

รีวิวหนังสือ กองทุนรวม 101
.
.
‘ความรู้พื้นฐาน สำหรับนักอยากลงทุน ผู้ไม่มีเวลา’
.
ขอขอบคุณหนังสือจาก @seed มา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
.
.
หนังสือพ๊อคเก็ตบุ้คเล่มเล็กจากหมอนัท คลีนิคกองทุน กูรูด้านกองทุนอันดับต้นๆของประเทศไทย ที่ผ่านประวัติการทำงานในโลกการเงินมาอย่างโชคโชน โดยเคยเป็นถึงตำแหน่ง Chief Investment Officer (CIO) ของ Siriventure และเป็นวิทยากรบรรยายความรู้เรื่องการลงทุนในกองทุนต่างๆมากมาย
.
เล่มนี้เป็นหนังสือตระกูลเดียวกับ Money 101 ของโค้ชหนุ่ม the money coach แต่เหมือนเป็นภาคต่อที่หลังจากรู้จักการบริหารการเงินส่วนบุคคลเบื้องต้นแล้ว ก็ต้องรู้จักการลงทุน และสำหรับคนไม่มีเวลาทั้งหลาย การลงทุนที่เหมาะสมที่สุดก็คือ ‘การลงทุนในกองทุนรวม’
.
ส่วนตัวคิดว่าหนังสือ กองทุนรวม 101 เหมาะสมมากที่จะเป็นเล่มเริ่มต้นสำหรับนักลงทุนมือใหม่ทุกคน
.
เนื่องด้วยเหตุผลว่า
1) กองทุนเป็นการลงทุนที่เสี่ยงน้อยกว่า สำหรับคนที่ความรู้น้อย และไม่มีเวลาศึกษาเรื่องการลงทุนเท่าไหร่
2) เหมือนทุกคนจะโดนบังคับกลายๆว่าต้องรู้จักลงทุน เพราะการออมและการฝากเงินในธนาคารไม่เพียงพอต่อการเอานะเงินเฟ้อ
.
แต่ถ้าใครที่มีเวลา มีพื้นฐานความรู้แน่น รับความเสี่ยงได้พอสมควร และมีเงินลงทุนมากจำนวนหนึ่ง ก็อาจลองพิจารณาลงทุนในหุ้นเป็นรายตัว หรืออสังหาริมทรัพย์พร้อมการปล่อยเช่า
.
แต่แน่นอนว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว กองทุนรวมดูจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า โดยเฉพาะกับนักลงทุนในวัยเริ่มลงทุนก่อนอายุ30
.
หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนคู่มือสำคัญที่เล่าเรื่องการลงทุนในกองทุนรวมแบบละเอียดยิบ ซึ่งผมไม่สามารถสรุปมาได้หมด เพราะตัวเองก็มีความรู้ที่จำกัด และเนื้อหาในหนังสือเป็นแนวเทคนิค ที่แนะนำให้คนอ่านลองอ่านกันเองมากกว่า
.
โพสต์นี้จึงอยากแค่มารีวิวสั้นๆถึงตัวหนังสือ ว่าครอบคลุมเยอะมาก ตั้งแต่
.
.
- กองทุนรวมคืออะไร? ทำไมเราต้องสนใจกองทุนรวม?
.
กองทุนก็คือ การที่กองทุนนิติบุคคล ซึ่งว่าจ้างผู้จัดการกองทุน นำเงินของนักลงทุนรายย่อยหลายๆคนไปลงทุนทองคำ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ บอนด์ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ชนิดอื่นๆ
.
นักลงทุนรายย่อยยสามารถเข้าไปซื้อทรัพย์สินเหล่านี้ได้ผ่านการซื้อ ‘หน่วยลงทุน’
.
โดยจ่ายผลตอบแทนการลงทุนให้แก่นักลงทุนรายย่อยเป็น กำไร (หรืออาจขาดทุน) เมื่อขายหน่วยลงทุนคืน และจากเงินปันผล
.
โดยจ่ายค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย และค่าธรรมเนียมอื่นๆให้แก่ผู้จัดการกองทุน และทีม
.
- ประเภทการลงทุน ซึ่งแบ่งออกได้หลายแบบ เช่น active funds (ลงทุนโดยผู้จัดการคัดสรรหุ้นหรือทรัพย์สินเอง) vs passive funds (ลงทุนให้ล้อไปกับตลาด)
.
- วิธีในการเปิดกองทุน ซึ่งทำได้ทั้งเปิดกับธนาคาร และเปิดออนไลน์เองที่บ้าน แบบสะดวกมากๆ
.
- ระดับความเสี่ยงในการลงทุน การดูค่า sharp ratio และค่า alpha ที่เป็นตัวช่วยตัดสินใจในการเลือกสรรกองทุนใช้ลงทุน
.
- ตัวแปรสำคัญในการเลือกกองทุน โดยอาจมีบางตัวแปรที่นักลงทุนชอบหลงลืมกัน เช่น ผู้จัดการกองทุน (funds manager)และ ค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย (fees)
.
- NAV หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุน ซึ่งเหมือนราคาหุ้น คือจะบอกแนวโน้มได้ว่า ผู้จัดการกองทุนบริหารจัดการกองทุนได้ดีแค่ไหน เมื่อเปรียบเทียบในช่วงเวลาที่ต่างกัน ถ้าค่า NAV เพิ่มแสดงว่าผู้จัดการเลือกหุ้นถูก แต่ถ้าค่า NAV ลดต่ำลงก็อาจเป็นสัญญาณได้ว่าผู้จัดการเลือกผิดซะแล้ว
.
- วิธีในการลงทุนแบบตู้มเดียว แบบ DCA หรือลงทุนแบบถัวเฉลี่ย และลงทุนแบบเน้นให้มูลค่าในพอร์ตคงที่
.
- จะเลือกกองทุนแบบปันผล หรือแบบไม่ปันผลดีกว่ากัน
.
- ทำความรู้จักกับกองทุนลดหย่อนภาษีทั้ง SSF, RMF และแบบอื่นๆ พร้อมความเห็นของหมอนัทว่าเราควรลงทุนในกองทุนแบบไหน
.
- ภาษีทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในกองทุนรวม
.
- วิธีปรับบาลานซ์พอร์ต เมื่อเริ่มลงทุนไปได้สักระยะหนึ่งแล้ว
.
.
. โดยรวมแล้ว ถ้าใครอยากรู้จักการลงทุนในกองทุนรวมให้มากกว่านี้ ก็ลองซื้อเล่มจริงมาอ่านดูนะครับ
.
หนังสือสั้นๆไม่ถึง 200 หน้า สี่สีตลอดเล่ม อ่านง่าย มีการใช้กราฟ ใช้ตาราง และอินโฟกราฟฟิคต่างๆมาช่วยให้เข้าใจ
.
แต่สำหรับคนที่ไม่มีพื้นฐานด้านการเงินการลงทุนเลย อาจต้องใช้สมาธิในการอ่านเยอะหน่อยนะครับ ตัวอย่างเช่นแอดมินเอง ต้องเพิ่มสมาธิในการอ่านเล่มนี้พอสมควร เพราะมีความเป็นความรู้เชิงเทคนิคระดับหนึ่ง
.
แต่ที่แน่ๆคือมีประโยชน์แน่นอนครับ วางติดตัวไว้บนโต๊ะทำงานได้ สำหรับทุกๆคนที่ต้องลงทุน
.
.
.
สั่งซื้อหนังสือได้ที่
.
.
...........................................................................................................................................................................
ผู้เขียน: ธนัฐ ศิริวรางกูร (หมอนัท คลีนิคกองทุน)
จำนวนหน้า: 240 หน้า
สำนักพิมพ์: ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2020
...........................................................................................................................................................................
.
.
Comentários