบบนี้ แต่หนังสือเล่มนี้คงไม่ได้ไปโฟกัสกับเรื่องทำนองการตามหาความหมายของชีวิต แต่จะเน้นไปที่เรื่อง ‘วันตถุนิยม’ และการค้นหาประสบการณ์ . 🤑กล่าวคือ ผู้เขียนที่ค้นพบว่าพ่อของตัวเองก็เป็นนักวัตถุนิยมคนหนึ่ง ที่ชอบทำงานหนัก หาเงินเยอะๆ แล้วนำเงินมาซื้อของสะสมจำนวนมาก ไม่ได้นำมาซึ่งไลฟ์สไตล์ ที่เขาอยากจะเป็น นักเขียนชาวอังกฤษคนนี้จึงได้เดินทางศึกษาวิจัยแนวทางการดำเนินชีวิตรูปแบบอื่นๆที่ช่วยตอบโจทย์ตัวเขาเองมากกว่า . 🤢การศึกษาวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกของเขาทำให้ เขาได้ค้นพบว่า มีคนจำนวนมากที่เคยมีอาการเช่นเดียวกับเขา เขาเรียกอาการนี้ว่า ‘อาการอึดอัดคับของ’ ซึ่งเป็นอาการที่เขาอธิบายว่าคนๆหนึ่งค้นพบว่าตัวเองมีความสุขน้อยลงเมื่อมีของในครอบครองมากขึ้น มีเงินมากขึ้น มีบ้านหลังใหญ่ขึ้น . 🤢มันอาจฟังดูขัดๆกับความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อได้ยินอาการนี้ครั้งแรก แต่ก็อย่างว่าครับ คนที่ไม่มีก็อยากจะได้โน่นได้นั่น แต่คนที่มีเยอะแล้ว เขาก็คงจะเจอกับปัญหาอีกอย่างหนึ่งแหละครับ .
.
. 📚หนังสือเล่าว่าอาการอึดอัดคับของดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะกับชนชั้นกลางที่มีกำลังทรัพย์ในการจับจ่ายซื้อของที่ในบางครั้งดูเหมือนจะไม่จำเป็น แต่คนเหล่านี้ก็ยังซื้อมา . 🎯นี่เป็นจุดกำเนิดของหนังสือเล่มนี้ที่พยายามจะหาวิธีช่วยให้คนเหล่านี้สามารถหลุดพ้นจากอาการอึดอัดคับของได้ . 👩🏻🦱🧑🏻มีการศึกษาว่า ต่างคนต่างก็เลือกใช้วิธีต่างกันออกไป เช่นชายหนุ่มที่ยอมขายบ้านหลังใหญ่โต และเลือกกลับมาใช้ชีวิตในบ้านที่เล็กลง แต่มีความอบอุ่นมากขึ้น หญิงสาวที่ลาออกจากงานเงินเดือนดีใจกลางเมืองใหญ่ มาเป็นนักเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลก หรือพวกสุดโต่งหน่อยที่ละทิ้งชีวิตในเมืองไปโดยสิ้นเชิง ไปใช้ชีวิตอยู่กับป่าเขา กลับสู่ยุคดำดำบรรพ์ที่แค่เลี้ยงชีพด้วยปัจจัย 4 เป็นพอ . 😵แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว แนวทางการหนีจากอาการอึดอัดคับของเหล่านี้ก็ดูจะไม่ได้ตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตที่ผู้เขียนต้องการ เพราะแต่ละแนวทางล้วนมีข้อเสียแตกต่างกันออกไป . 🏂🏻ผู้เขียนจึงนำเสนอวิธีที่จะช่วยให้ออกจากอาการอึดอัดคับของได้ โดยใช้หลักการใช้ชีวิตมินิมอล แบบ ‘นักค้นหาประสบการณ์’ โดยวิธีดังกล่าวนี้ก็คือ แทนที่จะนำเงินที่หามาได้จากการทำงานไปซื้อสิ่งของฟุ่มเฟือยทั้งหลาย อย่างกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ หรือรถ เพียงเพื่อสะสม หรือเพื่ออวดสถานะทางสังคม ก็นำเงินจำนวนเดียวกันนี้ไป ‘ซื้อประสบการณ์ใหม่’ เช่น ไปเที่ยวในสถานที่แปลกๆทั่วโลก ไปลองอาหารที่ไม่เคยไป หรือหากิจกรรมที่จะทำให้ประทับใจไปอีกนาน . 🥼นี่เป็นหลักคิดที่เปลี่ยนจากนักวัตถุนิยม เป็นนักสะสมประสบการณ์ แต่ที่ผมชอบมากคือ ตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมาว่า พวกสิ่งของทั้งหลายนั้น เราก็อาจจะดีใจตอนได้มันมา แต่หลังจากที่สวมใส่หรือใช้มันไปสักสองสามครั้งแล้วเราก็จะรู้วสึกเฉยๆกับมัน จนนที่สุดเราอาจลืมมันไปเลยก็ได้ ตัวอย่างก็เช่น เราอาจลืมเสื้อผ้าบางตัวที่อยู่ในตู้เสื้อผ้าเราและไม่ได้ใส่นานแล้ว . 🏆แต่กับประสบการณ์นั้น ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ มันยิ่งมีค่ามากเท่านั้น เช่นหลายคนคงจะยังจำโมเม้นที่ไปเที่ยวต่างประเทศเป็นครั้งแรกได้ โมเม้นที่เหยียบเท้าในแผ่นดินญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หรือโมเม้นที่ไปดำน้ำท่องมหาสมุทรเป็นครั้งแรกได้ . 🗝ส่วนที่เหลือในหนังสือก็จะเป็นเทคนิคต่างๆให้ผู้ที่สนใจจะเปลี่ยนจากนัดสะสมสิ่งของ มาเป็นนักสะสมประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคเอาของไปซ่อนกับเพื่อน ถ้าไม่รู้ว่าของชิ้นดังกล่าวถูกซ่อนอยู่ก็แปลว่าถึงเวลาทิ้งมันแล้ว หรือจะค่อยๆกำจัดของที่ไม่จำเป็นไปเรื่อยๆก็ได้ อาการอึดอัดคับของก็คงจะค่อยๆทุเลาลงเอง . 🗝อีกวิธีที่จะเพิ่มความเป็นนักค้นหาประสบการณ์ที่ฟังแล้วน่าจะใช้ได้ผลอยู่ ก็คือการค้นหาเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจบนอินเตอร์เน็ต ยิ่งตอนนี้มี social media ต่างๆมากมายแล้ว เรายิ่งได้เห็นเหล่าบรรดาเพื่อนฝูงทั้งหลายของเราโพสภาพ ประสบการณ์อันน่าประทับใจมากมาย เที่ยวที่นู้นที่นี้ ฉลองวันวาเลนไทน์กับคนรัก อับลง IG story แทบทุกวัน ก็อาจมีส่วนช่วยให้เราอยากออกไปท่องโลกกว้างมากขึ้น . 🗝สิ่งสำคัญอีกอย่างของหนังสือ คือ เราไม่จำเป็นต้องเลิกซื้อของทุกอย่าง เพื่อจะเป็นนักค้นหาประสบการณ์ จริงๆแล้วเราทำควบคู่กันไปได้ แล้วเราก็ไม่ต้องถึงขนาดว่าทิ้งทุกอย่างที่ทำอยู่ ทิ้งงานการ ทิ้งการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ เพื่อออกไปค้นหาประสบการณ์ข้างนอกหน้าต่าง แต่เราสามารถจัดสมดุลของมันได้ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่คนว่าจะจัดการชีวิตของตัวเองยังไง . 👴🏻ผมขอปิดท้ายด้วยประโยคหนึ่งที่ฟังดูแปลก แต่ก็อาจจะจริง เป็นประโยคเด็ดที่ปู่ผู้เขียนพูดกับเขา ‘ความทรงจำยั่งยืนกว่าความฝัน’ เพราะความฝันของเราอาจเปลี่ยนไปตามช่วงวัย แต่ความทรงจำจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้เราเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ที่แท้มนุษย์เราก็เกิดมาเพื่อสะสมโมเม้นที่น่าจดจำไว้เท่านั้นเอง . 🏂🏻มาเป็น minimalist สไตล์นักค้นหาประสบการณ์กันเถอะครับ . …………………………………………………………………………. ✍🏻ผู้เขียน: James Wallman ✍🏻ผู้แปล: นรินทร์ องค์อินทรี 🏠สำนักพิมพ์ : บิงโก, สนพ. 📚แนวหนังสือ : ปรัชญา, จิตวิทยา ………………………………………………………………………….. . .
📚ใครสนใจซื้อหนังสือ เดี๋ยวนี้ Shopee ก็มีขายแล้วนะครับ
.
.
. #หลังอ่าน #รีวิวหนังสือ #หนังสือ2020 #หนังสือ2563 #reviewหนังสือ #ชีวิตดีเมื่อมีของน้อย #ปรัชญาความสุขฉบับมินิมอล #Stuffocation #JamesWallman #นรินทร์องค์อินทรี #สำนักพิมพ์บิงโก #bingo #หนังสือจิตวิทยา #หนังสือปรัชญา
Comentários